ข้ามไปเนื้อหา

วิทยาลัยการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยการจัดการระบบสุขภาพ

วิทยาลัยการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นวิทยาลัยฯ ที่จัดตั้งขึ้น โดยมีเป้าหมายพัฒนาภาวะผู้นำ และทักษะในการจัดการและอภิบาลระบบสุขภาพ แก่ผู้บริหาร ผู้ประกอบวิชาชีพสุขภาพ นักวิจัย และนักวิชาการ เพื่อสนับสนุนให้ระบบสุขภาพของประเทศ มีความเข้มแข็ง ส่งผลให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพ ที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึง และเป็นธรรม ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน(Sustainable Development Goals: SDGs)[1] ที่ทุกประเทศภายใต้การนำของสหประชาชาติได้ตกลงร่วมกันว่าจะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวภายใน ค.ศ. 2030

มหาวิทยาลัยนเรศวร[2] โดยการริเริ่มของ ศ.ดร.สุจินต์ จินายน อธิการบดี จึงได้เสนอสภามหาวิทยาลัยให้มีการจัดตั้งวิทยาลัยการจัดการระบบสุขภาพขึ้นเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสร้างองค์ความรู้ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ศาสตร์ในหลากหลายสาขาวิชาร่วมกันในลักษณะของการบูรณาการ รวมถึงเป็นกลไกทางวิชาการในการสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านภาวะผู้นำ การจัดการและการอภิบาลระบบสุขภาพแนวใหม่ โดยใช้แนวคิด “พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง”  เพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็ง ตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพของประชาชนที่มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นแบบอย่างให้กับนานาประเทศต่อไป

สำนักงานวิทยาลัยการจัดการระบบสุขภาพ

ประวัติ

[แก้]

วิทยาลัยการจัดการระบบสุขภาพ มีประวัติการก่อตั้ง ดังนี้

  • พ.ศ. 2558 สภามหาวิทยาลัยนเรศวร ในคราวประชุมครั้งที่ ครั้งที่ 213 (11/2558) วันที่ 29 พฤศจิกายน 2558 ระเบียบวาระที่ 6.6 การขออนุมัติจัดตั้งวิทยาลัยการจัดการระบบสุขภาพ   ได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการในลักษณะโครงการจัดตั้งวิทยาลัยการจัดการระบบสุขภาพ และมหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้ ผศ.ดร.นพ.ภูดิท เตชาติวัฒน์ ทำหน้าที่ในการดำเนินการโครงการจัดตั้งวิทยาลัยการจัดการระบบสุขภาพ
  • พ.ศ. 2559
    • โครงการจัดตั้งวิทยาลัยการจัดการระบบสุขภาพ จัดการประชุมปรึกษาหารือผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ เพื่อให้ข้อเสนอแนะและแนวทางในการดำเนินงานของโครงการฯเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประเทศและนานาประเทศในภูมิภาคอาเซียนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ อดีตรมช.สาธารณสุข นพ.วิวัฒน์ โรจนพิทยากร อดีตผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศมองโกเลีย และรางวัลเจ้าฟ้ามหิดล รศ.ดร.พญ.อรพินท์ สิงหเดช อดีตผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศภูฏาน รศ.ดร.พัชรินทร์ สิรสุนทร อดีตคณบดีคณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร และผู้ทรงคุณวุฒิจากประเทศออสเตรเลีย เช่น Adjunct Professor Dr. David Briggs Professor Dr. Mary Cruickshank และ Dr. Zhanming Liang เป็นต้น
    • วันที่ 17 มีนาคม 2559 มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการร่างหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา โดยมี นายแพทย์วิวัฒน์ โรจนพิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกเป็นประธาน โดยมีการประชุมเมื่อวันที่  28 มีนาคม 2559 และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการวิพากษ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการระบบสุขภาพ (หลักสูตรนานาชาติ) โดยมี ดร.นายแพทย์สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก เป็นประธาน โดยมีการประชุมเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2559 และได้มีมติให้ความเห็นชอบและอนุมัติดำเนินการเปิดหลักสูตร จากที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 220 (6/2559)  เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2559 ระเบียบวาระที่ 6.13 การขอความเห็นชอบหลักสูตร จำนวน 2 หลักสูตร ของวิทยาลัยการจัดการระบบสุขภาพ  
    • วันที่ 31 กรกฎาคม 2559 สภามหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 219 (5/2559) วาระที่ 6.11 การขอความเห็นชอบจัดตั้งวิทยาลัยการจัดการระบบสุขภาพ ได้มีมติอนุมัติให้จัดตั้งวิทยาลัยการจัดการระบบสุขภาพ โดยมีสถานะเทียบเท่าคณะ โดยมหาวิทยาลัยได้มอบหมายให้ ผศ.ดร.นพ.ภูดิท เตชาติวัฒน์ เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ  เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการวิทยาลัยการจัดการระบบสุขภาพ และนางสิริพร จันทร์บรรจง เป็นรักษาการในตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานเลขานุการวิทยาลัยฯ
    • พฤศจิกายน 2559 ดำเนินการเปิดรับสมัครนิสิตในระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก โดยมหาวิทยาลัยนเรศวรสนับสนุนทุนการศึกษา (Full Scholarships) จำนวน 5 ทุนการศึกษา
  • พ.ศ. 2560
    • กุมภาพันธ์ 2560 เปิดดำเนินการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต และปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาการจัดการระบบสุขภาพ (หลักสูตรนานาชาติ) โดยมีนิสิตต่างชาติจำนวน 5 คน ศึกษาในระดับปริญญาโท 4 คนและระดับปริญญาเอก 1 คน จากประเทศ ภูฏาน และ บังกลาเทศ
    • สิงหาคม 2560 เปิดรับนิสิตรุ่นที่ 2 ระดับปริญญาโท โดยได้รับทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนเรศวร และกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงต่างประเทศ (TICA) เก็บถาวร 2018-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดยรับนิสิตต่างชาติจำนวน 3 คน จากประเทศมาลาวี เคนย่า และติมอร์ตะวันออก
    • กันยายน 2561 นิสิตรุ่นที่ 1 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการระบบสุขภาพ (หลักสูตรนานาชาติ) สอบผ่านป้องกันวิทยานิพนธ์ และส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ จำนวน 3 คน และสามารถเผยแพร่ตีพิมพ์ในวารสารวิจัยระดับนานาชาติที่อยู่ในฐาน SCOPUS[3]

หลักสูตรการศึกษา

[แก้]

ปัจจุบัน วิทยาลัยการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา ได้แก่

ปริญญาโท ปริญญาเอก
หลักสูตรมหาบัณฑิต
  • การจัดการระบบสุขภาพ
หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต
  • การจัดการระบบสุขภาพ

งานวิจัย

[แก้]
ชื่อโครงการ ระยะเวลา ผู้สนับสนุน
โครงการพัฒนาต้นแบบถ่ายทอดการจัดการระบบสุขภาพอำเภอที่มีประสิทธิภาพสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(DHS StartUp) 1 ต.ค. 2559 - 30 ก.ย.  2561 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  (สสส.)
โครงการการสังเคราะห์ทางเลือก การพัฒนาระบบบริการสุขภาพเขตเมือง เขตสุขภาพที่ 3 15 พ.ย. 2559 – 14 พ.ย. 2560 สถาบันวิจัยระบบสาธาณสุข

งานบริการวิชาการ

[แก้]
ชื่อโครงการ ระยะเวลา ผู้สนับสนุน
โครงการเพื่อให้คำปรึกษาและดำเนินงานทางวิชาการเกี่ยวกับการสร้างหลักประกันสุขภาพ เพื่อให้แรงงานนอกระบบ (informal sector) 22 ก.ย.  – 30 พ.ย. 2559 องค์การอนามัยโลก World Health Organization (WHO)
โครงการบริการวิชาการการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของสำนักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในการจัดการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 20 ม.ค. – 30 เม.ย. 2560
โครงการพัฒนาศักยภาพทีมเลขานุการคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเพื่อการเตรียมการสรรหาคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) ต.ค. 2559 - เม.ย. 2560 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
โครงการพัฒนาโซนต้นแบบคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างยั่งยืนเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 1 มิ.ย. 2560 – 31 มี.ค. 2561 Japan International Cooperation Agency (JICA) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เก็บถาวร 2018-10-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ดูเพิ่ม

[แก้]
  1. มหาวิทยาลัยนเรศวร
  2. วิทยาลัยการจัดการระบบสุขภาพ เก็บถาวร 2018-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-22. สืบค้นเมื่อ 2018-10-11.
  2. มหาวิทยาลัยนเรศวร
  3. SCOPUS