วิจิตร พรพฤฒิพันธุ์
วิจิตร พรพฤฒิพันธุ์ | |
---|---|
รองหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2505 อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ |
พรรคการเมือง | ชาติไทยพัฒนา (2551–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ธีรพร พรพฤฒิพันธุ์ |
วิจิตร พรพฤฒิพันธุ์ (เกิด 10 ตุลาคม พ.ศ. 2505) เป็นรองหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์
ประวัติ
[แก้]วิจิตร พรพฤฒิพันธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2505 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาศิลปศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ และปริญญาโท การศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยนเรศวร เขาสมรสกับ ธีรพร พรพฤฒิพันธุ์ อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ มีบุตรชื่อ ธีรจิตร พรพฤติพันธุ์
การทำงาน
[แก้]วิจิตร พรพฤฒิพันธุ์ เริ่มงานการเมืองโดยการร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์ และเคยเป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (สุทัศน์ เงินหมื่น) ต่อมาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ครั้งแรก ในปี 2544 ผลปรากฏว่า เรวัต แสงวิจิตร จากพรรคไทยรักไทย เป็นฝ่ายชนะการเลือกตั้ง แต่ต่อมาคณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีมติเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนายเรวัต เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าได้กระทำการอันเป็นการจูงใจให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งลงคะแนนให้โดยการให้ทรัพย์สินแก่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง (ใบแดง) จึงได้จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ผลปรากฏว่านายวิจิตร เป็นฝ่ายชนะการเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์สมัยแรก ต่อมานายวิจิตร ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
ต่อมาย้ายมาสังกัดพรรคชาติไทย และลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์สมัยกที่ 2 ภายหลังการยุบพรรคชาติไทยในปี 2551 เขาได้ย้ายไปสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา พร้อมกับสมาชิกส่วนใหญ่ของพรรคชาติไทย และลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งต่อมา ในปี 2554 แต่แพ้ให้กับ สุทัศน์ จันทร์แสงสี จากพรรคเพื่อไทย ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา[1]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แม้จะถูกทาบทามให้ย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ แต่เขาก็ยังยืนยันลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เดิม ในนามพรรคชาติไทยพัฒนาเช่นเดิม[2] แต่ต้องแข่งขันกับพิมพ์พร พรพฤฒิพันธุ์ หลานสาว[3][4] ซึ่งลงสมัครในนามพรรคพลังประชารัฐ ผลปรากฏว่านางสาวพิมพ์พร เป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง
นายวิจิตร เป็นนายกสมาคมกีฬาจังหวัดเพชรบูรณ์ ตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบัน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดพรรคชาติไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ตามคาด'กัญจนา'หัวหน้าพรรคชทพ.'ประภัตร'นั่งเลขาฯ
- ↑ “วิจิตร”เผยไม่ปันใจไปพรรคอื่น ผูกพัน ชทพ.-เป็นรองหน.พรรคฯ รับหลานสาวเป็นคู่แข่งกระทบฐานเสียง
- ↑ ศึกสายเลือด "พรพฤฒิพันธุ์" นครบาลเพชรบูรณ์
- ↑ ปัดศึกสายเลือด 2 อา-หลานครอบครัวพรพฤฒิพันธ์ ปมว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.เพชรบูรณ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2505
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเมืองเพชรบูรณ์
- นักการเมืองจากจังหวัดเพชรบูรณ์
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองพรรคชาติไทย
- พรรคชาติไทยพัฒนา
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.