สงครามเลบานอน พ.ศ. 2549
สงครามเลบานอน พ.ศ. 2549 | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับเลบานอน และ ความขัดแย้งตัวแทนระหว่างอิหร่านกับอิสราเอล[5] | |||||||
ฝุ่นคลุ้งในบริเวณที่ถูกระเบิดสองจุดในไทร์, ประเทศเลบานอน. | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
อิสราเอล | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
เอฮุด โอลเมิร์ต (นายกรัฐมนตรีอิสราเอล) |
ซัยยิด ฮะซัน นัศรุลลอห
(เลขาธิการฮิซบุลลอฮ์) | ||||||
กำลัง | |||||||
Up to ทหาร 10,000 นายในวันที่ 2 สิงหาคม;[11] ทหาร 30,000 นายในช่วงไม่กี่วันก่อนสงครามสิ้นสุด.[12] |
ประมาณร้อยคน (ทางแม่น้ำลิทานีตอนใต้)[13][14] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
กองกำลังอิสราเอล: ตาย 2[19] |
กองกำลังฮิซบุลลอฮ์: ตาย 5 บาดเจ็บ 12[34] | ||||||
* รัฐบาลเลบานอนไม่ได้แบ่งแยกตัวเลขผู้เสียชีวิตระหว่างพลเรือนและนักรบ[24] สำหรับตัวเลขผู้เสียชีวิตทั้งหมด โปรดดูที่: การเสียชีวิตในสงครามเลบานอน พ.ศ. 2549 |
ความขัดแย้งอิสราเอล-เลบานอน พ.ศ. 2549 หรือ ความขัดแย้งฮิซบุลลอฮ์-อิสราเอล พ.ศ. 2549 เป็นชุดของการปฏิบัติการและการปะทะทางทหารนาน 34 วันในประเทศเลบานอนและตอนเหนือของประเทศอิสราเอล โดยผู้มีส่วนร่วมคือฝ่ายติดอาวุธของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ และกองทหารอิสราเอล
ในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 เวลา 9:05 น. ตามเวลาท้องถิ่น (06:05 GMT) ฝ่ายติดอาวุธของกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ เริ่ม ปฏิบัติการสัจจสัญญา (Operation Truthful Promise[35]) ทำการโจมตีข้ามพรมแดน มีนายทหารอิสราเอล 8 นายเสียชีวิต และถูกจับเป็นตัวประกัน 2 นาย จากนั้นจึงตามมาด้วยการแก้แค้นของฝ่ายอิสราเอลในชื่อ ปฏิบัติการตอบแทนอย่างสาสม (Operation Just Reward[36]) ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ปฏิบัติการการเปลี่ยนทิศ (Operation Change of Direction[37])
รัฐบาลเลบานอนได้ประกาศไม่มีส่วนร่วมรู้เห็นกับปฏิบัติการของฮิซบุลลอฮ์ และได้เรียกร้องให้องค์กรนานาชาติช่วยเหลือเพื่อให้สงครามยุติโดยทันที[38]
ประวัติ
[แก้]จุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง
[แก้]เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 เวลา 9:05 น. ตามเวลาท้องถิ่น กลุ่มทหารภาคพื้นดินของฮิซบุลลอฮ์ได้โจมตีทหารอิสราเอลขณะลาดตระเวณอยู่บริเวณชายแดนของสองประเทศ ส่งผลให้ทหารของอิสราเอลเสียชีวิต 3 นาย และถูกจับกุมไป 2 นาย หลังจากนั้น ทหารอิสราเอลทั้งห้าที่ถูกส่งไปช่วยเหลือทหารที่ถูกจับกุมได้ถูกสังหารทั้งหมด กองกำลังตำรวจเลบานอนและฮิซบุลลอฮ์รายงานว่า ทหารอิสราเอลถูกจับกุมเนื่องจากพยายามที่จะแทรกซึมเข้าไปในเมือง Ayta al-Sha`b ของเลบานอน
จากนั้น วันที่ 13 กรกฎาคม กองกำลังป้องกันประเทศอิสราเอล (IDF) ได้ยืนยันการถูกจับกุมของสองนายทหารและคาดว่าจะเป็น Ehud Goldwasser และ Eldad Regev
การโจมตีของฮิซบุลลอฮ์ถูกตั้งชื่อว่า "พันธสัญญา" โดย ผู้นำของกลุ่มชีค ฮัซซัน นาซรัลลาห์ เพื่อที่ต้องการจะแลกเปลี่ยนเชลยระหว่างนายทหารอิสราเอล กับนักโทษเลบานอนซึ่งถูกจับกุมอยู่ในอิสราเอล
ฮิซบุลลอฮ์ได้แถลงการว่า "เพื่อทำสัญญาที่จะปล่อยนักโทษอาหรับในกรงขังอิสราเอล นักสู้ของเราได้จับตัวสองนายทหารอิสราเอลทางตอนใต้ของเลบานอน" หลังจากนั้น ซายิด ฮัซซัน นาสรัลลาห์ ได้ประกาศว่า "ไม่มีปฏิบัติการทางทหารใด ๆ ที่นำพวกเขากลับไปได้ นักโทษจะไม่ถูกปล่อยตัว ยกเว้นเพียงหนทางเดียว คือ การเจรจาแลกเปลี่ยนนักโทษ"
ฮิซบอลเลาะห์
[แก้]กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ หรือในภาษาอาหรับมีความหมายว่า พรรคของพระผู้เป็นเจ้า เป็นองค์กรอิสลามนิกายชีอะห์ที่ตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1982 มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการยึดครองของอิสราเอลโดยเฉพาะ นโยบายของฮิซบุลลอฮ์ได้ถูกกล่าวอย่างชัดเจนเสมอมา คือ เพื่อป้องกันและทำลายอิสราเอล ปัจจุบันมีผู้นำคือ ซายิด ฮัซซัน นาซรัลลาห์
องค์กรนี้มีทั้งกองทหาร และพลเรือน โดยกลุ่มพลเรือนได้เข้าไปทำหน้าที่ในสภาของเลบานอน โดยมีเสียงอยู่ราว ๆ 18% ในสภา (23 จาก 128 ที่นั่งในสภา) และยังพรรคที่องค์กรนี้ร่วมกันจัดตั้งกับองค์กรอื่นคือ "Resistance and Development Bloc" (พรรคเพื่อการป้องกันและพัฒนา) มีเสียงอยู่ราว 30% (35 ที่นั่ง) ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านในสภา
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของสงคราม
[แก้]- กองกำลังป้องกันประเทศอิสราเอลโจมตีโรงงานไฟฟ้า Jiyeh ในวันที่ 13 และ 15 กรกฎาคม ส่งผลให้น้ำมัน 25,000 ตันทะลักเข้าไปในทะเลเมติเทอเรเนียน และทำให้เกิดความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้น ในเวลานี้น้ำมันได้ครอบคลุมบริเวณชายฝั่งของเลบานอนเป็นบริเวณ 80 กิโลเมตร จากบริเวณชายฝั่งทั้งหมด 200 กิโลเมตร การทะลักของน้ำมันก่อให้เกิดปัญหาทางเดินหายใจ สังหารสิ่งมีชีวิตในทะเลโดยเฉพาะปลา และคาดว่าอาจจะเป็นอันตรายต่อเต่าสีเขียวที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น
- การใช้หัวรบขีปนาวุธที่ทำจากยูเรเนียม เช่น GBU-28 "Bunker Buster" ของทหารอิสราเอล ทำให้เกิดสารพิษตกค้างสะสมในสิ่งแวดล้อม กองกำลังป้องกันประเทศอิสราเอลประกาศว่าได้ใช้ GBU-28 เพื่อทำลายจุดยุทธศาสตร์ที่คาดว่าจะเป็นที่ตั้งของฮิซบุลลอฮ์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Rebuilding and Security in Focus". Wall Street Journal. 11 กันยายน 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2016. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2014.
- ↑ 2.0 2.1 "Timeline of the July War 2006". The Daily Star. AFP. 28 กันยายน 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กันยายน 2006.
- ↑ Herbert Docena (17 สิงหาคม 2006). "Amid the bombs, unity is forged". Asia Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 สิงหาคม 2006. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2011.
The LCP ... has itself been very close to Hezbollah and fought alongside it in the frontlines in the south. According to Hadadeh, at least 12 LCP members and supporters died in the fighting.
- ↑ "PFLP claims losses in IDF strike on Lebanon base". The Jerusalem Post. Associated Press. 6 สิงหาคม 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2012.
- ↑ 5.0 5.1 Eyal Zisser (พฤษภาคม 2011). "Iranian Involvement in Lebanon" (PDF). Military and Strategic Affairs. 3 (1). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2016. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2015.
- ↑ "Annan: Israel's actions compromise efforts to stabilize the Israeli–Lebanon border". International Herald Tribune. 29 มีนาคม 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กันยายน 2015.
- ↑ Uzi Rubin. The Rocket Campaign against Israel during the 2006 Lebanon War. p. 12. The Begin-Sadat Center for Strategic Studies Bar-Ilan University
- ↑ Matthews, Matt M. We Were Caught Unprepared: The 2006 Hezbollah-Israeli War, DIANE Publishing, 2011.
- ↑ "Both Hezbollah and Israeli Leaders Declare Victory". สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2015.
- ↑ "Israeli Gains in the Second Lebanon War". สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2015.
- ↑ "Israel captures guerillas in Hezbollah hospital raid". USA Today. Beirut: reprinted from the Associated Press. 2 สิงหาคม 2006. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2015.
- ↑ "Some 30,000 Israeli troops in Lebanon – army radio". Yahoo! News. Reuters. 13 สิงหาคม 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2008.
- ↑ Nicholas Blanford (11 สิงหาคม 2006). "Hizbullah's resilience built on years of homework". The Christian Science Monitor. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2012.
- ↑ Harel and Issacharoff, p. 172
- ↑ "The Final Winograd Commission report, pp. 598–610" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-09-28. สืบค้นเมื่อ 23 September 2013. 628 wounded according to Northern Command medical census of 9 November 2006 (The Final Winograd Commission Report, page 353) (ในภาษาฮีบรู).
- ↑ "State snubbed war victim, family says". ynetnews.com. 30 สิงหาคม 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มิถุนายน 2008. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2008.
- ↑ BBC News Online (8 March 2007). "PM 'says Israel pre-planned war'". สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2007.
- ↑ "The Final Winograd Commission report, pp. 598–610" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-09-28. สืบค้นเมื่อ 23 September 2013. (ในภาษาฮีบรู).
- ↑ 19.0 19.1 See Casualties of the 2006 Lebanon War#Foreign civilian casualties in Israel and Casualties of the 2006 Lebanon War#Foreign civilian casualties in Lebanon for a complete and adequately sourced list
- ↑ SAM F. GHATTAS (28 ธันวาคม 2006). "Lebanon Sees More Than 1,000 War Deaths". Associated Press. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2021.
- ↑ Con Coughlin (4 สิงหาคม 2006). "Teheran fund pays war compensation to Hizbollah families". The Daily Telegraph. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 พฤษภาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2007.
- ↑ Patrick Bishop (22 สิงหาคม 2006). "Peacekeeping force won't disarm Hizbollah". The Daily Telegraph. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มีนาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2007.
A UN official estimated the deaths at 500
- ↑ Lessons of the 2006 Israeli-Hezbollah War, by Anthony H. Cordesman, William D. Sullivan, CSIS, 2007, page 16
- ↑ 24.0 24.1 "Lebanon Sees More Than 1,000 War Deaths". usti.net. Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2012.
Israel initially said 800 Hezbollah fighters died but later lowered that estimate to 600.
- ↑ Yossi Melman (19 พฤษภาคม 2008). "Israel to Hezbollah: Forget Palestinian prisoners in swap for IDF soldiers". สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2011.
- ↑ "Lebanon – Amnesty International Report 2007". Human Rights in LEBANESE REPUBLIC. Amnesty International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2015.
- ↑ Why They Died: Civilian Casualties in Lebanon during the 2006 War. Human Rights Watch. กันยายน 2007.
- ↑ Moral Dilemmas of Modern War: Torture, Assassination, and Blackmail in an Age of Asymmetric Conflict. Cambridge University Press. 2010. ISBN 9780521866156. สืบค้นเมื่อ 20 September 2014.
- ↑ Israel/Lebanon: Out of all proportion – civilians bear the brunt of the war. Amnesty International. พฤศจิกายน 2006.
- ↑ "Implementation of General Assembly Resolution 60/251 of March 2006 entitled "Human Rights Council"" (PDF). United Nations Human Rights Council. 23 พฤศจิกายน 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 มิถุนายน 2013.
- ↑ McRae, D.M; De Mestral, A.L.C (1 กุมภาพันธ์ 2010). CANADIAN YEARBOOK OF INTERNATIONAL LAW: 2008. ISBN 9780774859172. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2014.
- ↑ SIPRI Yearbook 2007: Armaments, Disarmament, And International Security, Oxford University Press, page 69.
- ↑ Yearbook of International Humanitarian Law:Volume 9; Volume 2006. 2006. ISBN 9789067042697. สืบค้นเมื่อ 20 September 2014.
- ↑ "United Nations Interim Force in Lebanon (UNIFIL)". United Nations. 6 สิงหาคม 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 ธันวาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2011.
- ↑ บทบรรณาธิการ, บ.ก. (13 กรกฎาคม 2006). "Lebanese brace for Israel's signature strategy: collective punishment". The Daily Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กรกฎาคม 2006.
- ↑ ข่าว Israel for rules change in south Lebanon. United Press International, 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2549.
- ↑ ข่าว L-3276269, 00.html Israel to Lebanon: No to ceasefire. Ynetnews.com, 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2549.
- ↑ ข่าว Middle East Situation; Siniora Addresses Lebanese People (transcript). CNN, 15 กรกฎาคม 2006.