สงครามกาซา
ความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ พ.ศ. 2551–-2552 | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
อิสราเอล | ฮามาส | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
Ido Nehoshtan (IAF) Yoav Galant (SoCom) Gabi Ashkenazi (CoS) Ehud Barak (DefMin) |
Khaled Meshaal Ismail Haniyeh Mahmoud az-Zahar Ahmed Jabari | ||||||
กำลัง | |||||||
จรวดและเฮลิคอปเตอร์ มากกว่า 80 ลำ[1] | ตำรวจและประชาชนที่พร้อมต่อสู้ 10,000 คน[2] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ตาย 13 คน บาดเจ็บ 142 คน | ตาย 800 คน บาดเจ็บมากกว่า 3,000 คน[3] |
ความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ พ.ศ. 2551-2552 เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (11:30 น. เวลาท้องถิ่น; 16:30 น. เวลาในประเทศไทย)[4] เมื่อประเทศอิสราเอลประกาศปฏิบัติการทางการทหารที่มีชื่อว่า ปฏิบัติการแคสต์ลีด (อังกฤษ: Operation Cast Lead; ฮีบรู: מבצע עופרת יצוקה) ซึ่งเป็นการโจมตีทางอากาศครั้งใหญ่ของประเทศอิสราเอล ขณะประธานาธิบดีปาเลสไตน์ ประณามการโจมตี พร้อมเรียกร้องประชาคมระหว่างประเทศเข้าแทรกแซง
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2551 ที่ผ่านมาว่า กองกำลังป้องกันอิสราเอล ได้โจมตีทางอากาศซึ่งตั้งเป้าที่ฐานที่ตั้งเครื่องยิงจรวดของกลุ่มฮามาส ซึ่งซุกซ่อนอยู่ในเขตชุมชนของฉนวนกาซ่า ภายใต้การปกครองของกลุ่มมุสลิมฮามาสจากการยิงจรวดเข้าใส่อิสราเอลครั้งล่าสุด ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1,200 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักรบฮามาส และมีรายงานผู้บาดเจ็บมากกว่า 10,000 คน โดยมีผู้บาดเจ็บสาหัสประมาณ 2,000 คน เพื่อตอบโต้กลุ่มฮามาสที่ยิงจรวดโจมตีภาคใต้ของอิสราเอล
นายบาสเซม นาอิม รัฐมนตรีสาธารณสุขฮามาส กล่าวว่า การโจมตีครั้งนี้นอกจากมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1,200 คนแล้ว ยังมีผู้ได้รับาดเจ็บอีกกว่า 1,000 คน รายงานระบุว่า เฉพาะในเมืองกาซาซิตี มีประชาชนอย่างน้อย 700 คน เสียชีวิต และเชื่อว่าคนเหล่านั้นส่วนใหญ่อยู่ภายในกองบัญชาการตำรวจฮามาส
ขณะเดียวกัน โฆษกทหารอิสราเอล กล่าวผ่านวิทยุกองทัพบก ว่า ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของอิสราเอลในครั้งนี้เป็นเพียงแค่เริ่มต้นเท่านั้น และมีขึ้นหลังการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรีด้านความมั่นคง นอกจากนี้ ยังกล่าวว่า ปฏิบัติการครั้งนี้อาจต้องใช้เวลา แต่ก็ไม่ได้กำหนดกรอบเวลา เนื่องจากขึ้นอยู่กับสถานการณ์บนภาคพื้นดิน
ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศ ของอิสราเอลครั้งนี้ มีขึ้นหลังจากกลุ่มหัวรุนแรงในฉนวนกาซายิงจรวดและปืน ค. เข้าใส่ดินแดนของอิสราเอลเมื่อหลายวันก่อน และอิสราเอลได้เตือนว่าจะต้องได้รับการตอบโต้อย่างรุนแรง กองกำลังป้องกันอิสราเอลอ้างว่า ปฏิบัติการครั้งนี้เป็นความพยายามสกัดกั้นการโจมตีของกลุ่มก่อการร้ายจากดิน แดนภายใต้การควบคุมของกลุ่มฮามาส และจะยังคงดำเนินต่อไป และอาจขยายปฏิบัติการในกรณีจำเป็น
ในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2552 อิสราเอลส่งทหารบกเข้าในฉนวนกาซา เพื่อระงับการโจมตีโดยใช้ระเบิดของกลุ่มฮามาส[5]
ในที่สุดนายกรัฐมนตรีเอฮุด โอลเมิร์ต แห่งอิสราเอลประกาศหยุดยิงฉนวนกาซ่า หลังจากที่มีการโจมตีนานถึง 22 วัน แต่ยังคงตรึงกำลังทหารเอาไว้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Israel National News".
- ↑ http://www.ynetnews.com/articles/0,7340,L-3360655,00.html
- ↑ "Casualties". Reuters. 27 Dec 2008.
- ↑ Harel, Amos (December 27, 2008). "ANALYSIS / IAF strike on Gaza is Israel's version of 'shock and awe'". Ha’aretz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ December 27, 2008.
- ↑ BBC News - Israeli troops enter Gaza strip (อังกฤษ)