ขบวนการอมัล
ขบวนการอมัล حركة أمل | |
---|---|
ประธาน | Nabih Berri |
ผู้ก่อตั้ง | Musa al-Sadr กับHussein el Husseini |
ก่อตั้ง | 1974 |
ที่ทำการ | เบรุต, เลบานอน |
อุดมการณ์ | อนุรักษนิยม ประชานิยม |
จุดยืน | กลางขวา |
ศาสนา | ฆราวาส (ทางการ) ชีอะฮ์ (เด่นชัด) |
กลุ่มระดับชาติ | March 8 Alliance |
สี | เขียว, แดง |
รัฐสภาเลบานอน | 17 / 128 |
Cabinet of Lebanon | 3 / 30 |
ธงประจำพรรค | |
การเมืองเลบานอน รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
ขบวนการอมัล (Amal movement; ภาษาอาหรับ: ตัวย่อของ أفواج المقاومة اللبنانية Afwâj al-Muqâwmat al-Lubnâniyya, หรือ حركة أمل; Harakat Amal) เป็นชื่อย่อของแนวป้องกันเลบานอน อมัลกลายเป็นกองทัพมุสลิมชีอะห์ที่สำคัญในสงครามกลางเมืองเลบานอน การเติบโตของอมัลเกิดจากความใกล้ชิดกับระบบสังคมอิสลามของอิหร่าน และผู้อพยพนิกายชีอะห์ 300,000 คนจากเลบานอนภาคใต้ ซึ่งอพยพมาเนื่องจากการถูกอิสราเอลโจมตีใน พ.ศ. 2543 มีกำลังทหารทั้งหมดราว 14,000 คน คำว่าอมัลเป็นภาษาอาหรับแปลว่าความหวัง
จุดประสงค์ดั้งเดิมของอมัลคือต้องการให้มีการยอมรับชาวเลบานอนนิกายชีอะห์ และต้องการให้ภาคใต้ของเลบานอนเป็นแหล่งรวมของชาวชีอะห์ อมัลต่อสู้ด้วยกองทหารต่อต้านผู้อพยพชาวปาเลสไตน์ในสงครามกลางเมืองเลบานอน หลังสงคราม กองทหารอมัลออกมาต่อต้านกลุ่มของชาวชีอะห์อีกกลุ่มคือฮิซบุลลอหฺจากเบรุต กองทหารสิ้นสุดลงโดยการแทรกแซงของซีเรีย
ประวัติ
[แก้]จุดกำเนิด
[แก้]ใน พ.ศ. 2517 ก่อตั้งขบวนการโดยอิมามผู้นำนิกายชีอะห์ Musa al-Sadr และสมาชิกสภา Hussein el-Husseini ต่อมา 20 มกราคม พ.ศ. 2518 จัดตั้งแนวป้องกันอิสลามในฐานะเป็นกองทหารของขบวนการที่จัดตั้งโดย al-Sadr และเป็นที่รู้จักในเวลาต่อมาในชื่ออมัล
อมัลระหว่างสงครามเลบานอน
[แก้]ใน พ.ศ. 2523 Hussein el-Husseini ลาออกจากการเป็นผู้นำของอมัลหลังจากปฏิเสธคำร้องขอของประธานาธิบดีซีเรีย ฮาเฟซ อัล-อาซัดที่ต้องการให้ร่วมมือกับองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ ใน พ.ศ. 2525 Nabih Berri จากอมัล Walid Jumblatt จากพรรคสังคมนิยมก้าวหน้าดรูซ และ Elie Hobeika จากกองกำลังเลบานอนลงนามในข้อตกลงไตรภาคีในดามัสกัสเพื่อสนับสนุนให้ยุติสงคราม แต่ข้อตกลงนี้ไม่บรรลุผลเพราะการเพิกถอนของ Elie Hobeika ต่อมา พ.ศ. 2532 อมัลยอมรับข้อตกลงตาอิฟเพื่อยุติสงครามประชาชน
สงครามค่ายผู้อพยพ
[แก้]สงครามค่ายผู้อพยพเป็นการต่อสู้ที่เกิดขึ้นราว พ.ศ. 2528 ระหว่างอมัลและกลุ่มชาวปาเลสไตน์ ในระหว่างเหตุการณ์นี้ ฮิซบุลลอหฺสนับสนุนปาเลสไตน์ ส่วนซีเรียสนับสนุนอมัล
การรบครั้งแรก พ.ศ. 2528
[แก้]แม้ว่าผู้อพยพชาวปาเลสไตน์ส่วนใหญ่ถูกขับไล่เนื่องจากการรุกรานของอิสราเอลเมื่อ พ.ศ. 2525 แต่กองทหารของปาเลสไตน์เริ่มฟื้นตัวหลังจากอิสราเอลถอนทหารออกจากเบรุต และเมืองอื่น ๆ ซีเรียมองดูการเติบโตนี้ด้วยความกังวลใจ ในดามัสกัส มีการควบคุมองค์กรชาวปาเลสไตน์น้อยและการเติบโตของกองทหารปาเลสไตน์อาจนำไปสู่การรุกรานของอิสราเอล ในเลบานอนความสัมพันธ์ระหว่างผู้นับถือนิกายชีอะห์และชาวปาเลสไตน์ (นับถือนิกายซุนนี) ตึงเครียดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2511 หลังจากกองทหารนานาชาติถอนกำลังออกจากเบรุตเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 อมัลเข้าควบคุมเบรุตตะวันตก และตั้งค่ายรอบ ๆ ค่ายผู้อพยพที่อยู่ในเบรุตตอนใต้ ต่อมาเมื่อ 15 เมษายน พ.ศ. 2528 อมัลโจมตี อัล-มูรอบิตุน กองทหารนิกายซุนนีของเลบานอนซึ่งมีความใกล้ชิดกับองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ในเลบานอน ผลปรากฏว่าอัล-มูรอบิตุนเป็นฝ่ายแพ้และหัวหน้ากลุ่มคือ Ibrahim Kulaylat ถูกเนรเทศ ต่อมา 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 การสู้รบอย่างรุนแรงเกิดขึ้นอีกระหว่างอมัลกับชาวปาเลสไตน์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของค่าย Sabra, Shatila และ Burj el-Barajneh ซึ่งอยู่ในเบรุตทั้งหมด อมัลไม่สามารถเข้ายึดครองค่ายได้ จำนวนผู้เสียชีวิตไม่แน่นอน คาดว่ามีราว 100 – 1,000 คน แรงกดดันจากชาติอาหรับทำให้สงครามยุติลงเมื่อ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2528
การรบครั้งที่ 2 พ.ศ. 2529
[แก้]หลังจากหยุดยิง สถานการณ์ยังตึงเครียดจนเกิดการสู้รบกันอีกในเดือนกันยายน พ.ศ. 2528 และเดือนมีนาคม พ.ศ. 2529 จนกระทั่ง 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 เกิดการสู้รบอย่างรุนแรงขึ้นอีก อมัลไม่สามารถยึดค่ายได้แม้จะได้รับการสนับสนุนจากซีเรีย สถานการณ์สงบลงเมื่อซีเรียมีการจัดกองทหารใหม่เมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2529
การสู้รบครั้งที่ 3 เดือนกันยายน พ.ศ. 2529
[แก้]ความขัดแย้งนี้เกิดขึ้นในภาคใต้ซึ่งมีทั้งชาวชีอะห์และชาวปาเลสไตน์ การสู้รบเกิดขึ้นที่ค่าย Rashidiyye เมื่อ 29 กันยายน พ.ศ. 2529 โดยกองทัพซีเรียช่วยฝ่ายอมัล และเครื่องบินของอิสราเอลเข้าไปโจมตีองค์กรปลดปล่อยปาเลสไตน์ การรบแพร่กระจายไปยังเบรุตอย่างรวดเร็ว กองทัพปาเลสไตน์เข้ายึดครอง Maghduche บนภูเขาในซีดอนเพื่อเปิดทางให้ค่าย Rashidiyye มีการเจรจาเพื่อหยุดยิงเมื่อ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2529 แต่ถูกปฏิเสธโดยยัสเซอร์ อาราฟัตแห่งฟะตะห์ ฟะตะห์พยายามทำให้เหตุการณ์สงบลงโดยผ่านการประสานงานกับฮิซบุลลอหฺและอัล-มูรอบิตุน แต่การทิ้งระเบิดรอบ ๆ ค่ายพักยังคงมีอยู่ต่อไป ค่ายพักที่ถูกปิดล้อมเริ่มขาดแคลนอาหาร การสู้รบเริ่มขยายวงไปสู่ฮิซบุลลอหฺที่สนับสนุนปาเลสไตน์ ซีเรียเริ่มเข้ายึดครองเบรุตตะวันตกเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 ต่อมา อมัลมอบภาระในการดูแลค่ายพักให้ซีเรียเมื่อ 7 เมษายน พ.ศ. 2530 มีผู้เสียชีวิตในการสู้รบราว 3,781 คน การเข้ายึดครองของซีเรียทำให้สงครามค่ายผู้อพยพสิ้นสุดลงเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2534 กองทหารอมัลราว 2,800 เข้าร่วมในกองทัพซีเรีย
หลังสงคราม
[แก้]หลังจาก พ.ศ. 2533 อมัลได้รับการสนับสนุนจากซีเรีย และอมัลเห็นด้วยกับการมีกองทหารซีเรียในเลบานอน หลังจาก Rafik Hariri ถูกลอบสังหารเมื่อ พ.ศ. 2548 อมัลคัดค้านการถอนทหารซีเรีย ตั้งแต่พ.ศ. 2533 กลุ่มนี้ปรากฏในรัฐบาลและรัฐสภาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีตัวแทน 14 คนในรัฐสภาของเลบานอน ในวิกฤตการณ์อิสราเอล-เลบานอน พ.ศ. 2549 มีสมาชิกของกลุ่มนี้ถูกลอบสังหาร 8 คน
อ้างอิง
[แก้]- Augustus R. Norton, Amal and the Shi'a: Struggle for the Soul of Lebanon (Austin and London: University of Texas Press, 1987
- Byman, D., Deadly Connections: States that Sponsor Terrorism, Cambridge, Cambridge University Press, 2005
- Nasr, Vali, The Shia Revival, New York, W.W. Norton & Company, 2006
- Palmer-Harik, J., Hezbollah: The Changing Face of Terrorism, London, I.B. Tauris & Co Ltd, 2004
- Ranstorp, Magnus, Hizb'allah in Lebanon : The Politics of the Western Hostage Crisis, New York, St. Martins Press, 1997
- Wright, Robin, Sacred Rage, Simon and Schuster, 2001
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- http://www.amal-movement.com/ เก็บถาวร 2018-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อาหรับ)