วันเด็กแห่งชาติ (ญี่ปุ่น)
วันเด็กแห่งชาติ | |
---|---|
ธงปลาคาร์ฟ โดยปลาคาร์ฟสีดำหมายถึงพ่อ (มาโงย) ปลาคาร์ฟสีแดงหมายถึงแม่ (ฮิโงย) และปลาคาร์ฟสีฟ้าหมายถึงลูก | |
ชื่อทางการ | こどもの日 (โคโดโมะ โนะ ฮิ) |
ประเภท | วันหยุดราชการ |
ความสำคัญ | ให้เห็นถึงคุณค่าของเด็กและขอบคุณพ่อแม่ |
การเฉลิมฉลอง | การจัดเทศกาลธงปลาคาร์ฟ |
การถือปฏิบัติ | ญี่ปุ่น |
วันที่ | 5 พฤษภาคม |
ความถี่ | ทุกปี |
วันเด็กแห่งชาติ (ญี่ปุ่น: こどもの日; โรมาจิ: Kodomo no Hi) ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคมของทุก ๆ ปีในประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้เห็นถึงคุณค่าของเด็กและขอบคุณพ่อแม่ของพวกเขาที่คอยเลี้ยงดูจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่[1]
ประวัติ
[แก้]ในอดีตวันเด็กแห่งชาติถูกเรียกว่า "เทศกาลทังโงะ โนะ เซ็กกุ (ญี่ปุ่น: 端午の節句; โรมาจิ: Tango no Sekku)" ที่จัดขึ้นในทุก ๆ วันที่ 5 พฤษภาคม ซึ่งถือเป็นวันเฉลิมฉลองการเติบโตของเด็กชาย ในวันดังกล่าวจะมีการจะประดับธงปลาคาร์ฟ หรือ โคยโนโบริ ไว้หน้าบ้านเพื่อขอพรให้เด็กชายในครอบครัวของตนมีสุขภาพที่แข็งแรง[2] และสวมหมวกคาบูโตะ (ญี่ปุ่น: 鉄兜; โรมาจิ: Tetsu Kabuto) ให้แก่เด็กชายในพิธี "ฮัตสึเซ็กกุ (ญี่ปุ่น: 初節句; โรมาจิ: Hatsu Sekku)" เพื่อสื่อถึงเกาะป้องกันที่คอยคุ้มครองเด็กชายไว้ไม่ให้เจ็บไข้ได้ป่วย แต่หากเป็นเด็กหญิงจะเข้าร่วมเทศกาล "ฮินะมัตสึริ (ญี่ปุ่น: 雛祭り; โรมาจิ: Hina Matsuri)" หรือ "โมโมโนะ โนะ เซ็กกุ (ญี่ปุ่น: 桃の節句; โรมาจิ: Momo no Sekku)" ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 3 มีนาคมของทุกปีเพื่อฉลองการเติบโตของเด็กหญิงในช่วงสมัยยุคนาระ[3][4] โดยจะมีการวางตุ๊กตาฮินะเป็นการตกแต่งภายในบ้านและจะส่งต่อตุ๊กตาจากรุ่นสู่รุ่นไป[5] แต่ทั้งนี้ในปี 1948 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ตัดสินใจรวมวันทังโงะ โนะ เซ็กกุ และ ฮินะมัตสึริ เป็นวันเดียวกันโดยใช้ชื่อ "โคโดโมะ โนะ ฮิ (ญี่ปุ่น: こどもの日; โรมาจิ: Kodomo no Hi)" ที่หมายถึงวันของทั้งเด็กชายและเด็กหญิง โดยยังคงกำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปี[1][6][7]
การเฉลิมฉลอง
[แก้]แม้จะมีการรวมวันเด็กของทั้งเด็กชายและเด็กหญิงรวมกันเป็นวันเดียวกัน แต่วิธีการเฉลิมฉลองในวันดังกล่าวยังคงปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน เช่น การประดับธงปลาคาร์ฟไว้หน้าบ้านเพื่อเสริมความสิริมงคลและความเจริญก้าวหน้าของเด็กชายในครอบครัวของตนตามความเชื่อของชาวจีนโบราณที่ว่าปลาคาร์ฟที่ว่ายทวนกระแสน้ำเพื่อมุ่งสู่ประตูมังกร (ญี่ปุ่น: 龍門; โรมาจิ: Ryūmon) ได้สำเร็จในขณะที่ปลาตัวอื่น ๆ ยอมแพ้[8] จึงสามารถเปรียบเสมือนได้กับมังกรที่กล้าหาญ[9]
หมวกคาบูโตะ เกราะโยโรย (ญี่ปุ่น: 鎧; โรมาจิ: Yoroi) และตุ๊กตานักรบ (ญี่ปุ่น: 五月人形; โรมาจิ: Gogatsu Ningyo; ตุ๊กตาเดือนห้า) จะถูกนำมาวางไว้ในบ้านเพื่อเสริมความมั่นคงให้กับเด็กชาย[9] นอกจากนี้ยังทานขนมเฉพาะเทศกาล เช่น เค้กข้าวเหนียว "ชิมากิ (ญี่ปุ่น: 粽; โรมาจิ: Chimaki)" หรือ "โมจิโกเมะ (ญี่ปุ่น: 餅米; โรมาจิ: Mochigome)" ที่ห่อในใบกล้วย[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "国民の祝日に関する法律 | e-Gov法令検索". elaws.e-gov.go.jp. สืบค้นเมื่อ 2021-11-28.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เทศกาล "ธงปลาคาร์ฟ" เพื่อขอพรให้เด็กเติบโตแข็งแรง | JNTO". องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น. 2016-03-17. สืบค้นเมื่อ 2021-11-28.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สารานุกรมคำญี่ปุ่น「ทังโกะโนะเซ็กกุ (งานเทศกาลเด็กผู้ชาย)」". MATCHA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-28. สืบค้นเมื่อ 2021-11-28.
- ↑ "5 พฤษภาคม "วันเด็ก" ของญี่ปุ่น". JGBThai. 2019-05-03. สืบค้นเมื่อ 2021-11-28.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ทำไมต้องธงปลาคาร์ป ความหมายดีๆ ของวันเด็ก (ชาย) ในญี่ปุ่น". tcompanion.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-28. สืบค้นเมื่อ 2021-11-28.
- ↑ "Celebrating the Boys of Japan The traditions of Tango no Sekku". Japan National Tourism Organization (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-11-28.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "こどもの日とはどんなお祝いの日なのでしょうか?その意味と歴史を解説します | 人形の東玉". Tougyoku. สืบค้นเมื่อ 2021-11-28.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 8.0 8.1 "Kodomo No Hi: A Guide To Children's Day In Japan". Savvy Tokyo (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-05-04. สืบค้นเมื่อ 2021-11-28.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย] - ↑ 9.0 9.1 "มาทำความรู้จัก วันเด็กแห่งชาติ (5 พฤษภาคม) ของประเทศญี่ปุ่นกัน!". WOM JAPAN. 2018-05-02. สืบค้นเมื่อ 2021-11-28.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)