วัดแสนทอง (อำเภออมก๋อย)
วัดแสนทอง | |
---|---|
![]() | |
ชื่อสามัญ | วัดแสนทอง, วัดบ้านดง |
ที่ตั้ง | ตำบลอมก๋อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย |
![]() |
วัดแสนทอง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลอมก๋อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 3 ไร่ มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ 11 ไร่ 3 งาน
วัดแสนทอง หรือมีอีกชื่อคือ วัดบ้านดง ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัด พ.ศ. 2444 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2516[1]
อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ วิหาร กุฏิ หอระฆัง ศาลาการเปรียญ กุฏิรับรอง โรงครัว ปูชนียวัตถุมีพระพุทธรูปแสนทอง พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวอมก๋อยเล่าว่า เดิมพระเจ้าแสนทองเป็นพระพุทธรูปที่มาจากทางภาคกลาง แถบเมืองละโว้ ลพบุรี เมื่อพระนางจามเทวีจะเสด็จมาครองเมืองลำพูน พระนางเสด็จขึ้นมาทางเรือตามแม่น้ำปิงและได้นำพระเจ้าแสนทองมาด้วย พอขึ้นมาถึงดอยเกิ้ง อยู่ในเขตอำเภอฮอดก็ได้นำเอาพระเจ้าแสนทองไปประดิศฐานไว้ที่วัดดอยเกิ้ง จากนั้นเกิดมีสงครามกับพม่า พระนางได้สั่งให้นำเอาพระเจ้าแสนทองไปหลบซ่อนไว้ในป่าใกล้ ๆ กับวัดดอยเกิ้ง ปัจจุบันเรียกบริเวณนั้นว่า ห้วยแสนทอง ต่อมาประมาณ 700 ปีที่ผ่านมาชาวลัวะ (ละว้า) ได้มาสร้างถิ่นฐานและได้ไปเอาพระเจ้าแสนทองมาประดิษฐานไว้ที่วัดแสนทอง จากนั้นต่อมาประมาณ 450 ปี ชาวลัวะได้อพยพถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่น วัดจึงเป็นวัดร้าง จนครั้นนพระยาอินต๊ะมีตำาแหน่งเป็นพ่อขุนเมืองอมก๋อย จะย้ายพระแสนทองแต่บังคับช้างไม่ได้ จึงมาไว้ทีเดิม[2]
ด้านการศึกษา มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมเปิดสอน พ.ศ. 2468 นอกจากนี้ในวัดมีห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปแสน[3]
รายนามเจ้าอาวาส
[แก้]- พระอินต๊ะ ปญฺญาวํโส
- พระอุด จิตฺตวโร
- พระต๋าคำ ถาวโร
- พระสว่าง อริยวํโส
- พระอิ่นคำ อริยวํโส
- พระปฐม จรณธมฺโม
- พระครูคำปัน สิริมงฺคโล
- พระอริการจักรพงษ์ เกสธมฺโม
- พระอินสม ภทฺทจาโร
- พระครูสุนทรวิภาต
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "วัดแสนทอง". สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
- ↑ "วัดแสนทอง" (PDF).
- ↑ "วัดแสนทอง".