วัดเจ้ามูล
วัดเจ้ามูล | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดเจ้ามูล, วัดเจ้ามูลราชพงศาวราราม |
ที่ตั้ง | เลขที่ 26/3 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 8 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600 |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย |
พระประธาน | พระพุทธรังษีสมากร |
พระพุทธรูปสำคัญ | หลวงพ่อทับทิม |
เจ้าอาวาส | พระครูโอภาสบุญวัฒน์ (บุญเลิศ โอภาโส ป.ธ.๓, น.ธ.เอก) |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดเจ้ามูล เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
ประวัติ
[แก้]วัดเจ้ามูลตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2207[1] สันนิษฐานว่าชื่อวัดน่าจะมาจากพระราชวงศ์ที่มีพระนามว่า พระองค์เจ้ามูล ได้ทรงรื้อพระตำหนักมาสร้างถวายเป็นกุฏิสงฆ์ทรงเรือนไทยแบบสมัยโบราณ ถวายเป็นสมบัติของสงฆ์และเป็นที่อยู่ของพระภิกษุ ผู้เป็นเจ้าอาวาส และได้ริเริ่มสร้างวัดขึ้นพร้อมกับคณะท่านผู้มีจิตศรัทธาที่ได้ร่วมสร้างขึ้น ได้รับนามว่า วัดเจ้ามูลราชพงศาวราราม แต่ชาวบ้านเรียกว่า "วัดเจ้ามูล" แต่เมื่อพระตำหนักที่รื้อมาสร้างเป็นกุฏิก็ชำรุดสูญหายไป จึงมีแต่สิ่งปลูกสร้างใหม่ขึ้นมาแทนตามลำดับ วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ 2 มีนาคม พ.ศ. 2527 โดยกำหนดเขตกว้าง 8 เมตร ยาว 15 เมตร[2]
อาคารเสนาสนะ
[แก้]อุโบสถกว้าง 8.15 เมตร ยาว 24.70 หลังคาลด 3 ชั้น ประดับช่อฟ้า ใบระกา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2513 ภายในประดิษฐานพระประธาน พระพุทธรูปปางมารวิชัย รูปลักษณะเป็นแบบพระพุทธชินราช นามว่า พระพุทธรังษีสมากร ขนาดหน้าตักกว้าง 6 ศอก สูง 6.50 ศอก ด้านหลังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนเป็นภาพพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ฝาผนังเขียนเป็นภาพเทวดาและเหตุการณ์ในพุทธประวัติ บานหน้าต่างอุโบสถ เขียนเป็นภาพของสำนวนไทย เช่น ฝนทั่งให้เป็นเข็ม ตักน้ำรดหัวตอ อย่าจับปลาสองมือ
วิหารกว้าง 7 เมตร ยาว 8 เมตร ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ขนาดหน้าตักกว้าง 1.20 เมตร มีนามว่า หลวงพ่อทับทิม ซึ่งเป็นพระประธานอุโบสถเก่า วัดมีศาลาการเปรียญ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทรงไทย กว้าง 10 เมตร ยาว 19 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2528[3]
-
หลวงพ่อทับทิม พระประธานในวิหารซึ่งเป็นอุโบสถหลังเก่า
-
พระพุทธรังษีสมากร พระประธานในอุโบสถ
-
จิตรกรรมฝาผนังรูปเทพชุมนุมในอุโบสถ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "วัดเจ้ามูล". พระสังฆาธิการ.
- ↑ "วัดเจ้ามูล". สำนักงานเขตบางกอกใหญ่. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-24. สืบค้นเมื่อ 2020-09-23.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-12. สืบค้นเมื่อ 2020-09-24.