ข้ามไปเนื้อหา

วัดหัวข่วง (จังหวัดน่าน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดหัวข่วง จังหวัดน่าน
แผนที่
ชื่อสามัญวัดหัวข่วง
ที่ตั้งเลขที่ 77 ถนนมหาพรหม ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน 55000
ประเภทวัดราษฏร์
เจ้าอาวาสพระครูพิเศษนันทวุฒิ
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดหัวข่วง ตั้งอยู่บน ถนนมหาพรหม เลขที่ 77 ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดที่มีความสำคัญในเขตหัวแหวนเมืองน่าน อยู่ติดหอคำหลวง หรือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน และคุ้มอดีตเจ้าเมืองน่าน ไม่ปรากฏว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยล้านนาตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ 20-22 มีจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงามภายในพระวิหาร มีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ลักษณะพุทธศิลป์แบบท้องถิ่นล้านนา สกุลช่างเมืองน่าน ฝีมือประณีตงดงาม โดยมีหลักฐานบันทึกเกี่ยวกับประวัติการบูรณะครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2425 โดย เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 62 และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2472 ในสมัยเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 64 องค์สุดท้าย

เจดีย์วัดหัวข่วง

[แก้]
เจดีย์วัดหัวข่วง

เจดีย์วัดหัวข่วง เป็นเจดีย์ทรงปราสาทหรือทรงเรือนธาตุ ได้รับอิทธิพลศิลปะล้านนา ประกอบด้วย ส่วนฐานสร้างเป็นสี่เหลี่ยมฐานปทม ประดับด้วยลูกแก้วสองชั้น มีฐานไม้ คั่นกลาง ฐานบัวลูกแก้วชั้นบนย่อมุม รับกับเรือนธาตุไปจรดชั้นบัวถลาใต้องค์ระฆัง ส่วนเรือนธาตุมีซุ้มจรนัมด้านละซุ้ม ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยสำริด ประดับมุมด้วยรูปเทวดาทรงเครื่องยืนพนมมือ เรือนธาตุเป็นชั้นบัวถลาซ้อนกันสามชั้น ยอดขององค์เจดีย์เป็นทรงระฆังมีขนาดเล็กไม่มีบัลลังก์ สันนิษฐานว่าเป็นศิลปะที่ดัดแปลงตามแบบของช่างเมืองน่าน มีอายุระหว่างสมัยล้านนาตอนปลาย

หอธรรมวัดหัวข่วง

[แก้]
ภาพบริเวณวัด

หอธรรมวัดหัวข่วงเป็นสถานที่เก็บพระไตรปิฏก และคำภีร์โบราณ ที่มีอายุหลายปี ตั้งแต่สมัยก่อสร้างวัด