ข้ามไปเนื้อหา

วัดสระศรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดสระศรี
วัดสระศรีตั้งอยู่ในจังหวัดสุโขทัย
วัดสระศรี
ที่ตั้งของวัดสระศรีในจังหวัดสุโขทัย
วัดสระศรีตั้งอยู่ในประเทศไทย
วัดสระศรี
วัดสระศรี (ประเทศไทย)
ที่ตั้งตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
ประเภทวัด
ส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ความเป็นมา
สร้างไม่ปรากฏ
ละทิ้งไม่ปรากฏ
สมัยสุโขทัย
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
ขุดค้นพ.ศ. 2496
ผู้ขุดค้นกรมศิลปากร
สภาพซากปรักหักพัง
ผู้บริหารจัดการกรมศิลปากร
การเปิดให้เข้าชมทุกวัน 06.00-21.00 น.
สถาปัตยกรรม
รูปแบบสถาปัตยกรรมสุโขทัย
เกณฑ์วัฒนธรรม: (i), (iii)
ขึ้นเมื่อ1991
เป็นส่วนหนึ่งของเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร
เลขอ้างอิง574
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนวัดสระศรี (กระพังโพยศรี)
ขึ้นเมื่อ8 มีนาคม พ.ศ. 2478
เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
เลขอ้างอิง0004043

วัดสระศรี เป็นวัดที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดมหาธาตุ และเป็นโบราณสถานสำคัญตั้งอยู่บนเกาะกลางน้ำขนาดใหญ่ ชื่อว่า ตระพังตระกวน ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย[1]

ประวัติ

[แก้]

วัดสระศรีไม่ปรากฏชื่อวัดสระศรีในหลักฐานด้านเอกสารและศิลาจารึก ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2498 ต่อมามีการขุดแต่งและบูรณะเมื่อ พ.ศ. 2496–2498 บูรณะต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2508 และบูรณะต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2525

โบราณสถาน

[แก้]

กลุ่มโบราณสถานประกอบด้วย เจดีย์ประธานทรงกลมแบบลังกาขนาดใหญ่ รูปทรงสมบูรณ์ถึงยอดมีฐานชั้นล่างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยกพื้นสูงเป็นฐานทักษิณและมีระเบียงคดอยู่โดยรอบฐานซึ่งเชื่อว่าเคยมีแถวพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่[2] ฐานกว้างยาวด้านละ 17.20 เมตร ก่อด้วยอิฐ

พระวิหาร อยู่ด้านหน้าหรือตะวันออกของเจดีย์ประธาน มีพระพุทธรูปปูนปั้นประดิษฐานที่ฐานชุกชี วิหารกว้าง 16 เมตร ยาว 31 เมตร เจดีย์ขนาดเล็กแบบศรีวิชัยผสมลังกา มีซุ้มพระพุทธรูปอยู่ทั้ง 4 ทิศ สภาพสมบูรณ์ ก่อด้วยอิฐ ฐานกว้างด้านละ 4 เมตร ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเจดีย์ประธาน มีฐานเจดีย์รายขนาดเล็ก 5 องค์

พระอุโบสถ ตั้งอยู่บนเกาะขนาดเล็กกลางน้ำด้านทิศตะวันออกของเกาะที่ตั้งกลุ่มโบราณสถานใหญ่ โดยมีสะพานไม้ข้ามต่อถึงกันได้ พระอุโบสถมีขนาดกว้างยาวด้านละ 10 เมตร มีเสมาหินปักโดยรอบ ที่พระอุโบสถตั้งอยู่กลางน้ำเพราะเป็นความเชื่อถือแบบพระพุทธศาสนาที่ใช้น้ำในความหมายของความบริสุทธิ์ของขอบเขตที่กันไว้เป็นเขตสำหรับให้พระสงฆ์ทำสังฆกรรม เรียกว่า นทีสีมา ซึ่งเป็นคตินิยมหนึ่งของลังกา ลักษณะอาคารน่าจะเป็นอาคารโถง[3] และสระน้ำขนาดใหญ่หรือที่เรียกว่า ตระพังตระกวน เป็นสระน้ำขนาดพื้นที่ประมาณ 70 ไร่เศษ[4]

เจดีย์ประธานเเละเจดีย์ขนาดเล็กด้านข้าง

อ้างอิง

[แก้]
  1. "วัดสระศรี (อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย)". การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.).
  2. สันติ เล็กสุขุม. โบราณสถานกับรูปแบบสันนิษฐาน มรดกโลก สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2551.
  3. "วัดสระศรี". ฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย.
  4. "โบราณสถานในเขตกำแพงเมืองชั้นใน". อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย.