ข้ามไปเนื้อหา

วัดตระพังเงิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดตระพังเงิน
วัดตระพังเงินตั้งอยู่ในจังหวัดสุโขทัย
วัดตระพังเงิน
ที่ตั้งของวัดตระพังเงินในจังหวัดสุโขทัย
วัดตระพังเงินตั้งอยู่ในประเทศไทย
วัดตระพังเงิน
วัดตระพังเงิน (ประเทศไทย)
ที่ตั้งตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
ประเภทวัด
ส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ความเป็นมา
สร้างไม่ปรากฏ
ละทิ้งไม่ปรากฏ
สมัยสุโขทัย
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
ผู้ขุดค้นกรมศิลปากร
สภาพซากปรักหักพัง
ผู้บริหารจัดการกรมศิลปากร
การเปิดให้เข้าชมทุกวัน 06.00-21.00 น.
สถาปัตยกรรม
รูปแบบสถาปัตยกรรมสุโขทัย
เกณฑ์วัฒนธรรม: (i), (iii)
ขึ้นเมื่อ1991
เป็นส่วนหนึ่งของเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร
เลขอ้างอิง574
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนวัดตระพังเงิน
ขึ้นเมื่อ8 มีนาคม พ.ศ. 2478
เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
เลขอ้างอิง0004039

วัดตระพังเงิน เป็นโบราณสถานร้างในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

ไม่ปรากฏหลักฐานชื่อวัดตระพังเงินในศิลาจารึก แต่พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เรื่อง เที่ยวเมืองพระร่วง (พ.ศ. 2451) มีข้อความกล่าวถึงตระพังเงินไว้ว่า "ที่ริมวัดมหาธาตุทางด้านตะวันออก มีที่ดินว่างเปล่าอยู่แปลงหนึ่ง เป็นรูปสี่เหลี่ยมรีทางด้านเหนือกับด้านใต้ มีเนินดินและมีคูต่อไปประจบกับคูวัดมหาธาตุเป็นอันเดียวกัน ด้านตะวันตกที่ติดกับวัดมหาธาตุนั้น มีกำแพงแต่ไม่มีคู ด้านตะวันออกมีคู คูด้านเหนือและใต้นั้นยาวต่อไปจนจดคูด้านตะวันตก เข้าใจว่าน้ำในตระพังทองด้านตะวันออกกับตระพังเงินด้านตะวันตก จะมีทางไขให้เดินเข้าคูวัดกับที่แปลงต่อนั้นได้ตลอด"[1] กรมศิลปากรดำเนินการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ เมื่อ พ.ศ. 2549[2]

วัดตระพังเงินตั้งอยู่โดยรอบขอบสระน้ำหรือตระพังเงิน ประกอบด้วยเจดีย์ประธาน วิหาร และอุโบสถกลางน้ำ

เจดีย์ทรงดอกบัวตูมหรือเจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์เป็นประธาน วิหารอยู่ทางด้านหน้าหรือด้านทิศตะวันออกของเจดีย์ประธาน มีหลังคาทรงจั่ว คงเป็นวิหารโถง เจดีย์รายตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเจดีย์ประธานและวิหาร มีช่องซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป หลังคาชั้นซ้อนสอบลดหลั่นขึ้นไป เรียกว่า เจดีย์ทรงวิมาน ด้านตะวันออกของเจดีย์และวิหารมีตระพัง ชื่อว่า ตระพังเงิน ตรงกลางสระมีเกาะและมีอุโบสถตั้งอยู่กลางเกาะ คงเป็นอาคารโถงเช่นเดียวกับวิหาร[3] โดยสำหรับพระพุทธรูปประธานภายในวิหารเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. กรมศิลปากร. ทำเนียบโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2561. พระรามครีเอชัน : กรุงเทพฯ. 2561
  2. "วัดตระพังเงิน". สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย.
  3. "วัดตระพังเงิน". ฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย.
  4. "วัดตระพังเงิน". กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.