วัดพระยาแมน
ที่ตั้ง | ตำบลลุมพลี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
---|---|
ประเภท | วัด |
ส่วนหนึ่งของ | อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา |
ความเป็นมา | |
สร้าง | สมัยกรุงศรีอยุธยา |
ละทิ้ง | พ.ศ. 2310 |
สมัย | อยุธยา |
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่ | |
ผู้ขุดค้น | กรมศิลปากร |
สภาพ | ซากปรักหักพัง |
ผู้บริหารจัดการ | กรมศิลปากร |
การเปิดให้เข้าชม | ทุกวัน 08.00–18.30 น. |
สถาปัตยกรรม | |
รูปแบบสถาปัตยกรรม | อยุธยา |
วัดพระยาแมน เป็นวัดร้าง ตั้งอยู่ที่ตำบลลุมพลี อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยวัดพระยาแมนได้รับการประกาศให้เป็นโบราณสถานของชาติ แต่ไม่ได้กำหนดขอบเขต เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 หลังจากนั้น จึงได้รับการขึ้นทะเบียนแบบกำหนดขอบเขตอีกครั้ง เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2523
ประวัติ
[แก้]วัดพระยาแมนเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยไม่ปรากฏนามผู้สร้างและไม่ทราบว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยใด แต่ชื่อวัดพระยาแมนปรากฏในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา กล่าวคือ ก่อนที่สมเด็จพระเพทราชาจะได้ครองราชสมบัตินั้น ผนวชอยู่ที่วัดพระยาแมน โดยพระอาจารย์อธิการได้ทำนายว่าพระองค์จะได้ขึ้นครองราชสมบัติ รวมทั้งยังได้ให้โอวาทานุสาสน์ในสมณะกิจทั้งปวง ดังนั้น เมื่อสมเด็จพระเพทราชาได้เสวยราชสมบัติแล้วจึงทรงพระราชดำริถึงคุณพระอาจารย์อธิการวัดพระยาแมน จึงเสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดพระยาแมนเพื่อถวายนมัสการพระอาจารย์ แล้วมีพระราชดำรัสให้ให้สร้างพระอารามให้ถาวรขึ้นกว่าเก่า เมื่อสร้างแล้วเสร็จทรงพระกรุณาให้มีการสมโภช 3 วัน และทรงตั้งพระอาจารย์อธิการวัดพระยาแมน ชื่อ พระยาศรีสัจจญาณมุนี ราชาคณะ ฝ่ายคามวาสี พร้อมถวายเครื่องสมณบริขารพร้อมตามศักดิ์พระราชาคณะทุกประการ จากพงศาวดารแสดงให้เห็นว่าสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ล้วนเป็นฝีมือช่างคราวปฏิสังขรณ์ในครั้งนั้นทั้งสิ้น