ข้ามไปเนื้อหา

วัดพระพุทธ

พิกัด: 6°13′55″N 102°01′44″E / 6.232°N 102.029°E / 6.232; 102.029
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดพระพุทธ นราธิวาส
วัดพระพุทธ นราธิวาส
วัดพระพุทธ นราธิวาส

วัดพระพุทธ ตั้งอยู่ที่ บ้านใหญ่ หมู่ที่ 3 ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ภายในวัดมีศาลาการเปรียญ พระพุทธรูปทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ ชื่อ พ่อท่านพระพุทธ พระพุทธไสยาสน์

ประวัติ

[แก้]

ในอดีต กรณีเสียดินแดนให้อังกฤษ ได้ทำ "สนธิสัญญาตาบา" ระหว่างรัฐบาลสยามกับรัฐบาลอังกฤษ โดยได้ตัดสินกรณีพิพาทแนวแขตดินแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซียบริเวณตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส สรุปว่า บริเวณวัดพระพุทธและคนในชุมชน มีวัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิตเป็นของไทย ดังนั้น ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จึงเป็นสิทธิปกครองและเขตดินแดนของประเทศไทย

วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2548 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินถึงวัดพระพุทธ เสด็จเข้าศาลาการเปรียญ ทรงจุดธูป เทียนเครื่องนมัสการ บูชาพระรัตนตรัย ทรงถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแด่ "พระครูไพโรจน์ศาสนกิจ" เจ้าอาวาสวัดพระพุทธในขณะนั้น และพระสงฆ์ที่จำพรรษา รวม 8 รูป กลุ่มศิลปาชีพ วัดพระพุทธสามารถพัฒนาฝีมือ จนผลิตผลงานได้สวยงาม และมีคุณภาพ

ประวัติวัดพระพุทธ

[แก้]

ได้เปลี่ยนชื่อมาหลายสมัยคือ

  1. วัดโพธารามสมุหสถาน ประมาณ พ.ศ. 2325 สมัยรัชกาลที่ 1
  2. วัดใต้ตีน (หมายถึงวัดทางทิศเหนือ) ประมาณปี พ.ศ. 2325 ถึงปี พ.ศ. 2352 สมัยรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2
  3. วัดพระพุทธพร่อน ประมาณปี พ.ศ. 2500 ถึงปัจจุบัน

สัญลักษณ์ของวัดพระพุทธ

[แก้]

คือ "ต้นโพธิ์" ชาวอินเดียเรียกต้นโพธิ์ว่า "อัสวัตถ์" หรือ "อัสสัตถ์" หรือ "ปิปปละ" ภาษาละตินเรียกว่า Ficus Religiosa ซึ่งเป็นไม้พันธ์หนึ่ง ไทยเรียก "โพธิ์ฤกษ์" ,"ต้นโพธิ์" เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ภายใต้ต้นไม้นี้จึงชื่อ ต้นโพธิ์หรือ "โพธิรุกขะ" เป็นไม้ที่ตรัสรู้ จะเป็นต้นไม้อะไรก็ได้ เช่น

พระศรีอาริย์ ตรัสรู้ใต้ต้นกากทิง ไม้กากทิง เป็นพุทธิรุกขะ
พระกัสสปะ ตรัสรู้ใต้ต้นไทร ไม้ไทร เป็นพุทธิรุกขะ
พระโกนาคม ตรัสรู้ใต้ต้นมะเดื่อ ไม้มะเดื่อ เป็นพุทธิรุกขะ

พระธรรมทูตสู่ประเทศศรีลังกา

[แก้]

หลังจากที่พระเจ้าอโศกมหาราชได้ล้มเลิกการแผ่พระราชอาณาเขตโดยใช้กำลังแสนยานุภาพ หันมาใช้ธรรมานุภาพแทน พระเจ้าอโศกมหาราชได้ศึกษาพุทธพจน์จากพระเถระ หลังจากนั้นพระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งพระธรรมทูตสู่ดินแดนต่างๆ 9 สาย สายที่ 9 ส่งไปที่ลังกา (ตัมพปัณณิทวีป)

การเดินทางไปลังกา

[แก้]

ใน พ.ศ. 2357 รัชกาลที่ 2 ได้โปรดฯให้สมเด็จพระวันรัต (มี) วัดราชบูรณะ หาพระสงฆ์ได้ 4 รูป รวมพระสงฆ์ไทยได้ 8 รูป พระรัตนปาละและพระหิธายะ ภิกษุชาวลังกาขอร่วมเดินทางไปเยี่ยมบ้านร่วมไปในขบวนด้วย รวมเป็น 10 รูป สมณทูตอยู่ในลังกานาน 12 เดือน จึงอำลาพระสังฆนายกกลับไทย พระสังฆนายกประทาน หน่อพระศรีมหาโพธิ์ เมืองอนุราชบุรี 6 หน่อ พร้อมทั้งพระบรมสารีริกธาตุแก่พระสงฆ์ไทย

แหล่งที่ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • เผ่า ปิยจาโร, พระอธิการ วัดพระพุทธ โรงพิมพ์ศูนย์ข่าวนรานิวส์ กุมภาพันธ์ 2555 , 20 หน้า

6°13′55″N 102°01′44″E / 6.232°N 102.029°E / 6.232; 102.029