วัดบางปิ้ง (จังหวัดสมุทรสาคร)
วัดบางปิ้ง | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดบางปิ้ง, วัดหัวป่า |
ที่ตั้ง | เลขที่ 27 หมู่ที่ 2 ถนนเศรษฐกิจ 1 ตำบลนาดี อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 74000 |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย |
พระประธาน | หลวงพ่อปู่ทองคำ |
พระพุทธรูปสำคัญ | หลวงปู่ชิต |
เจ้าอาวาส | พระครูอดุลสาครกิจ |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดบางปิ้ง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 2 บ้านบางปิ้ง ตำบลนาดี อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 16 ไร่ 3 ตารางวา 48 ตารางวา มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ 17 ไร่ 3 ตารางวา
ประวัติ
[แก้]วัดบางปิ้งตั้งเมื่อ พ.ศ. 2414 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2496[1] เดิมชื่อ วัดหัวป่า เนื่องจากเมื่อก่อนบริเวณรอบวัดเป็นป่าที่มีต้นปิ้งเป็นจำนวนมาก ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อวัดมาเป็น "วัดบางปิ้ง" อุโบสถหลังแรกสร้างโดยเถ้าแก่หวานและนางจันทร์ ต่อมาเมื่ออุโบสถทรุดโทรมจนใช้งานไม่ได้ นายพุ่มและนางรอด จันจู ได้บริจาคทรัพย์สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ จากนั้นวัดได้รับการบูรณะและพัฒนามาโดยตลอด[2]
ด้านการศึกษา วัดเปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2513 ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2540 และศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัด เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2538
อาคารเสนาสนะ
[แก้]อุโบสถหลังปัจจุบันได้รับการบูรณะใหม่แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2536 ภายในประดิษฐานพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย นามว่า หลวงพ่อปู่ทองคำ มีประวัติว่า นายโต๊ะ นายยัง แจวเรือไปขายของที่บางกอก ย่านบางกอกน้อย ไปพบพระพุทธรูปตั้งอยู่กลางป่าเป็นวัดร้างสมัยนั้น ซึ่งปัจจุบันคือวัดสังข์กระจายวรวิหาร จึงได้นำพระลงเรือ แล้วแจวเรือกลับมายังบางปิ้ง ที่ฐานพระมีชื่อพรหมมาทองคำ จึงเรียกว่า หลวงพ่อปู่ทองคำ คาดว่าสร้างขึ้นสมัยอยุธยาตอนปลาย
วิหารหลวงปู่ชิต เป็นวิหารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็ก หลังคามุงกระเบื้องซีเมนต์ปูนปั้นทับสันหลังคา มีประตูทางเข้าด้านหน้าด้านเดียว ผนังด้านข้างเจาะช่องหน้าต่างด้านละ 2 ช่อง ภายในประดิษฐานรูปหล่อหลวงปู่ชิต หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์[3]
ศาลาการเปรียญ กว้าง 16.20 เมตร ยาว 42.90 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2539 หอสวดมนต์ กว้าง 7.57 เมตร ยาว 9 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2506 เป็นอาคารไม้ กุฏิสงฆ์ จำนวน 8 หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 หลัง และตึก 6 หลัง วิหาร กว้าง 3.40 เมตร ยาว 5.50 เมตร อาคารเสนาสนะอื่นได้แก่ ศาลาโรงครัว กว้าง 20 เมตร ยาว 32.50 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2526 เป็นอาคารไม้ ศาลารักษาอุโบสถศีล 1 หลัง กุฏิชี 1 หลัง หอฉัน 1 หลัง โรงเรียนพระปริยัติธรรม 1 หลัง หอกลอง 1 หลัง หอระฆัง 1 หลัง และห้องสมุด 1 ห้อง[4]
รายนามเจ้าอาวาส
[แก้]- พระมอญ
- พระลาว
- พระเปลื้อง
- พระญาติ
- พระเล้ง
- พระครูวิชิตสังฆการ พ.ศ. 2483–2519
- พระครูอดุลสาครกิจ พ.ศ. 2519-2557
- พระครูวิทิตสาครธรรม (ฉาบ ฐานวโร (มาถี) ) 2558-ปัจจุบัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "รายงานทะเบียนวัด" (PDF). สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-22. สืบค้นเมื่อ 2020-09-30.
- ↑ กองพุทธศาสนสถาน กรมการศาสนา. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 21. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, 2545. หน้า 42.
- ↑ "วัดบางปิ้ง". ฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย.
- ↑ "วัดบางปิ้ง". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม จังหวัดสมุทรสาคร.