วัดจวนดำรงค์ราชพลขันธ์
วัดจวนดำรงค์ราชพลขันธ์ | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดจวนดำรงค์ราชพลขันธ์, วัดจวน |
ที่ตั้ง | เลขที่ 1615 ถนนพระยาดำรงค์ราชพลขันธ์ ตำบลตลาด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 10130 |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดจวนดำรงค์ราชพลขันธ์ หรือภาษามอญเรียกว่า เพี่ยอะม้อย[1] เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ในตำบลตลาด อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ วัดมีเนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 36 ตารางวา ที่ธรณีสงฆ์เนื้อที่ 2 งาน 36 ตารางวา
วัดจวนดำรงค์ราชพลขันธ์สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2430 พระยาดำรงราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) เจ้าเมืองนครเขื่อนขันธ์คนที่ 2[2] ได้อุทิศถวายจวนและดำเนินการสร้างเป็นวัดขึ้น จึงได้มีนามอย่างนั้น ชาวบ้านเรียกสั้น ๆ ว่า วัดจวน ต่อมาก็ได้รับการทำนุบำรุงจากตระกูลคชเสนี วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2445[3]
ภายในวัดมีอาคารเสนาสนะต่าง ๆ ดังนี้ พระอุโบสถ กว้าง 6 เมตร ยาว 11.6 เมตร กุฏิสงฆ์ จำนวน 6 หลัง ส่วนมากเป็นอาคารทรงไทยโบราณ หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในอุโบสถและรูปเหมือนหลวงปูสุดใจอดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 2[4] มีเสาหงส์ธงตะขาบอยู่หน้าวัด ยังมีเสาหงส์อนุสรณ์ตระกูลคชเสนี ศาลาอเนกประสงค์ และหอระฆังมีคันทวยรูปหงส์[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ชุมชนมอญในประเทศไทย - มอญปากลัด มอญพระประแดง จ.สมุทรปราการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-21. สืบค้นเมื่อ 2020-09-11.
- ↑ "ย่านเก่าเมืองพระประแดง". สวนศรีนครเขื่อนขันธ์ บางกะเจ้า.
- ↑ "วัดจวนดำรงค์ราชพลขันธ์". หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 2020-09-11.
- ↑ "วัดจวนดำรงค์ราชพลขันธ์". หนังสือคู่มือท่องเที่ยวพระประแดง.
- ↑ วจี โสภาเพียร. "การศึกษาเปรียบเทียบสถาปัตยกรรมภายในวัดมอญและวัดไทยในเขตเมืองนครเขื่อนขันธ์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น" (PDF). p. 80–84.