ลฺหวี่
หน้าตา
ลฺหวี่ | |
---|---|
การออกเสียง | lǚ (จีนกลาง) leui5 (กวางตุ้ง) |
ภาษา | ภาษาจีน |
ที่มา | |
ภาษา | ภาษาจีนโบราณ |
คำ/ชื่อ | รัฐลฺหวี่ |
ชื่ออื่น ๆ | |
แบบต่าง ๆ | Lu, Lv, Lyu, Lui, Ryo |
Lü | |||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 吕 | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 呂 | ||||||||||||
|
ลฺหวี่ ถอดเสียงแบบ พินอิน และแบบ เวด-ไจลส์ ว่า Lü เป็นนามสกุลจีน เขียนเป็นอักษรจีนตัวย่อว่า 吕 และเขียนเป็นอักษรจีนตัวเต็มว่า 呂 เป็นนามสกุลที่ใช้มากที่สุดเป็นอันดับที่ 47 ของประเทศจีน[1] มีผู้ใช้นามสกุลนี้ราว 5.6 ล้านคน หรือคิดเป็น 0.47% ของประชากรชาวจีนในปี ค.ศ. 2002[2] เป็นนามสกุลที่ใช้กันมากเป็นพิเศษในมณฑลชานตง และมณฑลเหอหนาน[2]
นามสกุลนี้มีที่มาจากชื่อ รัฐลฺหวี่ ของจีนยุคโบราณ ลฺหวี่ ช่าง (ราวศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล รู้จักกันในชื่อเจียง จื่อหยา) ผู้ก่อตั้ง รัฐฉี เป็นคนแรกที่พบว่าใช้นามสกุลนี้ ลฺหวี่จัดเป็นนามสกุลลำดับที่ 22 ใน ตำรานามสกุล 100 ตระกูล ของ ราชวงศ์ซ่ง [3]
รายชื่อบุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]- ลฺหวี่ ช่าง หรือ เจียง จื่อหยา (ราวศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล) ขุนพลแห่งราชวงศ์โจว และผู้ก่อตั้งรัฐฉี
- ลฺหวี่ จี๋ หรือ ฉีติงกง (ราวศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสตกาล) ผู้ปกครองรัฐฉีคนที่สอง
- ลฺหวี่ ปู้เหวย์ (291? - 235 ปีก่อนคริสตกาล) อัครมหาเสนาบดีแห่งรัฐฉิน
- จักรพรรดินีลฺหวี่ (241 - 180 ปีก่อนคริสตกาล) พระมเหสีของ จักรพรรดิฮั่นเกาจู่ ขึ้นมามีอำนาจปกครองหลังการสวรรคตของพระสวามี
- จักรพรรดินีลฺหวี่ (เสียชีวิตราว 180 ปีก่อนคริสตกาล) พระมเหสีของจักรพรรดิฮั่นเซ่าตี้ฮง
- แม่ลฺหวี (เสียชีวิต ค.ศ. 18) ผู้กบฏต่อต้าน ราชวงศ์ซิน
- ลิโป้ หรือ ลฺหวี่ ปู้ (เสียชีวิต ค.ศ. 199) ขุนศึกในยุค ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก
- ลิบอง หรือ ลฺหวี่ เหมิง (ค.ศ. 178 - 220) ขุนพลแห่งง่อก๊ก
- ลิต้าย หรือ ลฺหวี่ ไต้ (ค.ศ. 161 - 256) ขุนพลแห่งง่อก๊ก
- ลิห้อม หรือ ลฺหวี่ ฟ่าน (เสียชีวิต ค.ศ. 228) ขุนนางแห่งง่อก๊ก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "最新版百家姓排行榜出炉:王姓成中国第一大姓 [Latest surname ranking: Wang is the number one surname in China". Xinhua News Agency (ภาษาจีน). 2013-04-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-20. สืบค้นเมื่อ 2014-02-11.
- ↑ 2.0 2.1 Yuan, Yida; Zhang, Cheng (2002). 中国姓氏: 群体遗传和人口分布 [Chinese surnames: group genetics and distribution of population] (ภาษาจีน). East China Normal University Press. p. 87. ISBN 9787561727690.
- ↑ "百家姓" [Hundred Family Surnames] (ภาษาจีน). Guoxue. สืบค้นเมื่อ 2014-02-05.