ข้ามไปเนื้อหา

เจิ้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจิ้ง
การออกเสียงZhèng (ภาษาจีนกลาง)
Cheang (มาเก๊า)
Tay, Tee, Teh or The (ภาษาฮกเกี้ยน, ภาษาแต้จิ๋ว)
Dang or Dhang (ภาษาฝูโจฺว)
ภาษาจีน
ที่มา
ความหมายชื่อของรัฐโบราณในมณฑลเหอหนาน
ชื่ออื่น ๆ
แบบต่าง ๆChung, Jung, Jeong (ภาษาเกาหลี)
แซ่แต้ (ภาษาไทย)
Trịnh (ภาษาเวียดนาม)

เจิ้ง (จีนตัวย่อ: ; จีนตัวเต็ม: ; พินอิน: Zhèng; เวด-ไจลส์: Cheng4, [ʈʂə́n] ( ฟังเสียง)) หรือ แต้ ตามภาษาแต้จิ๋วและฮกเกี้ยน เป็นนามสกุลหนึ่งของชาวจีน และเป็นสกุลเดียวกับประเทศที่รับวัฒนธรรมจีนโดยออกเสียงตามสำเนียงของตน ในภาษาเวียดนามว่า จิ่ญ (เวียดนาม: Trịnh; จื๋อโนม: ) ภาษาเกาหลีว่า ช็อง (เกาหลี; ฮันจา; อาร์อาร์Jeong; เอ็มอาร์Chŏng) และภาษาญี่ปุ่นว่า เท (ญี่ปุ่น: โรมาจิTei)

ในประเทศจีน ได้มีการจัดอันดับนามสกุลที่มีผู้ใช้มากที่สุด 100 อันดับ ผลสำรวจพบว่ามีผู้ใช้นามสกุล เจิ้ง เป็นอันดับที่ 21 หรือคิดเป็นร้อยละ 10 ของประชากร[1][2][3] โดยในยุคราชวงศ์ถัง คนในตระกูลเจิ้งส่วนใหญ่มีฐานะดีและทรงอิทธิพล[4]

ในฮ่องกงและไต้หวัน นามสกุลดังกล่าวได้สะกดด้วยอักษรโรมันเป็น Cheng หรือ Tcheng ในฮ่องกงบ้างสะกดว่า Chang ในมาเลเซียสะกดว่า Cheang หรือ Teh ในสิงคโปร์สะกดว่า Tay และในอินโดนีเซียสะกดว่า The[5]

ส่วนในประเทศไทยสันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งที่ชาวจีนที่ใช้นามสกุลเจิ้งหรือนามสกุลแต้ได้มาตั้งรกรากและมีครอบครัวในเมืองไทย โดยหนึ่งในนั้นคือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งพระราชสกุลเดิมคือแซ่แต้สืบแต่บิดา แต่ในปัจจุบันลูกหลานของผู้ใช้นามสกุลแต้ ส่วนมากได้เปลี่ยนเป็นนามสกุลให้เป็นไทย แต่จะขึ้นต้นด้วย เต และ เตชะ ตัวอย่างนามสกุลที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย เช่น เตชะไพบูลย์ เตชะรัตนประเสริฐ เตชะมนตรีกุล และอื่น ๆ ยังเป็นนามสกุลที่มีคนใช้มากที่สุดเป็นอันดับ 8 ของประเทศไทย 25,922 คน

อ้างอิง

[แก้]
  1. National Natural Science Foundation, China. Institute of Genetics and Developmental Biology, Chinese Academy of Sciences. China renews top 100 surnames, Li still the biggest, People's Daily, January 11, 2006.
  2. "Consulate-General of the People's Republic of China in Huston, Texas". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-26. สืบค้นเมื่อ 2014-07-29.
  3. Origins of Chinese Names By Chunjiang Fu, Asiapac Editorial, Wei Lin Chua, Joo Ling Choong Published by Asiapac Books Pte Ltd, 2007; ISBN 981-229-462-7, ISBN 978-981-229-462-3; p. 37[ลิงก์เสีย]
  4. Origins of Chinese Names By Chunjiang Fu, Asiapac Editorial, Wei Lin Chua, Joo Ling Choong Published by Asiapac Books Pte Ltd, 2007; ISBN 981-229-462-7, ISBN 978-981-229-462-3; p. 36[ลิงก์เสีย]
  5. Setyautama, Sam; Mihardja, Suma (2008). Tokoh-tokoh Etnis Tionghoa di Indonesia [Ethnic Chinese Figures in Indonesia] (ภาษาอินโดนีเซีย). Jakarta: Gramedia. ISBN 978-979-9101-25-9.