ข้ามไปเนื้อหา

ลอโยช โกชุต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลอโยช โกชุต
แด อุดวอร์ด แอ็ต โกชุตฟ็อลวอ
ดาแกโรไทป์ของโกชุต เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1852
ผู้สำเร็จราชการ-ประธานาธิบดีแห่งฮังการี
ดำรงตำแหน่ง
14 เมษายน ค.ศ. 1849 – 11 สิงหาคม ค.ศ. 1849
นายกรัฐมนตรีแบร์ตอล็อน แซแมแร
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปออร์ตูร์ เกอร์แกยี (รักษาการฝ่ายทหารและพลเรือน)
นายกรัฐมนตรีฮังการี คนที่ 2
ประธานคณะกรรมาธิการป้องกันชาติ
ดำรงตำแหน่ง
2 ตุลาคม ค.ศ. 1848 – 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1849
ก่อนหน้าลอโยช บ็อตยาญี (นายกรัฐมนตรี)
ถัดไปแบร์ตอล็อน แซแมแร (นายกรัฐมนตรี)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
7 เมษายน ค.ศ. 1848 – 12 กันยายน ค.ศ. 1848
นายกรัฐมนตรีลอโยช บ็อตยาญี
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปลอโยช บ็อตยาญี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ลอโยช โกชุต แด อุดวอร์ด แอ็ต โกชุตฟ็อลวอ

19 กันยายน ค.ศ. 1802(1802-09-19)
โมโนก ราชอาณาจักรฮังการี ราชาธิปไตยฮาพส์บวร์ค
เสียชีวิต20 มีนาคม ค.ศ. 1894(1894-03-20) (91 ปี)
ตูริน ราชอาณาจักรอิตาลี
ที่ไว้ศพสุสานแกแรแปชี
เชื้อชาติฮังการี
พรรคการเมืองพรรคฝ่ายค้าน (ค.ศ. 1847–1848)
คู่สมรสแตเรซียา แม็ซเลนยี
บุตรแฟแร็นตส์ ลอโยช อาโกช
วิลมอ
ลาโยช โตโดร์ กาโรย
ลายมือชื่อ

ลอโยช โกชุต แด อุดวอร์ด แอ็ต โกชุตฟ็อลวอ (ฮังการี: udvardi és kossuthfalvi Kossuth Lajos, สโลวัก: Ľudovít Košút, หรือ หลุยส์ โกชุต อังกฤษ: Louis Kossuth; 19 กันยายน ค.ศ. 1802 – 20 มีนาคม ค.ศ. 1894) เป็นขุนนาง นักกฎหมาย นักข่าว นักการเมือง และรัฐบุรุษชาวฮังการี เป็นหนึ่งแกนนำคนสำคัญของราชอาณาจักรฮังการีในระหว่างการปฏิวัติ ค.ศ. 1848–1849

โกชุตเกิดเมื่อ ค.ศ. 1802 ในตระกูลขุนนางฮังการี เขาได้รับการศึกษาในโรงเรียนสอนศาสนา จากนั้นเขาเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยแป็ชต์ในระดับอุดมศึกษา เขาเริ่มต้นอาชีพทางด้านกฎหมายเมื่อ ค.ศ. 1825 และเริ่มมีบทบาททางการเมืองจากการมีส่วนร่วมในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โกชุตเรียกร้องให้มีการตรากฎหมายว่าด้วยเสรีภาพสื่อและการพูดในฮังการีและดินแดนฮาพส์บวร์คทั้งหมด เขาถูกจับกุมเมื่อ ค.ศ. 1837 ต่อมาเขาจึงได้รับการปล่อยตัวใน ค.ศ. 1839 และได้แต่งงานกับแตเรซียา แม็ซเลนยี ผู้นับถือคาทอลิก ด้วยพรสวรรค์ในด้านการปราศรัยวิวาทะทางการเมืองและอุดมการณ์รัฐชาติของโกชุต เขาจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติฮังการี และด้วยความทะเยอทะยานของเขาทำให้โกชุตได้รับการสนับสนุนจากเคานต์ลอโยช บ็อตยาญี และได้รับเลือกเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรใน ค.ศ. 1847

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1848 ไม่นานหลังจากการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ที่ฝรั่งเศส บ็อตยาญีประกาศจัดตั้งรัฐบาลที่ไม่ขึ้นตรงกับจักรพรรดิออสเตรียอีกต่อไป และโกชุตได้รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของรัฐบาลใหม่ เขามีบทบาทสำคัญในการป้องกันประเทศจากวิกฤตการณ์ทางทหารที่เกิดขึ้นในระหว่างการปฏิวัติ รวมถึงได้ตรากฎหมายยอมรับสิทธิชนกลุ่มน้อย และในเดือนธันวาคม โกชุตได้รับอำนาจปกครองโดยพฤตินัยภายหลังการปฏิเสธจักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซ็ฟที่ 1 ของสภาผู้แทนราษฎร อย่างไรก็ตาม เมื่อฮังการีต้องเผชิญกับการแทรกแซงจากรัสเซีย โกชุตจึงสละตำแหน่งและมอบอำนาจให้กับนายพลออร์ตูร์ เกอร์แกยี ภายหลังการปฏิวัติที่ไม่ประสบผลสำเร็จ โกชุตจึงเดินทางลี้ภัยออกนอกประเทศ และถึงแก่อสัญกรรมที่ประเทศอิตาลีเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1894

หนังสืออ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Deák, István. Lawful Revolution: Louis Kossuth and the Hungarians 1848–1849 (Phoenix, 2001)
  • Horvath, Eugene. "Kossuth and Palmerston (1848–1849)." The Slavonic and East European Review 9#27 (1931): 612–631. in JSTOR
  • Lada, Zsuzsanna. "The Invention of a Hero: Lajos Kossuth in England (1851)." European History Quarterly 43.1 (2013): 5–26.
  • Laszlo Peter, Martyn Rady & Peter Sherwood, eds. Lajos Kossuth Sent Word (2003) scholarly essays online
  • Moore, John Bassett. "Kossuth: A Sketch of a Revolutionist. I." Political Science Quarterly 10.1 (1895): 95–131. in JSTOR free; part II in JSTOR free
  • Nobili, Johann. Hungary 1848: The Winter Campaign. Edited and translated Christopher Pringle. Warwick, UK: Helion & Company Ltd., 2021.
  • Roberts, Tim. "Lajos Kossuth and the Permeable American Orient of the Mid-Nineteenth Century." Diplomatic History (2014) online doi: 10.1093/dh/dhu070
  • Spencer, Donald S. Louis Kossuth and young America: a study of sectionalism and foreign policy 1848–1852 (Univ of Missouri Press, 1977)
  • Webster, Daniel (1851). Sketch of the Life of Louis Kossuth, Governor of Hungary: Together with the Declaration of Hungarian Independence; Kossuth's Address to the People of the United States; All His Great Speeches in England; and the Letter of Daniel Webster to Chevalier Hulsemann (ภาษาอังกฤษ). Stringer & Townsend.
  • The Life of Gov. Louis Kossuth: With His Public Speeches in the United States, and a Brief History of the Hungarian War of Independence (ภาษาอังกฤษ). New York: W. Lord. 1852.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า ลอโยช โกชุต ถัดไป
เริ่มตำแหน่ง ผู้สำเร็จราชการ-ประธานาธิบดีแห่งฮังการี
(14 เมษายน ค.ศ. 1849 – 11 สิงหาคม ค.ศ. 1849)
ออร์ตูร์ เกอร์แกยี
รักษาการฝ่ายทหารและพลเรือน
ลอโยช บ็อตยาญี
นายกรัฐมนตรี
ประธานคณะกรรมาธิการป้องกันชาติ
(2 ตุลาคม ค.ศ. 1848 – 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1849)
แบร์ตอล็อน แซแมแร
นายกรัฐมนตรี