ข้ามไปเนื้อหา

ฤๅ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรไทย
ฤๅ
รูปพยัญชนะ
รูปสระ
–ั –ํ –ิ ' "
–ุ –ู –็
ฤๅ ฦๅ
รูปวรรณยุกต์
–่ –้ –๊ –๋
เครื่องหมายอื่น ๆ
–์ –๎ –ฺ
เครื่องหมายวรรคตอน
ฯลฯ

ฤๅ หรือ ตัวรือ สามารถใช้เป็นสระลอย ไม่มีพยัญชนะสะกด ในพจนานุกรมไทย ให้ลำดับไว้หลัง , และก่อนหน้า อักษรนี้มีที่มาจากภาษาสันสกฤต ॠ/ॄ เสียงอ่านดั้งเดิมคือ "รี"

ปัจจุบันมีคำที่สะกดด้วย ฤๅ อยู่น้อยคำ บางคำก็สามารถเปลี่ยนไปใช้ ฤ แทนได้ เช่น

  • ฤๅ ↔ ฤ ↔ หรือ
  • †หฤๅ → หรือ
  • ฤๅชุ ↔ ฤชุ
  • ฤๅดี ↔ ฤดี
  • ฤๅทัย ↔ ฤทัย
  • ฤๅษี ↔ ฤษี

คำที่มีพยัญชนะต้นสะกดด้วยสระ ฤๅ มีอยู่เพียงคำเดียวคือ ตฤๅ (ตรี) อ่านว่า ตรี แปลว่า ปลา (มาจากภาษาเขมร ត្រី)[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ฉบับสืบค้นออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-02. สืบค้นเมื่อ 2009-06-05.