ข้ามไปเนื้อหา

ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้ พ.ศ. 2558–2559

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้ พ.ศ. 2558–2559
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัววันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ระบบสุดท้ายสลายตัววันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อวินสตัน
 • ลมแรงสูงสุด230 กม./ชม. (145 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด915 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
ความแปรปรวนทั้งหมด11
พายุดีเปรสชันทั้งหมด8
พายุไซโคลนเขตร้อน5
พายุไซโคลนกำลังแรง3
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด50 คน
ความเสียหายทั้งหมด≥ 1.005 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2015)
ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้
2556–57, 2557–58, 2558–59, 2559–60, 2560–61

ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้ พ.ศ. 2558–59 เป็นช่วงฤดูที่มีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนภายในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ถึงทางตะวันออกของเส้น 160°ตะวันออก ฤดูกาลอย่างเป็นทางการเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ไปจนถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2559 อย่างไรก็ตาม พายุหมุนเขตร้อนสามารถก่อตัวได้ตลอดเวลาในระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559 และจะถูกนับรวมไปเป็นส่วนหนึ่งของฤดูกาลด้วย ในตลอดฤดูกาลนี้ พายุหมุนเขตร้อนจะถูกตรวจสอบโดยศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค (RSMC) ในนาดี, ฟีจี และศูนย์เตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในบริสเบน, ออสเตรเลีย และ เวลลิงตัน, นิวซีแลนด์ นอกจากนั้นยังมี ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (JTWC) โดยกองทัพสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะออกคำเตือนอย่างไม่เป็นทางการเพื่อความสนใจของชาวอเมริกัน

RSMC นาดี จะออกการเตือนภัยโดยแนบหมายเลข และตัวอักษร F ต่อท้ายให้กับพื้นที่ความแปรปรวนของอากาศ แม้ว่าจะย้ายมาจากนอกแอ่งก็ตาม ในขณที่ JTWC จะให้รหัสเรียกขานกับพายุหมุนเขตร้อน และใช้ตัวอักษร P ต่อท้าย

RSMC นาดี, ศูนย์เตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในเวลลิงตัน, บริสเบน ทั้งหมดจะใช้มาตราความรุนแรงพายุหมุนเขตร้อนของออสเตรเลีย และใช้การประมาณการความเร็วลมในช่วงสิบนาที ขณะที่ JTWC ใช้การประมาณการลมใน 1 นาที และใช้มาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน (SSHWS)

ภาพรวมฤดูกาล

[แก้]
Tropical cyclone scales#Comparisons across basins

พายุ

[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 01F

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 29 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)

ในช่วงวันที่ 29 กรกฎาคม RSMC นาดี ได้รายงานว่าพื้นที่ความแปรปรวนของอากาศเขตร้อน 01F ได้ก่อตัวขึ้นใกล้กับทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของโฮนีอารา ในหมู่เกาะโซโลมอน ของกวาดัลคะแนล ที่ระยะ 920 km (570 mi)[1] ระบบได้เคลื่อนไปทางเหนือของแนวชั้นบนของแนวอากาศกึ่งเขตร้อนของบริเวณความกดอากาศสูง ในพื้นที่ของลมเฉือนแนวตั้งระดับปานกลาง[1] อีกสองวันถัดไป ระบบได้เคลื่อนไปอย่างช้าๆ ไปในแนวตะวันออก-ใต้ เข้าสู่พื้นที่ที่มีลมเฉือนแนวตั้งลดลง[2] และทำให้ระบบถูกจัดเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในวันที่ 1 สิงหาคม ต่อมาช่วงปลายของวันที่ 4 สิงหาคม ศูนย์บริการอุตุนิยมวิทยาฟีจี ได้ออกคำเตือนสุดท้ายของระบบและมีรายงานว่าระบบได้หยุดการพัฒนาลง

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 02F

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 12 – 17 ตุลาคม
ความรุนแรง 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1001 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.56 นิ้วปรอท)

การแปรปรวนของอากาศเขตร้อน 02F ถูกบันทึกครั้งแรกโดยศูนย์บริการอุตุนิยมวิทยาฟีจี เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ขณะที่ระบบอยู่ที่บริเวณทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของนาดี, ฟีจี ที่ระยะ 1,000 กม. (620 ไมล์)[3] ระบบพายุตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนา พร้อมกับลมเฉือนระดับต่ำถึงปานกลาง และวางอยู่ตามแนวระดับบนของความกดอากาศสูง[3][4]

พายุไซโคลนทูนี

[แก้]
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 23 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
991 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.26 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงอูลา

[แก้]
พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 4 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 26 ธันวาคม – 12 มกราคม
ความรุนแรง 185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
945 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.91 นิ้วปรอท)

การแปรปรวนของลมในเขตร้อน 06F

[แก้]
การแปรปรวนของลมในเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
ระยะเวลา 27 – 30 ธันวาคม
ความรุนแรง ไม่ทราบความเร็วลม
997 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.44 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 07F

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
ระยะเวลา 28 ธันวาคม – 1 มกราคม
ความรุนแรง ไม่ทราบความเร็วลม
995 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.38 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงวิคตอร์

[แก้]
พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 3 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 10 – 24 มกราคม
ความรุนแรง 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
960 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.35 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงวินสตัน

[แก้]
พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 5 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 7 – 25 กุมภาพันธ์
(ออกนอกแอ่งวันที่ 26 กพ.)
ความรุนแรง 230 กม./ชม. (145 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
915 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.02 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนยาโล

[แก้]
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 23 – 26 กุมภาพันธ์
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
993 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.32 นิ้วปรอท)

การแปรปรวนของลมในเขตร้อน 14F

[แก้]
การแปรปรวนของลมในเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
ระยะเวลา 1 – 5 เมษายน
ความรุนแรง ไม่ทราบความเร็วลม
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงเซนา

[แก้]
พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 3 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 4 – 7 เมษายน
ความรุนแรง 130 กม./ชม. (80 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
975 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.79 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงอามอส

[แก้]
พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 3 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 13 – 25 เมษายน
ความรุนแรง 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
965 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.5 นิ้วปรอท)

การแปรปรวนของลมในเขตร้อน 18F

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
ระยะเวลา 20 – 27 เมษายน
ความรุนแรง ไม่ทราบความเร็วลม
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)

พายุอื่น ๆ

[แก้]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนราเควล์

[แก้]
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 2 (เข้ามาในแอ่ง) – 4 กรกฎาคม (ออกนอกแอ่ง)
ความรุนแรง 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนราเควล์ได้เคลื่อนเข้ามาในแอ่งแปซิฟิกใต้ แต่เพราะว่าฤดูกาลปี พ.ศ. 2557-58 ได้สิ้นสุดลงในวันที่ 30 มิถุนายน ทำให้พายุลูกนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของฤดูกาล พ.ศ. 2558-59 แม้ว่าระบบจะเคลื่อนกลับเข้าสู่ภูมิภาคเดิมในฤดูกาลใหม่ RMSC นาดี ก็ยังคงรหัสเรียกขานว่า 17F เหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม ราเควล์ ได้เคลื่อนออกนอกแอ่งไปในช่วงแรกของวันที่ 4 กรกฎาคม

พายุไซโคลนทาเทียนา

[แก้]
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 12 (เข้ามาในแอ่ง) – 13 กุมภาพันธ์
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
983 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.03 นิ้วปรอท)

รายชื่อพายุ

[แก้]

ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ พายุดีเปรสชันเขตร้อน ซึ่งใช้เกณฑ์ว่าต้องมีความเร็วลมมากกว่า 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) และมันจะต้องมีพายุเกิดขึ้นอย่างน้อยครึ่งหนึ่งจากจุดศูนย์กลาง และพายุดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งเป็นความรุนแรงประเภทหนึ่งของพายุหมุนเขตร้อน ที่อยู่ระหว่างเส้นศูนย์สูตร ถึง 25°ใต้ และระหว่าง 160°ตะวันออก ถึง 120°ตะวันตก จะได้รับการตั้งชื่อโดย RSMC นาดี, ส่วนพายุดีเปรสชันเขตร้อนที่อยู่ทางใต้ของ 25°ใต้ และระหว่าง 160°ตะวันออก ถึง 120°ตะวันตก จะได้รับชื่อที่เชื่อมโยงกับ RSMC นาดี โดยศูนย์เตือนพายุหมุนเขตร้อนเวลลิงตัน หากพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนออกจากแอ่ง เข้าสู่ภูมิภาคออสเตรเลียหรือสลับกัน มันจะคงชื่อเดิมไว้[5]

  • ทูนี (Tuni)
  • อูลา (Ula)
  • วิคตอร์ (Victor)
  • วินสตัน (Winston)
  • ยาโล (Yalo)
  • เซนา (Zena) (ยังไม่ใช้)
  • อามอส (Amos) (ยังไม่ใช้)
  • บาร์ท (Bart) (ยังไม่ใช้)
  • โคลิน (Colin) (ยังไม่ใช้)
  • ดอนนา (Donna) (ยังไม่ใช้)

ผลกระทบ

[แก้]

ตารางนี้แสดงพายุทั้งหมดที่ก่อมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ถึงทางตะวันออกของเส้นเมอริเดียน 160°ตะวันออก ในฤดูกาล 2558-59 ซึ่งจะใช้มาตราความรุนแรงพายุหมุนเขตร้อนของออสเตรเลีย ซึ่งในตารางจะแสดงช่วงเวลา, ชื่อ, พื้นที่ผลกระทบ, ผู้เสียชีวิต, และความเสียหาย ซึ่งข้อมูลทั้งหมดมาจาก RSMC นาดี และ/หรือ ศูนย์เตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในเวลลิงตัน, และความเสียหายทั้งหมดใช้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ปี ค.ศ. 2015

ชื่อพายุ ช่วงวันที่ ระดับความรุนแรง
ขณะมีกำลังสูงสุด
ความเร็วลมต่อเนื่อง
(เฉลี่ย 10 นาที)
ความกดอากาศ พื้นที่ผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิต อ้างอิง
ราเควล์ 2 – 4 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) 998 hPa (29.47 นิ้วปรอท) หมู่เกาะโซโลมอน ไม่มี ไม่มี
01F 29 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
02F 12 – 17 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) 1001 hPa (29.56 นิ้วปรอท) ฟีจี ไม่มี ไม่มี
ทูนี 23 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) 991 hPa (29.26 นิ้วปรอท) ตูวาลู, วอลิสและฟูตูนา
หมู่เกาะซามัว, นีวเว
ไม่มี ไม่มี
04F 1 – 2 ธันวาคม พื้นที่ความแปรปรวน ไม่ได้ระบุ 1003 hPa (29.62 นิ้วปรอท) เฟรนช์พอลินีเชีย ไม่มี ไม่มี
อูลา 26 ธันวาคม – 12 มกราคม พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 4 185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) 945 hPa (27.91 นิ้วปรอท) ตูวาลู, หมู่เกาะซามัว, ตองกา
ฟีจี, วานูวาตู, นิวแคเลโดเนียน
ไม่มี 1
06F 27 – 30 ธันวาคม พื้นที่ความแปรปรวน ไม่ได้ระบุ 997 hPa (29.44 นิ้วปรอท) วอลิสและฟูตูนา ไม่มี ไม่มี
07F 28 ธันวาคม – 1 มกราคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 995 hPa (29.38 นิ้วปรอท) หมู่เกาะโซโลมอน, ตูวาล, ฟีจี ไม่มี 3 [6]
วิคตอร์ 10 – 24 มกราคม พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 3 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) 960 hPa (28.35 นิ้วปรอท) หมู่เกาะนอร์ทเทิร์นคุก, นีอัว, หมู่เกาะคุกใต้, ตองกา ไม่มี ไม่มี
วินสตัน 7 กุมภาพันธ์ – ปัจจุบัน พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 4 165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) 950 hPa (28.05 นิ้วปรอท) วานูวาตู ไม่มี ไม่มี
ทาเทียนา 12 กุมภาพันธ์ – ปัจจุบัน พายุไซโคลนระดับ 2 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) 983 hPa (29.03 นิ้วปรอท) ไม่มี ไม่มี ไม่มี
สรุปฤดูกาล
10 ลูก 29 กรกฎาคม – ปัจจุบัน   185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) 945 hPa (27.91 นิ้วปรอท)   ไม่ทราบ 4 คน


ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 RSMC Nadi — Tropical Cyclone Centre (July 29, 2015). "Tropical Disturbance Summary July 29, 2015 21z". Fiji Meteorological Service. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-30. สืบค้นเมื่อ July 31, 2015.
  2. RSMC Nadi — Tropical Cyclone Centre (July 31, 2015). "Tropical Disturbance Summary July 31, 2015 09z". Fiji Meteorological Service. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-31. สืบค้นเมื่อ July 31, 2015.
  3. 3.0 3.1 RSMC Nadi — Tropical Cyclone Centre (October 12, 2015). "Tropical Disturbance Summary October 12, 2015 21z". Fiji Meteorological Service. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-14. สืบค้นเมื่อ October 18, 2015.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-13. สืบค้นเมื่อ 2015-10-13.
  5. RA V Tropical Cyclone Committee (December 12, 2012). Tropical Cyclone Operational Plan for the South-East Indian Ocean and the Southern Pacific Ocean 2012 (PDF) (Report). World Meteorological Organization. สืบค้นเมื่อ December 14, 2012.
  6. http://www.pacificdisaster.net/pdnadmin/data/original/FJI_TC_Ula_NEOC_SitRep_12.pdf

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]