ราชวงศ์เกาฑิณยะ
ภาษาเขมร: រាជត្រកូលកៅណ្ឌិន្យ | |
พระราชอิสริยยศ | พระมหากษัตริย์แห่งฟูนัน |
---|---|
ปกครอง | อาณาจักรฟูนัน |
บรรพบุรุษ | พราหมณ์เกาฑิณยะ |
สาขา | หริหระ ไวษณพนิกาย |
เชื้อพระวงศ์ที่สำคัญ | พระเจ้าเกาฑิณยะที่ 1 พระเจ้าเกาฑิณยะที่ 2 พระเจ้าเกาฑิณยะที่ 3 |
ประมุขพระองค์แรก | พระเจ้าเกาฑิณยะ |
ประมุขพระองค์สุดท้าย | พระเจ้านฤปตินทรวรมัน |
สถาปนา | ค.ศ. 802 |
ล่มสลาย | ค.ศ. 1113 |
เชื้อชาติ | ฟูนัน |
ราชวงศ์เกาฑิณยะ (เขมร: រាជត្រកូលកៅណ្ឌិន្យ, อักษรโรมัน: Kaundinya Dynasty; เรียจฺตระกูลเกาฑิณยะ) หรือ ราชวงศ์เกาฑิณยะ-จันทรวงศ์[1] สถาปนาโดย พระเจ้าเกาฑิณยะ พระมหากษัตริย์แห่งเจนละตามหลักฐานพบว่าต้นวงศ์ของพระองค์ทรงสืบสายราชวงศ์มาจาก พราหมณ์เกาฑิณยะ และ พระนางโสมา[2] ทรงร่วมกันก่อตั้งราชวงศ์เกาฑิณยะ-จันทรวงศ์ของกัมพูชา ในราวคริสตศตวรรษที่ 1 พราหมณ์เกาฑิณยะเป็นบรรพบุรุษของชาวฟูนันมีต้นกำเนิดในอินเดียตอนใต้[3]
ราชวงศ์นี้ได้ปกครองอาณาจักรฟูนัน โดยเฉพาะช่วงการครองราชย์ของพระเจ้าเกาฑิณยะชัยวรมันที่ 3 แห่งราชวงศ์เกาฑิณยะ-จันทรวงศ์ พระองค์สามารถขยายดินแดน นำไปสู่การเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดของอาณาจักรฟูนัน[4] ต่อมามีการขยายดินแดนของอาณาจักรเจนละเข้าไปครอบคลุมจรดดินแดนของฟูนันเดิมทั้งหมด โดยการโจมตีของราชวงศ์กัมโพชแห่งเจนละ เป็นสาเหตุการล่มสลายของอาณาจักรฟูนัน ทำให้เกิดการรวมกันของอาณาจักรเจนละและอาณาจักรฟูนัน จนกระทั่งอาณาจักรเจนละได้แตกออกเป็นสองอาณาจักรคือเจนละน้ำปกครองโดยราชวงศ์เกาฑิณยะ-จันทรวงศ์ และเจนละบกปกครองโดยราชวงศ์กัมโพช-สุริยวงศ์ ต่อมาราชวงศ์เกาฑิณยะได้ล่มสลายลงเมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 เชื้อพระวงศ์พระองค์หนึ่งของราชวงศ์กัมโพช-สุริยวงศ์ ทรงแย่งชิงราชสมบัติจากพระเจ้านฤปตินทรวรมัน
ปกครอง | พระนาม | ครองราชสมบัติ | นคร/ราชสกุล | เหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย |
---|---|---|---|---|
อาณาจักรฟูนัน | พระเจ้าเกาฑิณยะวรมันเทวะ | คริสต์ศตวรรษที่ 1 | ไพรนคร | |
อาณาจักรฟูนัน | พระเจ้าเกาฑิณยะที่ 2 | ราว ค.ศ. 420 | วยาธปุระ | |
อาณาจักรฟูนัน | พระเจ้าศรินทรวรมัน | ค.ศ. 430 – 440 | วยาธปุระ | |
อาณาจักรฟูนัน | พระเจ้าเกาฑิณยะชัยวรมัน | ค.ศ. 484 – 514 | วยาธปุระ | |
อาณาจักรฟูนัน | พระเจ้ารุทรวรมัน | ค.ศ. 514 – 540 | วยาธปุระ | กษัตริย์ฟูนันพระองค์สุดท้าย |
อาณาจักรฟูนัน | พระนางกุลประภาวดี | ค.ศ. 514 – 517 | วยาธปุระ | อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ ค.ศ. 540 - 550 |
อาณาจักรฟูนัน | พระเจ้าปวีรักษ์วรมัน | ค.ศ. 550 – 600 | วยาธปุระ | |
อาณาจักรฟูนัน | พระเจ้ามเหนทรชัยวรมัน | ค.ศ. 600 – 615 | วยาธปุระ | |
อาณาจักรฟูนัน | พระเจ้านเรนทรวรมัน | ค.ศ. 615 – 627 | วยาธปุระ | |
จักรวรรดิเขมร | พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 | ค.ศ. 802 – 835 | หริหราลัย | ปฐมกษัตริย์แห่งจักรวรรดิเขมร |
จักรวรรดิเขมร | พระเจ้าชัยวรมันที่ 3 | ค.ศ. 835 – 877 | หริหราลัย | |
จักรวรรดิเขมร | พระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 | ค.ศ. 877 – 889 | หริหราลัย | |
จักรวรรดิเขมร | พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 | ค.ศ. 889 – 910 | ยโศธรปุระ | สถาปนาเมืองยโศธรปุระ |
จักรวรรดิเขมร | พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 | ค.ศ. 910 – 923 | ยโศธรปุระ | |
จักรวรรดิเขมร | พระเจ้าอิศานวรมันที่ 2 | ค.ศ. 923 – 928 | ยโศธรปุระ | |
จักรวรรดิเขมร | พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 | ค.ศ. 928 – 941 | เกาะแกร์ | |
จักรวรรดิเขมร | พระเจ้าหรรษวรมันที่ 2 | ค.ศ 941 – 944 | เกาะแกร์ | |
จักรวรรดิเขมร | พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 | ค.ศ. 944 – 968 | ยโศธรปุระ | |
จักรวรรดิเขมร | พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 | ค.ศ. 968 – 1001 | ยโศธรปุระ | |
จักรวรรดิเขมร | พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 1 | ค.ศ. 1001 – 1002 | ยโศธรปุระ | |
จักรวรรดิเขมร | พระเจ้าชยวีรวรมัน | ค.ศ. 1002 – 1010 | ยโศธรปุระ | ถูกราชวงศ์ไศเลนทร์แย่งชิงราชสมบัติ |
จักรวรรดิเขมร | พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 | ค.ศ. 1050 – 1066 | ยโศธรปุระ | |
จักรวรรดิเขมร | พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3 | ค.ศ. 1066 – 1080 | ยโศธรปุระ | |
จักรวรรดิเขมร | พระเจ้านฤปตินทรวรมัน | ค.ศ. 1080 – 1113 | ยโศธรปุระ | ถูกราชสกุลมหิธรปุระแย่งชิงราชสมบัติ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Louis-Frédéric (1977) Encyclopaedia of Asian Civilizations, Louis Publisher: Original from the University of Michigan Volume 3 of Encyclopaedia of Asian Louis-Frédéric
- ↑ Rüdiger Gaudes (1993). Kauṇḍinya, Preah Thaong, and the "Nāgī Somā": Some Aspects of a Cambodian Legend Asian Folklore Studies, 52(2):333-358.
- ↑ Sailendra Nath Sen (1999). Ancient Indian History and Civilization. ISBN 9788122411980. สืบค้นเมื่อ January 14, 2018.
- ↑ Claude Jacques, “'Funan', 'Zhenla'. The reality concealed by these Chinese views of Indochina”, in R. B. Smith and W. Watson (eds.), Early South East Asia: Essays in Archaeology, History, and Historical Geography, New York, Oxford University Press, 1979, pp. 371–9, p. 373.
- ↑ Kenneth T. So. "Preah Khan Reach and The Genealogy of Khmer Kings" (PDF). Cambosastra. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-07-08. สืบค้นเมื่อ March 2, 2017.