ราชวงศ์กัมโพช
ภาษาเขมร: រាជត្រកូលកម្ពុ | |
พระราชอิสริยยศ | พระมหากษัตริย์แห่งเจนละ |
---|---|
ปกครอง | อาณาจักรเจนละ |
บรรพบุรุษ | พราหมณ์กัมพูสวยัมภูวะ |
สาขา | ไศวนิกาย |
เชื้อพระวงศ์ที่สำคัญ | พระเจ้าศรุตวรมัน พระเจ้าภววรมันที่ 1 |
ประมุขพระองค์แรก | พระเจ้าศรุตวรมัน |
ประมุขพระองค์สุดท้าย | พระเจ้ามหิปติวรมัน |
สถาปนา | ค.ศ. 550 |
ล่มสลาย | ค.ศ. 802 |
เชื้อชาติ | เจนละ |
ราชวงศ์กัมโพช (เขมร: រាជត្រកូលកម្ពុ, อักษรโรมัน: Kamboja Dynasty; เรียจฺตระกูลกัมโพช) หรือราชวงศ์กัมโพช-สุริยวงศ์[1] สถาปนาโดย พระเจ้าศรุตวรมัน พระมหากษัตริย์แห่งเจนละตามหลักฐานพบว่าต้นวงศ์ของพระองค์ทรงสืบสายราชวงศ์มาจาก พราหมณ์กัมพูสวยัมภูวะ และ พระนางอัปสรเมรา ทรงร่วมกันก่อตั้งราชวงศ์กัมโพช-สุริยวงศ์ของกัมพูชา ในราวคริสตศตวรรษที่ 1 พราหมณ์กัมพูสวยัมภูวะเป็นบรรพบุรุษของชาวกัมพุชเทศมีต้นกำเนิดในอินเดียตอนใต้[2]
ต่อมาราชวงศ์นี้ได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของ อาณาจักรฟูนัน ช่วงการครองราชย์ของพระเจ้าภววรมันที่ 1 และ พระเจ้ามเหนทรวรมัน ราชวงศ์กัมโพช-สุริยะวงศ์มีความเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดโดยพระองค์สามารถขยายดินแดนของเจนละเข้าไปในดินแดนของฟูนันนำไปสู่การล่มสลายของอาณาจักรฟูนัน[3] และขยายอาณาจักรเจนละครอบคลุมจรดดินแดนของฟูนันเดิมทั้งหมด จากการโจมตีของ ราชวงศ์โจฬะแห่งชวา ทำให้อาณาจักรเจนละแตกออกเป็นสองอาณาจักรคือเจนละบกปกครองโดยราชวงศ์กัมโพช-สุริยวงศ์ และเจนละน้ำปกครองโดยราชวงศ์เกาฑิณยะ-จันทรวงศ์ ราชวงศ์กัมโพชล่มสลายลงเมื่อพระเจ้ามหิปติวรมันถูกพระเจ้าสัญชัยกษัตริย์แห่งชวาตัดพระเศียร ต่อมา พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เชื้อพระวงศ์พระองค์หนึ่งของราชวงศ์เกาฑิณยะ - จันทรวงศ์ ทรงรวบรวมดินแดนขึ้นใหม่ในนามจักรวรรดิเขมรและประกาศเอกราชจากชวาสำเร็จ
ปกครอง | พระนาม | ครองราชสมบัติ | นคร/ราชสกุล | เหตุการณ์สำคัญในรัชสมัย |
---|---|---|---|---|
อาณาจักรเจนละ | พระเจ้าศรุตวรมัน | ค.ศ. 435 - 495 | เศรษฐปุระ | |
อาณาจักรเจนละ | พระเจ้าเศรษฐวรมัน | ค.ศ. 495 - 530 | เศรษฐปุระ | |
อาณาจักรเจนละ | พระนางกัมพุชราชลักษมี | ค.ศ. 575 – 580 | เศรษฐปุระ | |
อาณาจักรเจนละ | พระเจ้าภววรมันที่ 1 | ค.ศ. 550 - 600 | ภวปุระ | ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรเจนละ |
อาณาจักรเจนละ | พระเจ้ามเหนทรวรมัน | ค.ศ 600 - 616 | ภวปุระ | |
อาณาจักรเจนละ | พระเจ้าอิศานวรมันที่ 1 | ค.ศ. 616 - 635 | อิศานปุระ | |
อาณาจักรเจนละ | พระเจ้าภววรมันที่ 2 | ค.ศ. 639 - 657 | อิศานปุระ | |
อาณาจักรเจนละ | พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 | ค.ศ. 657 - 690 | อิศานปุระ | |
อาณาจักรเจนละ | พระนางเจ้าชัยเทวี | ค.ศ. 690 - 713 | อิศานปุระ | |
อาณาจักรเจนละ | พระเจ้าสัมภูวรมันที่ 1 | ค.ศ. 713 – 716 | สัมภูปุระ | |
อาณาจักรเจนละ | พระเจ้าบุษกรักษา | ค.ศ. 716 – 730 | อนินทิตปุระ | |
อาณาจักรเจนละ | พระเจ้าสัมภูวรมันที่ 2 | ค.ศ. 730 – 760 | อนินทิตปุระ | |
อาณาจักรเจนละ | พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 1 | ค.ศ. 760 – 780 | อนินทิตปุระ | |
อาณาจักรเจนละ | พระเจ้ามหิปติวรมัน | ค.ศ. 780–788 | อนินทิตปุระ | อาณาจักรชวาครองอาณาจักรเจนละ |
จักรวรรดิเขมร | พระเจ้าชัยวรรมันที่ 6 | ค.ศ 1090 – 1107 | มหิธรปุระ | ปฐมกษัตริย์แห่งราชสกุลมหิธรปุระ |
จักรวรรดิเขมร | พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1 | ค.ศ. 1107 – 1113 | มหิธรปุระ | |
จักรวรรดิเขมร | พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 | ค.ศ. 1113 – 1145 | มหิธรปุระ | |
จักรวรรดิเขมร | พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2 | ค.ศ. 1150 – 1160 | มหิธรปุระ | |
จักรวรรดิเขมร | พระเจ้ายโศวรมันที่ 2 | ค.ศ. 1160 – 1165 | มหิธรปุระ | พระองค์ถูกขุนนางชาวจีนยึดอำนาจ |
จักรวรรดิเขมร | พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 | ค.ศ. 1181 – 1218 | มหิธรปุระ | สถาปนานครธมเป็นเมืองหลวง |
จักรวรรดิเขมร | พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 | ค.ศ. 1219 – 1243 | มหิธรปุระ | |
จักรวรรดิเขมร | พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 | ค.ศ.1243 – 1295 | มหิธรปุระ | |
จักรวรรดิเขมร | พระเจ้าอินทรวรมันที่ 3 | ค.ศ. 1295 – 1308 | มหิธรปุระ | |
จักรวรรดิเขมร | พระเจ้าอินทรชัยวรมัน | ค.ศ. 1308 – 1327 | มหิธรปุระ | |
จักรวรรดิเขมร | พระเจ้าชัยวรมันที่ 9 | ค.ศ. 1327 – 1336 | มหิธรปุระ | สิ้นสุดการปกครองโดยราชสกุลมหิธรปุระ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Louis-Frédéric (1977) Encyclopaedia of Asian Civilizations, Louis Publisher: Original from the University of Michigan Volume 3 of Encyclopaedia of Asian Louis-Frédéric
- ↑ Sailendra Nath Sen (1999). Ancient Indian History and Civilization. ISBN 9788122411980. สืบค้นเมื่อ January 14, 2018.
- ↑ Claude Jacques, “'Funan', 'Zhenla'. The reality concealed by these Chinese views of Indochina”, in R. B. Smith and W. Watson (eds.), Early South East Asia: Essays in Archaeology, History, and Historical Geography, New York, Oxford University Press, 1979, pp. 371–9, p. 373.
- ↑ Kenneth T. So. "Preah Khan Reach and The Genealogy of Khmer Kings" (PDF). Cambosastra. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-07-08. สืบค้นเมื่อ March 2, 2017.