รัฐบาลเฟล็นส์บวร์ค
คณะรัฐมนตรีของลุทซ์ กรัฟ ชเวรีน ฟอน โครซิค รัฐบาลเฟล็นส์บวร์ค | |
---|---|
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 3 แห่งนาซีเยอรมนี | |
2 พฤษภาคม 1945 – 23 พฤษภาคม 1945 (โดยพฤตินัยถึงวันที่ 5 มิถุนายน 1945) | |
ลุทซ์ กรัฟ ชเวรีน ฟอน โครซิค | |
วันแต่งตั้ง | 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 |
วันสิ้นสุด | 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 (โดยพฤตินัย) 5 มิถุนายน ค.ศ. 1945 (โดยนิตินัย) |
บุคคลและองค์กร | |
ประธานาธิบดี | คาร์ล เดอนิทซ์ |
นายกรัฐมนตรี | ลุทซ์ กราฟ ชเวรีน ฟ็อน โครซิค |
จำนวนรัฐมนตรี | 10 |
พรรคร่วมรัฐบาล | พรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน |
ประวัติ | |
ก่อนหน้า | คณะรัฐมนตรีเกิบเบิลส์ |
ถัดไป | สภาควบคุมฝ่ายสัมพันธมิตร คณะรัฐมนตรีอาเดอเนาเออร์ 1 (ตั้งแต่ 20 กันยายน 1949) สภารัฐมนตรีเยอรมนีตะวันออก (ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 1950) |
รัฐบาลเฟล็นส์บวร์ค (เยอรมัน: Flensburger Regierung) หรือเป็นที่รู้จักกันคือ คณะรัฐมนตรีเฟล็นส์บวร์ค (Flensburger Kabinett) รัฐบาลเดอนิทซ์ (Regierung Dönitz) หรือ คณะรัฐมนตรีชเวรีน ฟอน โครซิค (Kabinett Schwerin von Krosigk) เป็นรัฐบาลที่มีอายุสั้นของนาซีเยอรมนี ในช่วงระยะเวลาสามสัปดาห์ของช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป รัฐบาลได้ถูกก่อตั้งขึ้นภายหลังจากฟือเรอร์อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้กระทำอัตวินิบาตกรรมเมื่อวันที่ 30 เมษายนในระหว่างยุทธการเบอร์ลิน รัฐบาลนี้อยู่ภายใต้การนำโดยจอมพลเรือคาร์ล เดอนิทซ์ซึ่งเป็นประธานาธิบดีแห่งไรซ์ และลุทซ์ กรัฟ ชเวรีน ฟอน โครซิค เป็นผู้นำคณะรัฐมนตรี
จอมพลเรือ เดอนิทซ์ย้ายที่ทำการรัฐบาลจากกรุงเบอร์ลินไปยังเฟล็นส์บวร์ค ใกล้กับชายแดนเยอรมนี-เดนมาร์ก เป้าหมายของรัฐบาลเฟล็นส์บวร์คก็คือ การยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขต่อกองทัพสัมพันธมิตรที่รุกมาทางตะวันตก มิใช่กับกองทัพโซเวียตผู้รุกรานมาทางทิศตะวันออก คณะรัฐบาลเฟล็นส์บวร์คสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 1945 และคณะรัฐมนตรีทั้งหมดถูกจับกุมตัวโดยกองทัพสัมพันธมิตรเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 1945
รายนามคณะรัฐมนตรี
[แก้]คณะรัฐมนตรีของ คาร์ล เดอนิทซ์ 2 พฤษภาคม 1945 – 23 พฤษภาคม 1945 | ||
---|---|---|
ตำแหน่ง | ผู้ดำรงตำแหน่ง | พรรค |
นายกรัฐมนตรีเยอรมนี | ลุทซ์ กรัฟ ชเวรีน ฟอน โครซิจค์ | พรรคนาซี |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | ลุทซ์ กรัฟ ชเวรีน ฟอน โครซิจค์ | พรรคนาซี |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาตไทย | วิลเฮล์ม ชตุคอาร์ท | พรรคนาซี |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | Otto Georg Thierack | พรรคนาซี |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง | ลุทซ์ กรัฟ ชเวรีน ฟอน โครซิจค์ | พรรคนาซี |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเศรษฐกิจ | อัลแบร์ท ชเปียร์ | พรรคนาซี |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาหาร | แฮร์แบร์ท บัคเคอ | พรรคนาซี |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน | ฟรานซ์ เชลตท์ | พรรคนาซี |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสงคราม | ประธานาธิบดี คาร์ล เดอนิทซ์ (เป็นผู้บัญชาการกองทัพเวร์มัคท์ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 1945)[1] | พรรคนาซี[2] |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกระทรวงคมนาคม | ยูไลอัส ดอร์พมึลเลอร์ | พรรคนาซี |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไปรษณีย์ | ยูไลอัส ดอร์พมึลเลอร์ | พรรคนาซี |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการผลิต | อัลแบร์ท ชเปียร์ | พรรคนาซี |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Biography on dhm.de (เยอรมัน)
- ↑ "On 30 January 1944, Dönitz received from the Führer, as a decoration, the Golden Party Badge; Dönitz would later assume that he "thereby became an honorary member of the Party." The Avalon Project at Yale Law School เก็บถาวร 2015-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. According with German laws, it was forbidden for professional officers to join political parties, even after พรรคนาซี took power. For that reason, Adolf Hitler and other Nazi leaders distrusted the Army.