อัลแบร์ท ชแปร์
อัลแบร์ท ชแปร์ | |
---|---|
Albert Speer | |
ชแปร์ในปี ค.ศ. 1933 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุทธภัณฑ์ และผลิตกรรมสงคราม | |
ดำรงตำแหน่ง 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 | |
ประธานาธิบดี | |
หัวหน้ารัฐบาล |
|
ก่อนหน้า | ฟริทซ์ ท็อท |
ถัดไป | คาร์ล เซาเออร์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | แบร์ท็อลท์ ค็อนราท แฮร์มัน อัลแบร์ท ชแปร์ 19 มีนาคม ค.ศ. 1905 มันไฮม์ บาเดิน เยอรมนี |
เสียชีวิต | กันยายน 1, 1981 ลอนดอน สหราชอาณาจักร | (76 ปี)
เชื้อชาติ | เยอรมนี |
พรรคการเมือง | พรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน |
คู่สมรส | มาร์กาเรเทอ เวเบอร์ (ค.ศ. 1928–1981, ชแปร์เสียชีวิต) |
บุตร |
|
ศิษย์เก่า | |
วิชาชีพ | สถาปนิก, เจ้าหน้าที่รัฐบาล, นักเขียน |
ลายมือชื่อ | |
แบร์ท็อลท์ ค็อนราท แฮร์มัน อัลแบร์ท ชแปร์ (เยอรมัน: Berthold Konrad Hermann Albert Speer; 19 มีนาคม ค.ศ. 1905 – 1 กันยายน ค.ศ. 1981) เป็นสถาปนิกชาวเยอรมัน เป็นหัวหน้าสถาปนิกของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ก่อนได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุทธภัณฑ์และผลิตกรรมสงครามของนาซีเยอรมนี ชแปร์ยอมรับผิดในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค ทำให้ได้รับฉายา "นาซีผู้กล่าวคำขอโทษ" (the Nazi who said sorry)[1] อย่างไรก็ตาม ชแปร์กล่าวอ้างว่าไม่รู้เห็นเกี่ยวกับฮอโลคอสต์ แม้ภายหลังจะมีหลักฐานแน่ชัดว่าเขาทราบเรื่องนี้จากจดหมายส่วนตัวที่เขียนในปี ค.ศ. 1971 และเผยแพร่สู่สาธารณะในปี ค.ศ. 2007[2]
ชแปร์เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1905 ที่เมืองมันไฮม์ เป็นบุตรคนที่สองจากทั้งหมดสามคนของอัลแบร์ท ฟรีดริช ชแปร์ และลูอีเซอ มาทิลเดอ วิลเฮ็ลมีเนอ (นามสกุลเดิม ฮ็อมเมิล)[3] เดิมชแปร์อยากเป็นนักคณิตศาสตร์ แต่ต่อมาเปลี่ยนมาเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์ตามบิดาและปู่[4] โดยเข้าเรียนที่สถาบันเทคโนโลยีคาลส์รูเออ ก่อนจะย้ายไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเทคนิคมิวนิกและย้ายไปเรียนอีกครั้งที่มหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งเบอร์ลิน หลังจากนั้นเขาทำงานเป็นผู้ช่วยของไฮน์ริช เท็สเซอโน[5] ในปี ค.ศ. 1928 ชแปร์แต่งงานกับมาร์กาเรเทอ เวเบอร์
ชแปร์เข้าร่วมพรรคนาซีในปี ค.ศ. 1931 ความสามารถด้านสถาปัตยกรรมของชแปร์ทำให้เขาเป็นที่รู้จักและเป็นส่วนหนึ่งของคนใกล้ตัวฮิตเลอร์ ชแปร์มีส่วนในการออกแบบและสร้างทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์ ลานที่ใช้จัดการชุมนุมที่เนือร์นแบร์ค นอกจากนี้ชแปร์ยังรับผิดชอบแผนสร้างเบอร์ลินใหม่ของฮิตเลอร์ ในปี ค.ศ. 1942 ฮิตเลอร์แต่งตั้งให้ชแปร์เป็นรัฐมนตรีกระทรวงสรรพาวุธ ระหว่างปี ค.ศ. 1942–1944 การผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ของฝ่ายเยอรมันภายใต้การทำงานของชแปร์เพิ่มขึ้นอย่างมาก[6]
หลังสงครามสิ้นสุด ชแปร์ถูกนำตัวขึ้นพิจารณาคดีและได้รับโทษจำคุก 20 ปีในข้อหาบังคับใช้แรงงาน ชแปร์ถูกคุมขังที่เรือนจำชปันเดาในเบอร์ลินตะวันตกและได้รับการปล่อยตัวในปี ค.ศ. 1966 หลังพ้นโทษ ชแปร์ออกผลงานอัตชีวประวัติคือ Inside the Third Reich และ Spandau: The Secret Diaries ที่เล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างเขากับฮิตเลอร์ ชแปร์เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1981 ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ‘The Nazi who said sorry’: Behind the shadow known as ‘Hitler’s Architect’ and right-hand man - National Post
- ↑ Connolly 2007.
- ↑ Schubert 2006, p. 5.
- ↑ Fest 1999, pp. 11–13.
- ↑ van der Vat 1997, pp. 34–36.
- ↑ "Was armament minister Albert Speer really responsible for the German "armament miracle" during World War II? New doubts arising from the annual audits of the German aircraft producers - Jonas Scherner and Jochen Streb" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-03-29. สืบค้นเมื่อ 2016-09-18.
- ↑ ALBERT SPEER DIES AT 76; CLOSE ASSOCIATE OF HITLER - The New York Times
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อัลแบร์ท ชแปร์
- วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ อัลแบร์ท ชแปร์
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2448
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2524
- อัลแบร์ท ชแปร์
- บุคคลจากมันไฮม์
- ผู้นำนาซี
- สถาปนิกชาวเยอรมัน
- นักเขียนชาวเยอรมัน
- เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง
- อาชญากรสงครามชาวเยอรมัน
- ศิษย์เก่าจากสถาบันเทคโนโลยีคาลส์รูเออ
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยเทคนิคมิวนิก
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยเทคนิคเบอร์ลิน
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์