ข้ามไปเนื้อหา

รัฐบาลฟร็องซัว บายรู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐบาลฟร็องซัว บายรู

คณะรัฐมนตรีคณะที่ 46 แห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
ธันวาคม ค.ศ. 2024 - ปัจจุบัน
บายรูในปี ค.ศ. 2010
วันแต่งตั้ง23 ธันวาคม ค.ศ. 2024
(0 ปี 5 วัน)
บุคคลและองค์กร
ประธานาธิบดีแอมานุแอล มาครง
นายกรัฐมนตรี[a]ฟร็องซัว บายรู
รัฐมนตรีแห่งรัฐ[b]
จำนวนรัฐมนตรี35
พรรคร่วมรัฐบาล
สถานะในสภานิติบัญญัติรัฐบาลเสียงข้างน้อย
210 / 577 (36%)
ประวัติ
สภานิติบัญญัติสภานิติบัญญัติฝรั่งเศส ชุดที่ 17
ก่อนหน้ารัฐบาลมีแชล บาร์เนียร์

รัฐบาลฟร็องซัว บายรู (ฝรั่งเศส: Gouvernement François Bayrou; 23 ธันวาคม ค.ศ. 2024 – ปัจจุบัน) เป็นคณะรัฐบาลฝรั่งเศส คณะที่ 46 ซึ่งจัดตั้งภายหลังแอมานุแอล มาครง ประธานาธิบดี ได้แต่งตั้งฟร็องซัว บายรู นายกเทศมนตรีเมืองโปและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 2024[1]

ก่อนหน้านั้น สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (โดยเฉพาะสมาชิกจากพรรคชุมนุมแห่งชาติและจากพันธมิตรฝ่ายซ้าย แนวร่วมประชาชนใหม่) ได้ลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลของมีแชล บาร์เนียร์ ทำให้เขาถูกขับออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและส่งผลให้รัฐบาลสิ้นสุด จึงต้องให้มีประธานาธิบดีประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่และจัดตั้งคณะรัฐบาลใหม่ทั้งหมด

ฟร็องซัว บายรูเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 4 ที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลของฝรั่งเศสภายในปีเดียว ซึ่งเป็นมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสาธารณรัฐที่ 5

เบื้องหลัง

[แก้]

หลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติของฝรั่งเศส ค.ศ. 2024 สิ้นสุดลง กาบรีแยล อาตาล นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากการชัยชนะที่นั่งของพันธมิตรฝ่ายซ้าย แนวร่วมประชาชนใหม่ และพรรคชุมนุมแห่งชาติทางฝ่ายขวาจัด[2][3] ซึ่งตอนแรกมีการปฎิเสธจากประธานาธิบดี แอมานุแอล มาครง แต่ต่อมามีผลยอมรับการลาออกในวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 2024

เมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 2024 ชื่อของมีแชล บาร์เนียร์ อดีตผู้เจรจาของคณะกรรมาธิการยุโรปเพื่อการออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักรและอดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวงจากพรรคเลเรปูว์บลีแก็งได้ถูกเผยและเสนอมา[4] แล้วในวันรุ่งขึ้น แอมานุแอล มาครงก็แต่งตั้งบาร์เนียร์เป็นนายกรัฐมนตรี[5]

ต่อมา เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 2024 บาร์เนียร์ได้ใช้อำนาจมาตรา 49 วรรค 3 ของรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสเพื่อรับรองและรับผิดชอบ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล งบประมาณประกันสังคมสำหรับปี ค.ศ. 2025 โดยไม่มีการลงมติจากสมัชชาแห่งชาติ[6] กระตุ้นให้ทั้งพันธมิตรแนวร่วมประชาชนใหม่และสมาชิกพรรคชุมนุมแห่งชาติยื่นญัตติไม่ไว้วางใจรัฐบาลของเขา[7] ในที่สุด เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 2024 หลังจากดำรงตำแหน่งได้สามเดือนเท่านั้น รัฐบาลของมีแชล บาร์เนียร์ถูกล่มสายจากการลงมติไม่ไว้วางใจของสมาชิกสมัชชาแห่งชาติด้วยคะแนนเสียง 331-244 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทุกพรรคจากพันธมิตร แนวร่วมประชาชนใหม่ (ลาฟร็องแซ็งซูมีซ พรรคสังคมนิยม นักนิเวศนิยม พรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส) และสมาชิกจากพรรคชุมนุมแห่งชาติและพรรคสหภาพขวาเพื่อสาธารณรัฐ

รัฐบาลบาร์เนียร์เป็นรัฐบาลแรกที่แพ้การลงมติไม่ไว้วางใจนับตั้งแต่รัฐบาลชุดที่ 1 ของฌอร์ฌ ปงปีดูในปี ค.ศ. 1962

จากนั้นก็มีการกระแสข่าวว่าประธานาธิบดีมาครงจะเลือกแต่งตั้งใครให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ซึ่งในร่วมบุคคลคนนั้นมีชื่อของฟร็องซัว บายรู ซึ่งได้มีการปฎิเสธจากมาครงในวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 2024 แต่ในเช้าวันรุ่งขึ้น บายรูก็เข้าพบกับมาครงอีกครั้งหนึ่งและได้ถูกแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในที่สุด[8][9] หลังจากมีการเจรจาที่ดุเดือนและยาวนาน ด้วยมาครงกลัวว่าจะมีแตกต่างกับพรรคขบวนการประชาธิปไตย ซึ่งผู้ก่อตั้งเป็นบายรูนั้นเอง จึงทำให้เขากลายเป็นนายกรัฐมนตรี

ประวัติ

[แก้]

การแต่งตั้งคณะรัฐบาล

[แก้]

ในวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 2024 ได้มีการประกาศคณะรัฐมนตรีชุดใหม่โดยอเล็กซี โกห์แลร์ เลขาธิการทำเนียบประธานาธิบดี[10]

คณะรัฐบาลชุดนี้มีความประหลาดใจ[11] เนื่องจากมี 2 อดีตนายกรัฐมนตรีได้ถูกแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ในด้านหนึ่ง เอลีซาแบ็ต บอร์น อดีตนายกรัฐมนตรีระหว่างปี ค.ศ. 2022–2024 ที่ถูกแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แล้วในอีกด้านหนึ่ง มานุแอล วาลส์ อดีตนายกรัฐมนตรีภายใต้การนำของฟร็องซัว ออล็องด์ ที่ถูกแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโพ้นทะเล อีกหนึ่งบุคคลก็เป็นเฌราลด์ ดาร์มานัง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กลับมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีด้วยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. ชื่อเต็มของตำแหน่งเป็น "นายกรัฐมนตรีรับผิดชอบด้านการวางแผนนิเวศวิทยาและพลังงาน" (Premier ministre, chargé de la Planification écologique et énergétique)
  2. ประเทศฝรั่งเศสใช้ตำแหน่ง "รัฐมนตรีแห่งรัฐ" เพื่อรัฐมนตรีที่ความโดดเด่นในพิธีการในรัฐบาล นำหน้ารัฐมนตรี และมีสิทธิพิเศษในการจัดการประชุมระหว่างกระทรวงเช่นเดียวกับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Le Président de la République a nommé M. François Bayrou Premier ministre, et l'a chargé de former un Gouvernement" [ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแต่งตั้งนายฟร็องซัว บายรู เป็นนายกรัฐมนตรี และมอบหมายให้เขาจัดตั้งรัฐบาล]. elysee.fr (ภาษาฝรั่งเศส). 2024-12-13.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "เลือกตั้งฝรั่งเศส: ฝ่ายซ้ายพลิกล็อก ชนะการเลือกตั้งฝรั่งเศสครั้งที่สอง". BBC News ไทย. 2024-07-08.
  3. เพ็ชรปัญญา, ชยางกูร (2024-07-19). "รวมกันเราอยู่ แยกหมู่เราตาย: ยุทธการสกัด 'ฝ่ายขวาจัด' ในการเลือกตั้งฝรั่งเศส 2024 สู่เดดล็อกการเมือง?". The 101 World (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  4. "Nouveau Premier ministre: Michel Barnier, nouvelle "piste sérieuse" d'Emmanuel Macron?". BFMTV (ภาษาฝรั่งเศส).
  5. "Le Président de la République a nommé Monsieur Michel Barnier Premier ministre". elysee.fr (ภาษาฝรั่งเศส). 2024-09-05.
  6. BOISSELIER, Alexis (2024-12-02). "Budget de la sécurité sociale : Michel Barnier active le 49.3 et s'expose à une motion de censure" [งบประมาณประกันสังคม: มีแชล บาร์เนียร์เปิดใช้ 49.3 และเผชิญกับญัตติไม่ไว้วางใจ]. Ouest-France.fr (ภาษาฝรั่งเศส).{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. Willsher, Kim (2024-12-02). "French government faces no-confidence vote on Wednesday". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-12-25.
  8. "ฝรั่งเศสแต่งตั้ง "ฟรองซัว บายรู" นั่งเก้าอี้นายกฯ หลังบาร์นิเยร์ลาออก". PPTV HD 36. 2024-12-14.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "มาครง ตั้ง 'ฟรองซัวส์ เบย์รู' นายกฯฝรั่งเศส คนที่ 4 กับโจทย์หินผ่าน งบปี 2568". bangkokbiznews. 2024-12-14.
  10. "Annonce de la nomination du nouveau Gouvernement". elysee.fr (ภาษาฝรั่งเศส). 2024-12-23.
  11. เมธาสิทธิ์ (2024-12-24). "ประธานาธิบดีฝรั่งเศสประกาศจัดตั้งรัฐบาลชุดที่ 4 ของปี".