ข้ามไปเนื้อหา

รัฐบาลพระราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐบาลพระราชอาณาจักรลาว
ຣັຖບາລ​​ພຣະ​​ຣາ​ຊອາ​ນາ​ຈັກຣ໌​ລາວ

ພຣະຣາຊອານາຈັກຣ໌ລາວ (พระราซอานาจักร์ลาว)
คำขวัญ"ชาติ ศาสนา ภาษา พระมหากษัตริย์ รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย เอกราชวัฒนาถาวร"
เพลงชาติเพลงชาติลาว (เนื้อร้อง 2490)
ดินแดนที่รัฐบาลพลัดถิ่นอ้างสิทธิ์
ดินแดนที่รัฐบาลพลัดถิ่นอ้างสิทธิ์
เมืองหลวงเวียงจันทน์
(นิตินัย)
ทำเนียบรัฐบาลพลัดถิ่นจัดตั้ง ณ เกรส์แฮมออริกอน
สหรัฐ (พฤตินัย)
การปกครองรัฐบาลพลัดถิ่น
สมเด็จเจ้าฟ้าชายสุริวงศ์สว่าง
ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด
ก่อตั้ง
• การประกาศจัดตั้ง
6 มีนาคม พ.ศ. 2546
รหัส ISO 3166LA

รัฐบาลพระราชอาณาจักรลาว (อังกฤษ: The Royal Lao Government in Exile; RLGE; ลาว: ຣັຖບາລ​​ພຣະ​​ຣາ​ຊອາ​ນາ​ຈັກຣ໌​ລາວ) เป็นรัฐบาลพลัดถิ่นของพระราชอาณาจักรลาวซึ่งกระทำการเคลื่อนไหวโดยกลุ่มผู้นิยมระบอบพระมหากษัตริย์ลาว

ขบวนการนิยมกษัตริย์ลาวได้อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เป้าหมายคือฟื้นคืนระบอบกษัตริย์ในลาว โดยมีรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รัฐบาลพลัดถิ่นนี้ยังมีแนวความเชื่อที่ว่าการฟื้นคืนสถาบันองค์มหากษัตริย์สามารถสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริงในลาว เพื่อรับรองความเป็นอิสรภาพ การพิพากษาคดี สันติภาพของประชาชนลาวทั้งปวง[1] ผู้นำของรัฐบาลพลัดถิ่นนี้คือ ท้าวคำผุย สีสวัสดี

รัฐบาลพลัดถิ่นได้จัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มคนลาวที่ยังนิยมระบอบกษัตริย์ที่เมืองเกรส์แฮมออริกอน สหรัฐอเมริกา ส่วนพระมหากษัตริย์(พระเจ้ามหาชีวิต) คือสมเด็จเจ้าฟ้าชายสุริวงศ์ สว่าง ได้ทรงลี้ภัยประทับอยู่ที่คฤหาสน์ส่วนพระองค์ที่ประเทศฝรั่งเศส

อย่างไรก็ตามรัฐบาลราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่นนี้ถือได้ว่าเป็นขบวนการเคลื่อนไหวใต้ดินนิยมกษัตริย์ที่ผิดกฎหมายในประเทศลาว (สปป.ลาว) และไม่ได้รับการรับรองจากทางการสหรัฐอเมริกา

พระมหากษัตริย์ (เจ้ามหาชีวิต) (ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์)

[แก้]
# ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ รูป ครองราชย์ พ้นจากตำแหน่ง หมายเหตุ
1 เจ้าสุริวงศ์ สว่าง 2 พฤษภาคม 2521 เป็นพระราชบุตรของสมเด็จเจ้าฟ้าชายมกุฎราชกุมารวงศ์สว่าง

นายกรัฐมนตรีพลัดถิ่น (มาจากการแต่งตั้งและรับรองโดยพระมหากษัตริย์)

[แก้]
# นายกรัฐมนตรีพลัดถิ่น รูป ดำรงตำแหน่ง พ้นจากตำแหน่ง หมายเหตุ
1 ท้าวคำผุย สีสวัสด์ 6 พฤษภาคม 2546 18 ตุลาคม 2566 25 มีนาคม ค.ศ. 2005 ในเมืองแซคราเมนโต รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกาสมาชิกรัฐบาลพระราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่นเสนอชื่อโหวต ท้าว คำผุย สีสวัสดี ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลลาวพลัดถิ่นและได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากเจ้าสุริวงศ์ สว่างโดยทรงให้การแต่งตั้งและรับรองเป็นนายกรัฐมนตรี

25 กันยายน ค.ศ. 2010 ในเมืองนิวไอเบเรีย, รัฐลุยเซียนา, สหรัฐอเมริกา สมาชิกของรัฐบาลพระราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่นเสนอให้ท้าวคำผุย สีสวัสดีดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลลาวพลัดถิ่นไปตลอดชีวิตจนกว่าประชาธิปไตยจะกลับคืนสู่ประเทศลาว

2 ไม่ทราบ ไม่ทราบ หลังจากท้าวคำผุย สีสวัสด์ได้ถึงแก่อสัญกรรม ไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่าใครเป็นนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลพลัดถิ่นในปัจจุบัน

การก่อการร้าย

[แก้]

หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในลาว ราชอาณาจักรลาวล่มสลาย ได้มีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวขึ้น กลุ่มราชอาณาจักรลาวที่เหลือได้จัดตั้งขบวนการต่อต้านลาวโดยมีเป้าหมายก่อการร้ายเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองและฟื้นฟูระบอบกษัตริย์โดยได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลพระราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่น

ต่อมาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2004 นายณรงค์ สุวรรณบุปผา หรือมีชื่อจริงว่า ท้าวสีสุก ไชยแสง อายุ 41 ปี ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าสุริวงศ์ สว่าง เป็นหัวหน้ากลุ่มขบวนการต่อต้านลาวเป็นแกนนำคนสำคัญของขบวนการต่อต้านประเทศลาว ได้นำกำลังติดอาวุธบุกยึดด่านวังเตา เมืองโพนทอง แขวงจำปาสัก ประเทศลาว เมื่อเช้ามืดวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 2000 ได้มีการจับชาวบ้านในพื้นที่ดังกล่าวเป็นตัวประกันไว้จำนวนหนึ่ง ถือเป็นการก่อการร้ายข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ[2]

การตัดสินของศาลประชาชนลาว มีขึ้นภายหลังทางการไทย ส่งตัวผู้ร่วมในขบวนการต่อต้านลาว ให้กับทางการลาวหลังผู้ร่วมขบวนการทั้งหมดพ้นโทษจากการคุมขังในเรือนจำไทย ข้อหาหลบหนีเข้าเมือง[2]

การเคลื่อนไหวของขบวนการต่อต้านลาวได้สร้างความหนักใจแก่รัฐบาลไทย ซึ่งเกรงว่าจะกระทบความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาว จึงมีการกวาดล้างจับกุมกลุ่มที่เคลื่อนไหวเป็นระลอก[2]

สื่อวิดิโอ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "AD: Leader of the Royal Lao Government in Exile Calls for Actions Against Lao Regime - Press Release - Dec 20, 05". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-07. สืบค้นเมื่อ 2011-06-26.
  2. 2.0 2.1 2.2 "ย้อนรอยขบวนการกู้ชาติลาว..."ท้าวอนุวงศ์" หนุน ขตล.บุกยึดด่านวังเตาปี 43". ผู้จัดการออนไลน์ MGR Online. 25 มกราคม 2549. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)