ข้ามไปเนื้อหา

สังคมนิยม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ระบอบสังคมนิยม)

สังคมนิยม (อังกฤษ: Socialism) เป็นระบบสังคมและเศรษฐกิจซึ่งมีลักษณะคือ สังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและการจัดการเศรษฐกิจแบบร่วมมือ[1][2] ตลอดจนทฤษฎีและขบวนการทางการเมืองซึ่งมุ่งสถาปนาระบบดังกล่าว[3][4] "สังคมเป็นเจ้าของ" อาจหมายถึง การประกอบการสหกรณ์ การเป็นเจ้าของร่วม รัฐเป็นเจ้าของ พลเมืองเป็นเจ้าของความเสมอภาค พลเมืองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือที่กล่าวมารวมกัน[5] มีความผันแปรของสังคมนิยมจำนวนมากและไม่มีนิยามใดครอบคลุมทั้งหมด[6] ความผันแปรเหล่านี้แตกต่างกันในประเภทของการเป็นเจ้าของโดยสังคมที่ส่งเสริม ระดับที่พึ่งพาตลาดหรือการวางแผน วิธีการจัดระเบียบการจัดการภายในสถาบันการผลิต และบทบาทของรัฐในการสร้างสังคมนิยม[7]

ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมอาศัยลัทธิองค์การการผลิตเพื่อใช้ หมายความว่า การผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองอุปสงค์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของมนุษย์โดยตรง และระบุคุณค่าวัตถุตามคุณค่าการใช้ประโยชน์หรืออรรถประโยชน์ ซึ่งตรงข้ามกับการผลิตมาเพื่อสะสมทุนและเพื่อกำไร[8] ในแนวคิดดั้งเดิมของเศรษฐกิจสังคมนิยม มีการประสานงาน การทำบัญชีและการประเมินค่าอย่างเดียวกันโดยปริมาณทางกายภาพร่วม (common physical magnitude) หรือโดยการวัดแรงงาน-เวลาแทนการคำนวณทางการเงิน[9][10] มีสองข้อเสนอในการกระจายผลผลิต หนึ่ง ยึดตามหลักที่ว่าให้กระจายแก่แต่ละคนตามการเข้ามีส่วนร่วม และสอง ยึดตามหลักผลิตจากทุกคนตามความสามารถ ให้แก่ทุกคนตามความจำเป็น วิธีการจัดสรรและประเมินคุณค่าทรัพยากรที่แน่ชัดยังเป็นหัวข้อการถกเถียงในการถกเถียงการคำนวณสังคมนิยมที่กว้างกว่า

ในการกำหนดเป้าหมาย การเมืองแบบสังคมนิยมเคยเป็นทั้งชาตินิยมและนานาชาตินิยม สร้างผ่านพรรคการเมืองและการเมืองที่ต่อต้านพรรคการเมือง ในบางครั้งทับซ้อนกับสหภาพการค้า ในบางครั้งเป็นอิสระและมีความสำคัญกับเหล่าสหภาพ และมีให้เห็นทั้งในบรรดาประเทศอุตสาหกรรมและประเทศกำลังพัฒนา เริ่มจากการเคลื่อนไหวทางสังคมนิยม ประชาธิปไตยสังคมนิยมนำเศรษฐกิจแบบผสมมารวมเป็นส่วนหนึ่งกับตลาด ที่มีการแทรกแซงของรัฐในรูปแบบของ การกระจายรายได้ กฎระเบียบ และรัฐสวัสดิการ ประชาธิปไตยเศรษฐกิจ(Economic democracy) เสนอลักษณะของสังคมนิยมทางการตลาด(Market socialism) ซึ่งมีการควบคุมการกระจายอำนาจของ บริษัท สกุลเงิน การลงทุน และทรัพยากรธรรมชาติ มากขึ้น

อ้างอิง

[แก้]
  1. Bertrand Badie; Dirk Berg-Schlosser; Leonardo Morlino (2011). International Encyclopedia of Political Science. SAGE Publications, Inc. p. 2456. ISBN 978-1412959636. Socialist systems are those regimes based on the economic and political theory of socialism, which advocates public ownership and cooperative management of the means of production and allocation of resources.
  2. socialism Britannica ACADEMIC EDITION. Retrieved 19 January 2012.
  3. "2. (Government, Politics & Diplomacy) any of various social or political theories or movements in which the common welfare is to be achieved through the establishment of a socialist economic system" "Socialism" at The Free dictionary
  4. "The origins of socialism as a political movement lie in the Industrial Revolution." "Socialism" in Encyclopedia Britannica Online
  5. O'Hara, Phillip (September 2003). Encyclopedia of Political Economy, Volume 2. Routledge. p. 71. ISBN 0-415-24187-1. In order of increasing decentralisation (at least) three forms of socialized ownership can be distinguished: state-owned firms, employee-owned (or socially) owned firms, and citizen ownership of equity.
  6. Peter Lamb, J. C. Docherty. Historical dictionary of socialism. Lanham, Maryland, UK; Oxford, England, UK: Scarecrow Press, Inc, 2006. p. 1.
  7. Nove, Alec. Socialism. New Palgrave Dictionary of Economics, Second Edition (2008): http://www.dictionaryofeconomics.com/article?id=pde2008_S000173
  8. "Socialism and Capitalism: Are They Qualitatively Different Socioeconomic Systems?", by Kotz, David M. Retrieved February 19, 2011, from University of Massachusetts: http://people.umass.edu/dmkotz/Soc_and_Cap_Diff_Syst_06_12.pdf: "This understanding of socialism was held not just by revolutionary Marxist socialists but also by evolutionary socialists, Christian socialists, and even anarchists. At that time, there was also wide agreement about the basic institutions of the future socialist system: public ownership instead of private ownership of the means of production, economic planning instead of market forces, production for use instead of for profit."
  9. Market Socialism: The Debate Among Socialists, by Schweickart, David; Lawler, James; Ticktin, Hillel; Ollman, Bertell. 1998. From "The Difference Between Marxism and Market Socialism" (pp. 61–63): "More fundamentally, a socialist society must be one in which the economy is run on the principle of the direct satisfaction of human needs...Exchange-value, prices and so money are goals in themselves in a capitalist society or in any market. There is no necessary connection between the accumulation of capital or sums of money and human welfare. Under conditions of backwardness, the spur of money and the accumulation of wealth has led to a massive growth in industry and technology ... It seems an odd argument to say that a capitalist will only be efficient in producing use-value of a good quality when trying to make more money than the next capitalist. It would seem easier to rely on the planning of use-values in a rational way, which because there is no duplication, would be produced more cheaply and be of a higher quality."
  10. Bockman, Johanna (2011). Markets in the name of Socialism: The Left-Wing origins of Neoliberalism. Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-7566-3.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]