รถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า
รถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า 澳門輕軌系統 Metro Ligeiro de Macau | |||
---|---|---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |||
เจ้าของ | บริษัทรถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า (รัฐบาลมาเก๊าถือหุ้น 96%) | ||
ที่ตั้ง | มาเก๊า | ||
ประเภท | รถไฟฟ้าล้อยาง | ||
จำนวนสาย | 1 (ปัจจุบัน) | ||
จำนวนสถานี | สาย ไตปา: 11 สายคาบสมุทรมาเก๊า: 10 | ||
เว็บไซต์ | http://www.mlm.com.mo http://www.mtr.com.mo/en/ | ||
การให้บริการ | |||
เริ่มดำเนินงาน | 10 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (สาย ไตปา)[1][2] ในปี พ.ศ. 2567 (ช่วง ไตปา-บาร์รา)[3] | ||
ผู้ดำเนินงาน | เอ็มทีอาร์ (มาเก๊า), บริษัทย่อยถือหุ้น 100% โดย บริษัท เอ็มทีอาร์ ฮ่องกง (2562-2566) / บริษัทรถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า (มหาชน) หลังปี พ.ศ. 2566 | ||
ข้อมูลทางเทคนิค | |||
ระยะทาง | 9.3 km (6 mi)[4] | ||
รางกว้าง | 1,850 มม. (รางคอนกรีต) 3,200 มม. (รางนำทาง)[5] | ||
รัศมีความโค้ง | 30 m (98 ft 5 1⁄8 in)[6] | ||
การจ่ายไฟฟ้า | รางที่สาม 750 โวลต์ กระแสตรง[7] | ||
|
รถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า | |||||||||||||
Macau Light Rapid Transit | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 澳門輕軌系統 | ||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 澳门轻轨系统 | ||||||||||||
| |||||||||||||
ชื่อโปรตุเกส | |||||||||||||
โปรตุเกส | Metro Ligeiro de Macau |
รถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า (จีน: 澳門輕軌系統; ยฺหวิดเพ็ง: ou3 mun4 hing1 gwai2 hai6 tung2, โปรตุเกส: Metro Ligeiro de Macau (MLM)) หรือ อังกฤษ: Macau Light Rapid Transit (MLRT) เป็นระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตเมืองของเขตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และเป็นขนส่งมวลชนทางรางสายแรกของมาเก๊า ให้บริการบริเวณคาบสมุทรมาเก๊า, ไตปาและโกไต บริการด่านตรวจคนเข้าเมืองที่สำคัญ เช่น ประตูพรมแดน (อังกฤษ: Border Gate; จีน: 關閘; โปรตุเกส: Portas do Cerco), ท่าเรือเฟอร์รี่ Outer Harbour (จีน: 外港碼頭; โปรตุเกส: Terminal Marítimo do Porto Exterior), สะพานดอกบัว (จีน: 蓮花大橋; โปรตุเกส: Ponte Flor de Lótus) และท่าอากาศยานนานาชาติมาเก๊า (จีน: 澳門國際機場; โปรตุเกส: Aeroporto Internacional de Macau) ส่วนแรกเริ่มก่อสร้างในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 และเปิดดำเนินการเดินรถในส่วนแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2562[8] รถไฟฟ้ารางเบามาเก๊าดำเนินการโดย บริษัท เอ็มทีอาร์ (มาเก๊า) บริษัทย่อยของบริษัทเอ็มทีอาร์ ฮ่องกง (จีน: 香港鐵路有限公司)
ระบบรถไฟฟ้ารางเบามาเก๊าปัจจุบันแล้วเสร็จในสาย ไตปา ระหว่างสถานีโอเชียน (จีน: 海洋; โปรตุเกส: Oceano) และสถานีท่าเรือเฟอร์รี่ไตปา (จีน: 氹仔碼頭; โปรตุเกส: Terminal Marítimo da Taipa) ระยะทาง 9.3 กิโลเมตร โดยมี 11 สถานี การก่อสร้างอู่จอดซ่อมบำรุงและสายทางเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555[9] โดยเริ่มก่อสร้างในเกาะไตปา อย่างไรก็ตามความล่าช้าอย่างมากในการก่อสร้างอู่จอดซ่อมบำรุง การเปิดเดินรถสายไตปาอย่างเป็นทางการจึงมีขึ้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2562[10] มูลค่าการก่อสร้างของโครงการเพิ่มขึ้นจากประมาณการในปี พ.ศ. 2552 ที่ 7.5 พันล้านปาตากามาเก๊า เป็น 11 พันล้านปาตากาในประมาณการในปี พ.ศ. 2554[11] และเพิ่มเป็น 14.273 พันล้านปาตากาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2555[12] และสิ้นปี พ.ศ. 2560 เพิ่มอีกเป็น 15.4 พันล้านปาตากา[1] แต่ในสิ้นปี พ.ศ. 2562 สามารถลดค่าใช้จ่ายจากการเปิดดำเนินงานของสายไตปา ทำให้ค่าใช้จ่ายทั้งโครงการคงเหลือ 10.1-10.2 พันล้านปาตากามาเก๊า[13]
ประวัติ
[แก้]ในการแถลงนโยบายปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ต่อสาธารณะ โดยผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษมาเก๊า เอ็ดมุนด์ โฮ (จีน: 何厚鏵; ยฺหวิดเพ็ง: ho4 hau5 waa4, โปรตุเกส: Edmund Ho Hau-wah)[14] ระบุว่ารัฐบาลจะนำเสนอระบบขนส่งมวลชนใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาการขนส่งในเมือง ต่อมาในปีพ.ศ. 2545 รัฐบาลได้มอบหมายให้ บริษัท ฮ่องกงเมโทรคอร์ปอเรชั่น (เอ็มทีอาร์) ทำการวิจัยเกี่ยวกับระบบขนส่งทางรถไฟของมาเก๊า ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 บริษัท เอ็มทีอาร์ของฮ่องกงได้ส่งมอบรายงานคำปรึกษาครั้งแรก[15] แนะนำให้ใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเบาแบบทางยกระดับ แต่มีการพิจารณาประสิทธิผลด้านต้นทุนของแนวทางนี่ และยังได้รับการวิพากษ์วิจารณ์เนื่องจากไม่ได้มุ่งเน้นที่ประชาชนผู้อยู่อาศัย ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 บริษัท เอ็มทีอาร์ของฮ่องกงเสร็จสิ้นรายงานการให้คำปรึกษาครั้งที่สอง[16] ซึ่งเสนอให้ใช้ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินและกำหนดแผนการเลือกเส้นทางเบื้องต้น อย่างไรก็ตามรายงานการศึกษามีข้อสงสัยถึงปัญหาต่าง ๆ เช่นค่าใช้จ่ายที่สูง
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 รัฐบาลเขตบริหารพิเศษมาเก๊าได้เผยแพร่โครงการ "การวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน" ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตถึงปัญหาเช่น สายทางผ่านพื้นที่อาศัยหนาแน่นมากเกินไป และไม่สามารถอนุรักษ์เมืองเก่าได้ ในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 รัฐบาลเขตบริหารพิเศษมาเก๊าได้ออก "แผนเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่" ซึ่งระบุว่ารัฐบาลมาเก๊ามีแผนที่จะเริ่มก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาในปี พ.ศ. 2551 และทำการแก้ไขแผนเชิงลึกมากขึ้น
วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550 เหล่าซีหยิ่ว (จีน: 劉仕堯; ยฺหวิดเพ็ง: lau4 si6 jiu4) ผู้อำนวยการสำนักการขนส่งและโยธาธิการประกาศอย่างเป็นทางการถึงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าระยะแรก ระบบใช้การปรับแผนให้มีประสิทธิภาพโดยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม รัฐบาลเชิญที่ปรึกษาระหว่างประเทศเพื่อร่างการเสนอราคา ณ สิ้นปี พ.ศ. 2550 และเปิดประมูลในปี พ.ศ. 2551 ซึ่งแต่เดิมกำหนดให้เริ่มอย่างเป็นทางการในช่วงครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2551 อย่างไรก็ตามเนื่องจากการยื่นอุทธรณ์จาก บริษัทที่เข้าร่วมประมูล ทางสำนักงานโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง ภายใต้สำนักการขนส่งได้ใช้เวลาศึกษา 4 เดือน เวลาในการประมูลโครงการจึงเลื่อนเป็น พ.ศ. 2552, 2553 และ 2554 ต่อมาเนื่องจากสายทางรถไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงอีกหลายครั้ง และต้องใช้เวลาในการดำเนินการกระบวนการอุทธรณ์สำหรับการเสนอราคา โครงการจึงเลื่อนออกไปจนกระทั่งวันที่ 21กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ก่อนที่จะมีการเริ่มก่อสร้างอย่างเป็นทางการ ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็สัญญาว่าจะวางแผนระยะที่สองของโครงการหลังจากการก่อสร้างระยะแรก และเสนอแผนความเป็นไปได้โดยรับฟังความเห็นสาธารณะ[17]
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 สำนักงานโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งซึ่งก่อตั้งขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ได้ถูกยกเลิกและแทนที่อย่างเป็นทางการโดย "บริษัทรถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า จำกัด " ซึ่งเป็นบริษัทที่บริหารโดยเงินทุนสาธารณะทั้งหมด เพื่อร่วมบริหารจัดการในการเปิดสายทาง ไตปา โดยรัฐบาลมาเก๊าและ บริษัทรถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า ได้ลงนามในสัญญาสิบปี "รับรองสัญญาอนุญาตในการจัดการระบบรถไฟฟ้ารางเบา การดำเนินงานและการบำรุงรักษา" นอกจากนี้ บริษัท เอ็มทีอาร์ (มาเก๊า) มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติการณ์และบำรุงรักษา รถไฟฟ้ารางเบาในสายทางไตปา
เหตุผลในการก่อสร้าง
[แก้]รัฐบาลมาเก๊าคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเกิน 20 ล้านคนต่อปี นอกจากนี้โรงแรมและคาสิโนมีการก่อสร้างแล้วเสร็จในปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น เชื่อได้ว่ารถบัส, รถแท็กซี่และเครือข่ายการขนส่งที่เกี่ยวข้องของมาเก๊าไม่สามารถรับมือกับการเติบโตดังกล่าวได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างระบบขนส่งมวลชนใหม่เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด และปรับปรุงปัญหามลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
การเปิดบริการ
[แก้]บริการรถไฟฟ้ารางเบาเปิดเดินรถในเวลา 6:30 นาฬิกาถึง 23:35 นาฬิกาในวันจันทร์ถึงศุกร์ และถึง 00:19 นาฬิกา (ของวันใหม่) ในวันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุด[18] เนื่องจากการจัดซื้อประตูเข้าสู่ระบบกับบริษัทมิตซูบิชิ จึงไม่สามารถใช้งานร่วมกับเงินอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ได้เมื่อผู้โดยสารเข้าระบบ โดยจะสามารถใช้บัตรมาเก๊าพาสหรือเงินสดเพื่อซื้อตั๋วและใช้ตั๋วนั้นเพื่อเข้าและออกประตู ในขณะนี้ไม่สามารถสแกนบาร์โค้ดด้วยโทรศัพท์มือถือโดยตรง หรือเข้าหรือออกจากระบบด้วยบัตรมาเก๊าพาสได้ ปัญหาความเข้ากันได้จะต้องได้รับการศึกษาโดย บริษัทรถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า ต่อไป (ไม่คิดต่าโดยสารตลอดเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2562 ในช่วงเปิดให้บริการครั้งแรก)[19]
ลำดับการพัฒนา
[แก้]- วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556 เหล่า หย่ง (จีน: 劉榕; ยฺหวิดเพ็ง: lau4 jung4) ผู้อำนวยการสำนักผังเมืองภายใต้สำนักการโยธามาเก๊ากล่าวว่า เพื่อเชื่อมต่อกับการเปิดสถานีรถไฟ กงเป่ย สายกว่างโจว-จูไห่ ของสาธารณรัฐประชาชนจีน เจ้าหน้าที่กำลังศึกษาการขยายสายทางระยะแรก จากสถานี ประตูพรมแดน (Border Gate; จีน: 關閘, โปรตุเกส: Portas do Cerco) ไปยังสถานี เช็ง เจา (จีน: 青洲, โปรตุเกส: Ilha Verde)[20] เพื่อเป็นเส้นทางที่สองจากคาบสมุทรมาเก๊า สู่จูไห่
- เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556 แจง ยุก (จีน: 鄭煜; ยฺหวิดเพ็ง: zeng6 juk1) สมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาทางการขนส่ง แนะนำว่านอกเหนือจากการเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกในส่วนของรถไฟฟ้ารางเบาสถานีท่าเรือเฟอร์รี่ไตปา ไปยังสวนโอเชี่ยนแล้ว ก็เสนอให้ศึกษาส่วนขยายของสายทางไปย่านที่พักอาศัยเคหะ แสะผ่ายวาน (จีน: 石排灣; ยฺหวิดเพ็ง: sek6 paai4 waan1, โปรตุเกส: Seac Pai Van) และบริเวณเกาะโกโลอานีโดยเร็วที่สุด[21] เพื่อนำประสิทธิภาพสูงสุดของรถไฟฟ้ารางเบาส่วน ไตปา ให้ตอบสนองความต้องการการเดินทางของผู้อยู่อาศัยในเคหะ แสะผ่ายวาน
- วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557 ในการแลกเปลี่ยนความเห็นสาธารณะในการศึกษาความเป็นไปได้ของสาย แสะผ่ายวาน นอกเหนือจากความกังวลของผู้อยู่อาศัยเกี่ยวกับการจะขยายสายวงแหวนแล้ว ผู้อยู่อาศัยยังหวังที่จะขยายสายทางไปยังหาด ฮักซา (จีน: 黑沙海灘, โปรตุเกส: Praia de Hac Sá)[22][23] เพื่อความสะดวกของผู้พักอาศัย หลั่มโส่ยฮ่อย (จีน: 林瑞海; ยฺหวิดเพ็ง: lam4 seoi6 hoi2) ที่ปรึกษาด้านเทคนิคของสำนักงานขนส่งและก่อสร้างกล่าวว่า เขาจะวิเคราะห์ความคิดเห็นอย่างครอบคลุมและพิจารณาถึงความจำเป็นในการขยายไปยัง โกโลอานี และ ฮักซา เมื่อเดินทางไปพร้อมกับผู้โดยสารในสถานการณ์จริง
- วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2561 สำนักงานขนส่งและก่อสร้างได้เสนอแนวเส้นทาง ใหม่ของรถไฟฟ้ารางเบา (สายตะวันออก) จาก ประตูพรมแดน (Border gate; จีน: 關閘, โปรตุเกส: Portas do Cerco) สู่ท่าเรือเฟอร์รี่ไตปา (จีน: 氹仔客運碼頭, โปรตุเกส: Terminal Marítimo de Passageiros da Taipa) ผ่านเขตเมืองใหม่ A (จีน: 澳門新城區A區, โปรตุเกส: Novos Aterros Urbanos da Zona A) และจะเริ่มศึกษาโครงการในระยะเวลาอันสั้น ขณะที่สายคาบสมุทรมาเก๊ายังไม่มีกำหนดเริ่มการก่อสร้าง[24][25]
- วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษมาเก๊า ฮอยัตเส่ง (จีน: 賀一誠; ยฺหวิดเพ็ง: ho6 jat1 sing4, โปรตุเกส: Ho Iat Seng) ให้สัญญาในงานแถลงข่าวของผู้สมัครฯ ว่าโครงการรถไฟฟ้ารางเบาสาย บาร์รา (จีน: 媽閣線, โปรตุเกส: Estação do Barra) จะเสร็จสมบูรณ์ภายในระยะเวลาในตำแหน่งห้าปีอย่างแน่นอน เขาบอกว่าเมื่อเสร็จสิ้นการก่อสร้างสถานี บาร์รา คาดว่าสถานีรถไฟฟ้ารางเบาทั้งหมดจะใช้งบประมาณ 15.5 พันล้านปาตากา ซึ่งสถานี บาร์รา ใช้งบประมาณก่อสร้าง 4.5 พันล้านปาตากามาเก๊า ค่าอุปกรณ์ 3.6 พันล้านปาตากา, สถานีซ่อมบำรุง 2.6 พันล้านปาตากา และส่วนที่เหลืออีก 4.8 พันล้านปาตากา ค่าใช้จ่ายโดยประมาณต่อกิโลเมตรของรถไฟประมาณ 500 ล้านปาตากา กล่าวอีกนัยหนึ่งการก่อสร้างสายตะวันออกไม่ต้องใช้อุปกรณ์จำนวนมาก และแม้ว่าจะขยายสายทางก็ไม่เสียค่าใช้จ่ายมาก นอกจากนี้เขายังกล่าวว่ารัฐบาลปัจจุบันได้ทำการศึกษาแนวสายทางในด้านตะวันออกเท่านั้น ดังนั้นจึงจะศึกษาแผนการของรัฐบาลปัจจุบันและจะไม่ตัดแผนการอื่น ๆ[26]
แผนสายทาง
[แก้]กำหนดเวลาเปิดดำเนินการ | สายทาง | จุดเริ่มต้น-สิ้นสุด | ความยาว (กม.) | จำนวนของสถานี | สถานะปัจจุบัน | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ธันวาคม พ.ศ. 2562 | Taipa | สถานีโอเชียน | สถานีท่าเรือ เฟอร์รี่ไตปา |
9.3 | 11 | เปิดดำเนินการ[1] | |
พ.ศ. 2566/2567 | สายไตปา (ส่วนไตปา-บาร์รา) | สถานีบาร์รา | สถานีโอเชี่ยน | 1 | ระหว่างการก่อสร้าง | ||
ระหว่างการพิจารณา | สายคาบสมุทรมาเก๊า (ส่วนเหนือและใต้) |
สถานี ประตูพรมแดน (Border Gate) | สถานีบาร์รา | 11.7 | 10 | วางแผน | |
สายคาบสมุทรมาเก๊า (ส่วน Inner Harbour) |
สถานี ประตูพรมแดน (Border Gate) | สถานีบาร์รา | 4.5 | 6/7 | วางแผน | ||
สายแสะผ่ายวาน (石排灣; Seac Pai Van) |
สถานี สะพานดอกบัว | แสะผ่ายวาน | 1.6 | 3 | วางแผนและ เริ่มก่อสร้างเบื้องต้น[27] |
||
ส่วนต่อขยายสายวางข่ำ (橫琴島; Ilha de Montanha) |
สถานี สะพานดอกบัว | สถานีด่านวางข่ำ | 3.3 | 3 | ศึกษารายละเอียด ความเป็นไปได้ |
||
สายพิเศษด่านเกาะเทียมสะพานฮ่องกง–จูไห่–มาเก๊า | ด่านเกาะเทียมสะพานฮ่องกง–จูไห่–มาเก๊า | ท่าเรือ Outer Harbour | 3 | วางแผน | |||
สายมาเก๊าตะวันออก | สถานีท่าเรือ เฟอร์รี่ไตปา |
สถานี ประตูพรมแดน (Border Gate) | 7.8 | >6 | ศึกษารายละเอียด และออกแบบ |
||
สายไตปาเหนือ | >2 | ข้อเสนอ |
ขบวนรถ
[แก้]Ocean Cruiser | |
---|---|
ผู้ผลิต | มิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์ |
ผลิตที่ | มิฮาระ, จังหวัดฮิโรชิมะ, ญี่ปุ่น |
ตระกูล | Crystal Mover (Urbanismo-22) |
สายการผลิต | พ.ศ. 2555-2559 |
เข้าประจำการ | พ.ศ. 2562 |
จำนวนที่ผลิต | 55 ขบวน (110 ตู้โดยสาร) |
ความจุผู้โดยสาร | 102 คน (19 ที่นั่ง) / ตู้โดยสาร[6] |
ผู้ให้บริการ | บริษัทรถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า (MLRT) |
คุณลักษณะ | |
วัสดุตัวถัง | อะลูมิเนียม-อัลลอย |
ความยาว | 11.2 เมตร (36 ฟุต 8 15/16 นิ้ว)[6] |
ความกว้าง | 2.795 เมตร (9 ฟุต 2 3/64 นิ้ว)[6] |
ความสูง | 3.795 เมตร (12 ฟุต 5 13/32 นิ้ว)[6] |
จำนวนประตู | 4 ประตู (2 ประตูต่อข้าง) ต่อตู้โดยสาร |
ความเร็วสูงสุด | 80 km/h (50 mph) (ออกแบบ)[6] |
น้ำหนัก | 23,860 กก. (บรรทุกสูงสุด)[6] |
ความเร่ง | 1.0 เมตร/วินาที2 (3.3 ฟุต/วินาที2)[7] |
ความหน่วง | 1.0 เมตร/วินาที2 (3.3 ฟุต/วินาที2) (ปรกติ) 1.3 เมตร/วินาที2 (4.3 ฟุต/วินาที2) (ฉุกเฉิน)[7] |
มาตรฐานทางกว้าง | รางนำทาง: ด้านข้าง – ล้อยาง |
รถไฟฟ้ารางเบามาเก๊าใช้ ขบวนรถมิตซูบิชิเฮฟวีอินดัสทรีส์ Crystal Mover รุ่น Urbanismo-22 ซึ่งเป็นระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (APM)[28] โดยใช้ล้อยางที่วิ่งบนรางคอนกรีต[29] มิตซูบิชิจะจัดหารถไฟสองตู้โดยสารจำนวน 55 คันซึ่งเป็นแบบอัตโนมัติ (ไร้คนขับ) สามารถขยายความจุผู้โดยสารได้สูงสุดถึง 476 คนต่อขบวน (4 ตู้โดยสาร)[29] โดยขบวนรถมีชื่อว่า Ocean Cruiser[30]
อัตราค่าโดยสาร
[แก้]จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 รถไฟฟ้ารางเบามาเก๊าให้บริการฟรี[31] ตามประกาศของผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษมาเก๊าหมายเลข 186/2019[32] ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ค่าใช้จ่ายสำหรับโดยสารรถไฟฟ้ารางเบามาเก๊าเป็นดังนี้:
จำนวนสถานี | เหรียญเดินทางเที่ยวเดียว | เหรียญเดินทางเที่ยวเดียว (ลดหย่อน), บัตรเติมเงิน |
บัตรเติมเงินสำหรับ นักเรียน |
เด็กสูงน้อยกว่า 1 เมตร, บัตรผู้สูงอายุ, บัตรผู้ทุพพลภาพ |
---|---|---|---|---|
3 สถานีหรือน้อยกว่า | MOP $6.00 | MOP $3.00 | MOP $1.50 | ฟรี |
6 สถานีหรือน้อยกว่า | MOP $8.00 | MOP $4.00 | MOP $2.00 | |
10 สถานีหรือน้อยกว่า | MOP $10.00 | MOP $5.00 | MOP $2.50 |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 澳門輕軌第一期離島氹仔線下周二開通 年底前免費乘坐 (ภาษาจีน). RTHK 即時新聞. 2019-12-06.
- ↑ "Light Rail Transit firm to be set up before the middle of the year". 2019-04-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-04. สืบค้นเมื่อ 2019-06-28.
- ↑ "LRT trains to run from 6 a.m. to 1 a.m.: govt". 2019-01-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-03. สืบค้นเมื่อ 2019-06-28.
- ↑ 輕軌下周二開通 年底前免費乘搭 (ภาษาจีน). Macao Light Rapid Transit. 2019-12-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-06. สืบค้นเมื่อ 2019-12-14.
- ↑ "Crystal Mover". สืบค้นเมื่อ 2019-12-14.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 "AGT: New TOD Solution for Urban Transportation Issues" (PDF). Mitsubishi Heavy Industries Technical Review. 53 (3). September 2016.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 "Mitsubishi Heavy Industries Crystal Mover C810A".
- ↑ 輕軌車廠工程明年重啓. 澳門日報. 2015-11-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-20.
- ↑ 造價四億八 工期三十九個月 輕軌氹仔段下周二動工. 澳門日報A02版. 2012-02-18.
- ↑ 輕軌將於下周二正式開通 (ภาษาจีน). 澳廣視新聞. 2019-12-06.
- ↑ 澳门乱象:轻轨合约直接批给 议员轰批约零监管 (ภาษาจีน). ON.CC (BVI). 2018-01-02.
- ↑ 《輕軌系統——第三階段》. 審計署.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 輕軌日載客量料約2萬人次 羅立文:終於等到今日 (ภาษาจีน). 澳門電台. 2019-12-10.
- ↑ "Policy Address for the Fisical Year 2003" (PDF) (Press release). Web: Macau SAR Government. 20 November 2002. สืบค้นเมื่อ 6 August 2018.
- ↑ 總造價廿七至卅億 輕鐵擬○六開通 [Total Cost of Construction 2.7 to 3 billion; Light Rail proposed to open at '06]. Macao Daily News (ภาษากวางตุ้ง). Macao. 20 February 2003.
- ↑ "Progress for the Macao LRT". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-25. สืบค้นเมื่อ 7 August 2018.
- ↑ 輕軌拍板. 澳門日報. 2007-10-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-16. สืบค้นเมื่อ 2007-10-16.
- ↑ "Macao Light Rapid Transit Train Service". MTR (Macau). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-11. สืบค้นเมื่อ 2019-12-14.
- ↑ "Macau's first-ever railway to start today". the macao news. 2019-12-10. สืบค้นเมื่อ 2021-12-15.
- ↑ 輕軌研增青洲站. 澳門日報A12版. 2013-04-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-27.
- ↑ 鄭煜:輕軌分段走先連媽閣 (ภาษาจีน). 澳門日報A6版. 2013-12-24.
- ↑ 輕軌延伸路環意見不一 村民冀延黑沙 (ภาษาจีน). 澳門日報A1版. 2014-01-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-01.
- ↑ 運建辦公眾座談收集輕軌石排灣線意見 (ภาษากวางตุ้ง). 澳廣視. 2014-01-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-20. สืบค้นเมื่อ 2014-01-19.
- ↑ 羅立文輕軌澳門線先開展東線研究 (ภาษาจีน). 澳廣視新聞. 2018-01-05.
- ↑ 連接關閘A區北安碼頭被質疑益賭場 輕軌東線或翻生 (ภาษาจีน). 澳門日報. 2018-01-06. p. A1版. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-07. สืบค้นเมื่อ 2018-01-07.
- ↑ 賀一誠作出承諾 五年任期必完成輕軌媽閣線 (ภาษาจีน). 澳門力報. 2019-08-25.
- ↑ C390A-輕軌石排灣前期建造工程 澳門特區政府運輸基建辦公室. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-21. สืบค้นเมื่อ 2018-06-21.
- ↑ "MHI Receives Order for Macau Light Rapid Transit (MLRT) Phase 1". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-16. สืบค้นเมื่อ 2013-08-03.
- ↑ 29.0 29.1 Natalie Leung, บ.ก. (2010-12-31). "Mitsubishi wins LRT tender". macaodailytimes.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-04. สืบค้นเมื่อ 2019-12-14.
- ↑ "The 1:1 scale Mockup of LRT has arrived". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24.
- ↑ 輕軌下周二開通 年底前免費乘搭. 澳門特別行政區政府入口網站 (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 2019-12-10.
- ↑ "印務局 - 行政長官批示". bo.io.gov.mo. สืบค้นเมื่อ 2019-12-10.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ – รถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า (ภาษาอังกฤษ)
- เว็บไซต์ผู้ดำเนินการ – เอ็มทีอาร์ (มาเก๊า)