รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (สถานีมักกะสัน) ปัจจุบันเปิดให้บริการเป็นส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลทั่วไป | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สถานะ | กำลังก่อสร้าง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟแห่งประเทศไทย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ที่ตั้ง | กรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปลายทาง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จำนวนสถานี | 9 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
การดำเนินงาน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รูปแบบ | รถไฟความเร็วสูง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ระบบ | โครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (สัญญาสัมปทานโครงการสิ้นสุด พ.ศ. 2612) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ศูนย์ซ่อมบำรุง | ศูนย์ซ่อมบำรุงซอยศูนย์วิจัย สำนักบริหารโครงการรถไฟฟ้า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รถในเมือง) ศูนย์ซ่อมบำรุงบางเตย จังหวัดฉะเชิงเทรา (รถไฟความเร็วสูง) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ขบวนรถ | ซีเมนส์ เดซิโร บริติช เรล คลาส 360/2 (HST และ Airport Express) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้โดยสารต่อวัน | (31 สิงหาคม พ.ศ. 2561) 85,888 คน[1] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประวัติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เปิดเมื่อ | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 พ.ศ. 2571 (แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ดอนเมือง-พญาไท) พ.ศ. 2573 (รถไฟความเร็วสูง) | (แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ พญาไท-สุวรรณภูมิ)|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลทางเทคนิค | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ระยะทาง | 220 km (140 mi) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รางกว้าง | 1,435 mm (4 ft 8 1⁄2 in) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ระบบจ่ายไฟ | เหนือหัว | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ความเร็ว | 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ช่วงในเมือง) 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ช่วงนอกเมือง) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน แบบไร้รอยต่อ (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา) (อังกฤษ: The High-Speed Rail Linked 3 Airport Project) หรือ รถไฟฟ้าเอราวัน[ต้องการอ้างอิง] (อังกฤษ: AERA1 SkyTrain) เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนที่ต่อยอดจากรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย ดำเนินการโดย บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด[2] ภายใต้การร่วมลงทุนกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย และ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง และยังถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางราง คุนหมิง - สิงคโปร์ สาย Eastern Route ที่จะเชื่อมต่อประเทศกลุ่ม CMLV เข้าเป็นผืนแผ่นเดียวกัน
ประวัติ
[แก้]ในสมัย ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี และชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น ได้มีการศึกษาในการเปลี่ยนระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ที่ดำเนินการไม่ได้ตามแผน ให้กลายเป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก กรุงเทพฯ-ระยอง เพื่อเชื่อมต่อ 3 ท่าอากาศยานหลักอันได้แก่ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ตามหลักยุทธศาสตร์ภายใต้งบประมาณสองล้านล้านบาทของกระทรวงคมนาคม โดยมีสาเหตุหลักมาจากสถานการณ์การบินในประเทศไทยของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิถึงขีดจำกัดที่ท่าอากาศยานสามารถรองรับได้ ซึ่งแผนที่รวดเร็วที่สุดที่จะสามารถบรรเทาปัญหาได้คือต้องมีการเปิดใช้ท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่สองเพิ่มเติมนั่นก็คือท่าอากาศยานอู่ตะเภา จังหวัดระยอง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมการบินในประเทศให้กลับมาเป็นปกติ โดยในระยะแรกเป็นการศึกษาเพื่อขยายเส้นทางของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ไปยังเมืองพัทยา และท่าอากาศยานอู่ตะเภา โดยกลุ่มบริษัทซีเมนส์ที่เป็นเจ้าของขบวนรถก็ได้ให้การยืนยันว่าการขยายเส้นทางไปพัทยาสามารถทำได้โดยไม่มีปัญหาในด้านการดำเนินการ เพราะตัวรถได้รับการออกแบบสำหรับใช้เดินทางระยะไกลตั้งแต่แรกแล้ว แต่แล้วแผนทั้งหมดก็ถูกระงับเนื่องมาจากเกิดเหตุรัฐประหารขึ้นก่อน
ต่อมาในสมัยประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลจีนและรัฐบาลญี่ปุ่นได้ยื่นข้อเสนอขอพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงสำหรับไปยังภาคตะวันออกของประเทศไทย แต่ในขณะนั้นรัฐบาลเองก็ต้องการลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเช่นกัน การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงเสนอให้รัฐบาลดำเนินการก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงโดยใช้โครงสร้างเดิมของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เนื่องมาจากโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน ใช้รางรูปแบบเดียวกันกับระบบรถไฟความเร็วสูง คือรางขนาดมาตรฐานความกว้าง 1.435 เมตร หรือ Standard Gauge ดังนั้นหากรัฐบาลต้องการดำเนินโครงการ เพียงแค่ก่อสร้างเส้นทางเพิ่ม และดำเนินการเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณในระบบเดิมให้เป็นระบบกลางของรถไฟความเร็วสูง สั่งซื้อขบวนรถใหม่ ก็สามารถเปิดใช้งานต่อได้ทันที เพราะโครงสร้างโดยรวมนั้นถูกออกแบบให้รองรับต่อการปรับแบบเป็นรถไฟความเร็วสูงไว้ตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว
ปัจจุบันรัฐบาลได้อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการก่อสร้างด้วยวิธีการสรรหาเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการและรับผลประโยชน์กับความเสี่ยงในการดำเนินการทั้งหมด หรือ PPP-Net Cost โดยก่อสร้างเป็นส่วนต่อขยายจากรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์เดิมทั้งเส้นทางใต้ดินและยกระดับ โดยจากปลายทางด้านทิศตะวันตก (สถานีพญาไท) ให้ก่อสร้างเส้นทางไปยังศูนย์คมนาคมพหลโยธิน และท่าอากาศยานดอนเมือง และจากทางด้านทิศตะวันออก (สถานีลาดกระบัง) ให้ก่อสร้างเส้นทางไปยังเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา, จังหวัดชลบุรี และไปจนถึงท่าอากาศยานอู่ตะเภา โดยใช้โครงสร้างทางแยกเดิมที่ทำไว้เป็นจุดเริ่มต้น โดยปัจจุบันอยู่ในระหว่างการเวนคืนที่ดินเพื่อเตรียมใช้ก่อสร้างโครงการ
แนวเส้นทาง
[แก้]รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีทั้งโครงสร้างใต้ดินและยกระดับ และมีระบบรถไฟฟ้าให้บริการสองระบบในเส้นทางเดียว มีแนวเส้นทางที่รองรับการเดินทางจากชานเมืองและจังหวัดใกล้เคียงด้านตะวันออกและชานเมืองด้านทิศเหนือ และผู้โดยสารจากท่าอากาศยานทั้งสามแห่ง เข้าสู่เขตใจกลางเมืองได้อย่างรวดเร็ว แนวเส้นทางเริ่มต้นจากท่าอากาศยานดอนเมืองทางฝั่งทิศเหนือ วิ่งตรงเข้าสู่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์โดยไม่จอดรับผู้โดยสารรายทาง และลดระดับลงเป็นรถไฟใต้ดินผ่านพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เลี้ยวขวาวิ่งตามแนวทางรถไฟสายตะวันออก แล้วยกระดับกลับเป็นรถไฟฟ้ายกระดับ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ที่สถานีพญาไท เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ที่สถานีราชปรารภ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีมักกะสัน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ที่สถานีหัวหมาก จากนั้นวิ่งเลียบทางพิเศษระหว่างเมือง กรุงเทพฯ-ชลบุรี ไปจนถึงย่านลาดกระบัง เลี้ยวขวาเข้าพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แล้วลดระดับลงเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน จากนั้นวิ่งย้อนกลับ ยกระดับเป็นรถไฟฟ้ายกระดับ แล้วเลี้ยวขวาวิ่งเลียบทางพิเศษระหว่างเมือง กรุงเทพฯ-ชลบุรี ตามแนวทางรถไฟสายตะวันออกเข้าสู่สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา เชื่อมต่อกับสายแยกแก่งคอย - คลอง 19 - ฉะเชิงเทรา เพื่อมุ่งหน้าไปยังสายอีสาน แนวเส้นทางจะเบี่ยงไปตามแนวทางรถไฟสายตะวันออกเลียบชายฝั่ง เข้าสู่สถานีรถไฟชลบุรี เชื่อมกับท่าเรือแหลมฉบังที่สถานีรถไฟชุมทางศรีราชา เชื่อมกับเมืองพัทยาด้วยรถไฟฟ้าโมโนเรล เมืองพัทยาที่สถานีรถไฟเมืองพัทยา แล้ววิ่งตามแนวทางรถไฟสายตะวันออกเลียบชายฝั่งจนถึงช่วงเขาชีจรรย์ แนวเส้นทางจะเบี่ยงออกจากแนวเส้นทางรถไฟเดิมเพื่อตีโค้งเข้าจังหวัดระยองแล้วเลี้ยวขวาเข้าพื้นที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภา จังหวัดระยอง จากนั้นวิ่งย้อนกลับแล้วเลี้ยวขวาวิ่งไปตามแนวทางรถไฟสายตะวันออกเลียบชายฝั่งอีกครั้ง ผ่านจังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และสิ้นสุดเส้นทางทั้งโครงการที่จังหวัดตราด รวมระยะทางทั้งโครงการ 413.2 กิโลเมตร
แนวเส้นทางต่อจากนี้จะเป็นทางรถไฟความเร็วสูงที่มุ่งตรงไปยังเขตพรมแดนไทย-กัมพูชา แล้วไปต่อยังกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เพื่อเปลี่ยนเส้นทางมุ่งตรงไปยังนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม จากนั้นแนวเส้นทางจะมุ่งขึ้นทางเหนือ ไปยังฮานอย ประเทศเวียดนาม ก่อนจะแยกสายไปยังคุนหมิงและหนานหนิง ประเทศจีน ปัจจุบันในฝั่งเวียดนามกำลังวางแผนก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ฮานอย-โฮจิมินห์ ระยะทาง 1,570 กิโลเมตร ที่เคยยกเลิกไปใน พ.ศ. 2553 ส่วนฝั่งกัมพูชากำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาเส้นทางช่วง พนมเปญ-โฮจิมินห์ รวมถึงเส้นทางข้ามพรมแดนไทย-กัมพูชาด้วยเช่นกัน
รูปแบบการให้บริการ
[แก้]รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มีรูปแบบการให้บริการเมื่อแล้วเสร็จทั้งหมดสองรูปแบบ ทั้งแบบรถไฟความเร็วสูง และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสายซิตี้ โดยแบ่งรูปแบบการให้บริการตามพื้นที่ตั้งของสถานีดังต่อไปนี้
- ช่วงในเมืองและชานเมืองกรุงเทพมหานคร (Urban Area) (จากสถานีดอนเมือง - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) : ให้บริการในรูปแบบ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สายซิตี้ จากสถานีท่าอากาศยานดอนเมือง - สถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แล้วตีกลับ จอดรับผู้โดยสารตามสถานีรายทางทั้งสิ้น 10 สถานี คือ ท่าอากาศยานดอนเมือง - บางซื่อ - พญาไท - ราชปรารภ - มักกะสัน - รามคำแหง - หัวหมาก - บ้านทับช้าง - ลาดกระบัง - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ใช้เวลาเดินทาง 30 นาทีจากดอนเมืองถึงสุวรรณภูมิ รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก กรุงเทพฯ-อู่ตะเภา และ รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบิน รับส่งผู้โดยสาร 4 สถานี ได้แก่ ท่าอากาศยานดอนเมือง - บางซื่อ - มักกะสัน และ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยจำกัดความเร็วสูงสุดที่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทาง 20 นาทีจากดอนเมืองถึงสุวรรณภูมิ
- ช่วงพื้นที่ระหว่างเมือง (Rural Area) (จากสถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สถานีท่าอากาศยานอู่ตะเภา) : ให้บริการในรูปแบบ รถไฟฟ้าเอราวัน สาย Standard Line จากสถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สถานีท่าอากาศยานอู่ตะเภา แล้วตีกลับ จอดรับผู้โดยสารตามสถานีรายทางทั้งสิ้น 6 สถานี คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ฉะเชิงเทรา - ชลบุรี - ศรีราชา - พัทยา - ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 40 นาทีจากกรุงเทพมหานคร และ รถไฟฟ้าเอราวัน สาย Airport Express รับส่งผู้โดยสาร 2 สถานี คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ ท่าอากาศยานอู่ตะเภา โดยจำกัดความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทาง 45 นาทีจากกรุงเทพมหานคร
รูปแบบของโครงการ
[แก้]ทางวิ่งและขบวนรถ
[แก้]- เป็นระบบไฟความเร็วสูง (High-speed Rail) ชนิดขับเคลื่อนได้ทั้งสองทางโดยไม่ต้องถอดเปลี่ยนรูปแบบขบวนรถ
- ทางวิ่งยกระดับที่ความสูง 20 เมตรตลอดทั้งโครงการ ยกเว้น (1) ช่วงสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ - สถานีพญาไท รถไฟฟ้าจะลดระดับลงเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินที่ความลึก 12 เมตรจากผิวถนนบริเวณใต้ถนนกำแพงเพชร 5 หลังออกจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เมื่อพ้นแยกเสาวนีย์จะยกระดับกลับไปที่ความสูง 20 เมตร (2) ช่วงเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รถไฟฟ้าจะลดลงเป็นระดับดินหลังข้ามถนนสุวรรณภูมิ 2 แล้วลดระดับเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินที่ความลึก 12 เมตรจากผิวดิน และ (3) ช่วงเข้าท่าอากาศยานอู่ตะเภา รถไฟฟ้าจะลดระดับเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินที่ความลึก 12 เมตรจากผิวดิน ลอดใต้ถนนสุขุมวิท และย่านการค้าท่าอากาศยานอู่ตะเภา
- ขนาดราง 1.435 เมตร (European standard guage) โดยมีสายไฟฟ้าแรงสูงตีขนานอยู่เหนือราง ระบบรถไฟฟ้าใช้วิธีการรับไฟฟ้าจากด้านบนด้วยแพนโทกราฟ
- ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 2.8-3.7 เมตร ยาว 20 เมตร สูงประมาณ 3.7 เมตร ความจุ 250-300 คนต่อคัน ต่อพวงได้ 3-10 คันต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ 25 กิโลโวลต์ 50 เฮิรตซ์ ส่งจากสถานีจ่ายไฟฟ้าย่อยของการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเพื่อป้อนระบบขับเคลื่อนรถ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
- ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ
ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ
[แก้]รถไฟฟ้าในเมือง หรือรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ สายซิตี้ จะใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ซอยศูนย์วิจัย (ที่ตั้ง สำนักบริหารโครงการรถไฟฟ้า การรถไฟแห่งประเทศไทย ในปัจจุบัน) ส่วนรถไฟฟ้าความเร็วสูงจะมีศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ฉะเชิงเทรา (บางเตย-แปดริ้ว) ตั้งอยู่ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา รวมถึงมีศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยระยอง ที่จังหวัดระยอง และทางซ่อมบำรุง อยู่ที่จังหวัดตราด ระบบเดินรถทั้งระบบมีศูนย์ควบคุมการเดินรถกลางอยู่ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ซอยศูนย์วิจัย
สิ่งอำนวยความสะดวก
[แก้]มีจุดจอดแล้วจร (park and ride) ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ สถานีมักกะสัน สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา และสถานีพัทยา
สถานี
[แก้]มีทั้งหมด 15 สถานี เป็นสถานียกระดับ 7 สถานี เป็นสถานีรูปแบบอาคารผู้โดยสาร 6 สถานี และเป็นสถานีใต้ดิน 2 สถานี
ตัวสถานีมีความยาวประมาณ 210 เมตร รองรับการจอดรถไฟฟ้าได้สูงสุด 10 ตู้โดยสาร (8 ตู้โดยสารสำหรับรถไฟความเร็วสูง) มีประตูชานชาลา (platform screen door) ความสูงแบบ Half-Height ในสถานีประเภทยกระดับทุกสถานีและสถานีแบบอาคารผู้โดยสารบางสถานี และแบบ Full-Height ในสถานีใต้ดินและสถานีแบบอาคารผู้โดยสารบางสถานี ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดิน และรักษาสภาพผิวดินให้มากที่สุด มีเสายึดสถานีคร่อมอยู่บนทางรถไฟ
ขบวนรถไฟฟ้า
[แก้]รถไฟฟ้าที่ใช้ในโครงการทั้งหมดเป็นรถไฟฟ้าประเภทความเร็วสูง ซึ่งมีความเร็วปกติอยู่ที่ 160-200 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่มีความเร็วขณะเข้าประแจที่ 40 - 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง และมีความเร็วขณะเข้าประแจลงศูนย์ซ่อมบำรุงที่ย่านคลองตันที่ 25 กิโลเมตร/ชั่วโมง
โครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ในระยะแรกนั้น ใช้ขบวนรถ ซีเมนส์ เดซิโร รุ่นบริติช เรล คลาส 360 ซึ่งเป็นแบบเดียวกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ จำนวน 9 ขบวน ผลิตโดย ซีเมนส์ มีความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ภายในขบวนรถไฟฟ้าจะมีเก้าอี้แบบแข็งสองแถวตั้งตามความยาวของตัวรถ เหมือนกับรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้ามหานคร
ความถี่ในการเดินรถ
[แก้]จากรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการฯ ได้มีการวิเคราะห์ปริมาณความต้องการในการเดินทางของผู้โดยสารเพื่อกำหนดความถี่ในการเดินรถแต่ละรูปแบบเบื้องต้น เมื่อเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2566 จะมีรูปแบบและความถี่ในการเดินรถดังนี้
- รถไฟธรรมดา (สายซิตี้) ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ จอดทุกสถานี ความถี่ 13 นาที
- รถไฟความเร็วสูง (High Speed) ดอนเมือง - อู่ตะเภา จอดเฉพาะสถานีดอนเมือง บางซื่อ มักกะสัน สุวรรณภูมิ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา และอู่ตะเภา ความถี่ 20-30 นาที
โครงการก่อสร้าง
[แก้]โครงการ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มีโครงการสร้างทับบนเส้นทางเดิมของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับท่าอากาศยานหลักในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลทั้งสามแห่ง อันได้แก่ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานอู่ตะเภา จังหวัดระยอง ซึ่งรวมไปถึงการเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพมหานคร และเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยโครงการก่อสร้างมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ระยะที่หนึ่ง (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา) (เตรียมการก่อสร้าง)
[แก้]พญาไท - กรุงเทพอภิวัฒน์
[แก้]- ระยะทาง ระยะทาง 7.8 กิโลเมตร
- พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน เขตพญาไท, เขตดุสิต และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร
- เส้นทาง หลังจากผ่านสถานีพญาไทเส้นทางรถไฟฟ้าจะค่อย ๆ ลดระดับมาอยู่ในระดับใต้ดินแล้วเลี้ยวขวาวิ่งเลียบพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ตรงบริเวณถนนกำแพงเพชร 5 ผ่านสถานีรถไฟหลวงจิตรลดา ผ่านสถานีรถไฟราชวิถี และสถานีรถไฟสามเสน แล้วยกระดับกลับไปอยู่ในระดับที่ 4 เพื่อเข้าสู่ชานชาลาที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์
- ขบวนรถ ให้บริการเฉพาะ สายซิตี้
สำหรับส่วนต่อขยายส่วนนี้มีแผนเพื่อที่จะรองรับผู้โดยสารจากทางสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ให้สามารถไปยังสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิต่อไปได้ และผู้โดยสารจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิก็สามารถไปยังสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามแผนล่าสุดได้มีการยกเลิกการจอดที่สถานีราชวิถี เนื่องจากรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ไม่ได้มาเชื่อมต่อกับโครงการที่สถานีนี้แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องหยุดรถที่สถานีนี้อีกต่อไป
กรุงเทพอภิวัฒน์ - ท่าอากาศยานดอนเมือง
[แก้]- ระยะทาง ระยะทาง 14 กิโลเมตร
- พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน เขตบางซื่อ, เขตจตุจักร, เขตบางเขน, เขตหลักสี่ และเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
- เส้นทาง หลังจากออกจากสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ รถไฟฟ้าจะวิ่งเลียบถนนวิภาวดีรังสิต ตีขนานไปกับทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ผ่านเขตหลักสี่ ตัดกับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู บริเวณจุดตัดกับถนนแจ้งวัฒนะ และสิ้นสุดโครงการที่สถานีดอนเมือง ซึ่งสามารถเชื่อมต่อรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มเพื่อไปยังสถานีปลายทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้
- สถานี สถานียกระดับ 1 สถานี
- ขบวนรถ ให้บริการทั้ง สายซิตี้ และ HST
ลาดกระบัง - อู่ตะเภา
[แก้]- พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน จังหวัดฉะเชิงเทรา (อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา , อำเภอบ้านโพธิ์) , จังหวัดชลบุรี (อำเภอเมืองชลบุรี , อำเภอศรีราชา , อำเภอบางละมุง , อำเภอสัตหีบ) , จังหวัดระยอง (อำเภอบ้านฉาง)
- เส้นทาง หลังจากออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รถไฟฟ้าจะเลี้ยวขวาแล้ววิ่งไปตามแนวทางรถไฟสายตะวันออก เข้าเขตจังหวัดฉะเชิงเทราแล้วเปลี่ยนเส้นทางไปวิ่งเลียบตามแนวทางรถไฟสายตะวันออกเลียบชายฝั่ง เข้าสู่จังหวัดชลบุรี และเข้าสู่จังหวัดระยอง ก่อนเลี้ยวขวาแล้วลดระดับเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินลอดใต้ถนนสุขุมวิท ย่านการค้าท่าอากาศยานอู่ตะเภา และจอดที่ใต้อาคารผู้โดยสาร 3 ท่าอากาศยานอู่ตะเภา จากนั้นออกจากอู่ตะเภาแล้วเลี้ยวขวา ไปสิ้นสุดที่สถานีรถไฟระยอง รวมระยะทาง 193.5 กิโลเมตร แต่เนื่องจากติดปัญหาพื้นที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมบริเวณเส้นทางช่วงที่ผ่านนิคมอุตสาหรรมมาบตาพุด ทำให้ต้องมีการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมใหม่ เส้นทางช่วงอู่ตะเภา - ระยอง จึงกลายเป็นเส้นทางศึกษาในอนาคตไปแทน ทำให้ระยะทางรวมลดเหลือ 170 กิโลเมตร นับจากสถานีลาดกระบัง
- สถานี 12 สถานี
- ขบวนรถ แบ่งขบวนให้บริการ 2 รูปแบบหลัก 3 รูปแบบย่อย แบ่งเป็น
- ซิตี้ไลน์ ให้บริการเพิ่ม 7 สถานี จากสถานีสุวรรณภูมิ ถึงสถานีฉะเชิงเทรา แล้วตีรถกลับสถานีดอนเมือง
- HST แยกเป็น Standard Line เป็นรถโดยสารที่จอดรับ-ส่งผู้โดยสารตั้งแต่สถานีฉะเชิงเทราเป็นต้นไปทุกสถานี ยกเว้นสถานีช่วงหัวตะเข้-บางเตย และ Airport Express เป็นรถโดยสารที่จะมุ่งตรงไปสถานีท่าอากาศยานอู่ตะเภาเพียงสถานีเดียว
ระยะที่สอง (อยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดเส้นทาง)
[แก้]อู่ตะเภา - ตราด
[แก้]- พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน อำเภอบ้านฉาง อำเภอเมืองระยอง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง, อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี, อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด
- เส้นทาง หลังจากออกจากท่าอากาศยานอู่ตะเภา แนวเส้นทางจะเลี้ยวขวา ผ่านนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เข้าสู่สถานีรถไฟระยอง และสถานีรถไฟแกลง ข้ามเขตเข้าจังหวัดจันทบุรี เข้าสู่สถานีรถไฟจันทบุรี และสิ้นสุดทั้งเส้นทางที่สถานีรถไฟตราด ในพื้นที่อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด
- สถานีศึกษา 4 สถานี
- ขบวนรถ ให้บริการเฉพาะ HST Standard Line เท่านั้น
รายชื่อสถานี
[แก้]รหัส | ชื่อสถานี | กม.ที่ | รูปแบบสถานี | รูปแบบชานชาลา | หมายเหตุ | ขบวนรถ | จุดเปลี่ยนเส้นทาง | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ARL | HST | รถในเมือง (สายซิตี้) |
รถธรรมดา (HST) |
รถด่วน (Airport Express) | |||||||
ช่วงที่ 1 : ดอนเมือง - พญาไท (ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์) | |||||||||||
A10 | HE1 | ท่าอากาศยานดอนเมือง | -20.122 | ยกระดับ | ชานชาลาด้านข้าง | ● | ● | ● | สายสีแดงเข้ม รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (สายอีสาน) รถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น (สายเหนือ) | ||
A9 | HE2 | สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ | -6.375 | อาคารผู้โดยสาร | ชานชาลากลาง | แยกพื้นที่ชานชาลาสำหรับ รถไฟในเมืองและรถไฟความเร็วสูง |
● | ● | ● | สายสีแดงเข้ม สายสีแดงอ่อน สายสีน้ำเงิน (บางซื่อ) | |
ช่วงที่ 2 : พญาไท - สุวรรณภูมิ (รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ในปัจจุบัน) | |||||||||||
A8 | พญาไท | 0.179 | ยกระดับ | ชานชาลาด้านข้าง | ปรับปรุงโครงสร้างสถานีเดิม ให้รองรับรถไฟความเร็วสูง |
● | - | - | สายสุขุมวิท (พญาไท) สายสีแดงอ่อน | ||
A7 | ราชปรารภ | 0.982 | ● | - | - | สายสีส้ม (ราชปรารภ) | |||||
A6 | HE3 | มักกะสัน | 3.000 (HST) 3.125 (ARL) |
อาคารผู้โดยสาร | ชานชาลาด้านข้าง | ● | ● | ● | สายสีน้ำเงิน (เพชรบุรี) สายสีแดงอ่อน | ||
A5 | รามคำแหง | 7.399 | ยกระดับ | ชานชาลาด้านข้าง | ● | - | - | สายสีแดงอ่อน | |||
A4 | หัวหมาก | 12.305 | ชานชาลาด้านข้าง | ● | - | - | สายสีเหลือง (หัวหมาก) สายสีแดงอ่อน | ||||
A3 | บ้านทับช้าง | 17.267 | ชานชาลาด้านข้าง | ● | - | - | สายสีแดงอ่อน | ||||
A2 | ลาดกระบัง | 23.498 | ● | - | - | สายสีแดงอ่อน | |||||
A1 | HE4 | ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ | 28.812 | ใต้ดิน | ชานชาลากลาง | ● | ● | ● | สายสีเงิน (สุวรรณภูมิ ฝั่งใต้) | ||
ช่วงที่ 3 : สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา (รถไฟฟ้าระหว่างเมือง) | |||||||||||
A-EX1 | หัวตะเข้ (พระจอมเกล้าลาดกระบัง) | ยกระดับ | ชานชาลาด้านข้าง | ใช้ประโยชน์จากโครงสร้าง บางส่วนสร้างสถานีสายซิตี้ |
● | - | - | ||||
A-EX2 | คลองหลวงแพ่ง | ● | - | - | |||||||
A-EX3 | คลองอุดมชลจร | ● | - | - | |||||||
A-EX4 | เปรง | ● | - | - | |||||||
A-EX5 | คลองแขวงกลั่น | ● | - | - | |||||||
A-EX6 | คลองบางพระ | ● | - | - | |||||||
A-EX7 | บางเตย | ● | - | - | |||||||
A-EX8 | HE5 | ฉะเชิงเทรา | 64.839 | อาคารผู้โดยสาร | ชานชาลากลาง | ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ | ● | ● | - | สายแยก แก่งคอย - คลอง 19 - ฉะเชิงเทรา ไปสายอีสาน | |
- | HE6 | ชลบุรี | 113.449 | ชานชาลาด้านข้าง | - | ● | - | ||||
- | HE7 | ศรีราชา | 136.119 | - | ● | - | |||||
- | HE8 | พัทยา | 160.929 | ชานชาลากลาง | - | ● | - | รถไฟฟ้าเมืองพัทยา[3] | |||
อุโมงค์ลอด ช่วงเขาชีจรรย์ ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จ.ชลบุรี | |||||||||||
- | HE9 | ท่าอากาศยานอู่ตะเภา | 196.410 | ชานชาลากลาง | ใต้ดิน | - | ● | ● | |||
ช่วงที่ 4 : อู่ตะเภา - ตราด (รถไฟฟ้าระหว่างเมือง) | |||||||||||
- | HE10 | ระยอง | n/a | อาคารผู้โดยสาร | ด้านข้าง | - | ● | - | |||
- | HE11 | แกลง | n/a | - | ● | - | |||||
- | HE12 | จันทบุรี | n/a | - | ● | - | |||||
- | HE13 | ตราด | n/a | - | ● | - |
สัญญาการก่อสร้าง และขอบเขตการดำเนินการ
[แก้]โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะใช้วิธีการมอบสัมปทานทั้งโครงการ โดยสัมปทานเป็นของ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (ชื่อเดิม บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด[4]) อันเป็นนิติบุคคลร่วมค้าเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นโดย กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และ ไชน่า เรลเวยส์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชัน จากประเทศจีน โดยกลุ่มผู้รับสัมปทานจะต้องมีหน้าที่ในการพัฒนาโครงการ และจะมีสิทธิ์ในสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับโครงการตามไปด้วย โครงการมีระยะเวลาของสัญญาสัมปทานที่ 50 ปี แบ่งเป็นระยะเวลาในการก่อสร้างโครงการ การปรับปรุงสถานีเดิม และการพัฒนาพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง 5 ปี หรือมากกว่า และระยะเวลาในการดำเนินการเชิงพาณิชย์ และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ 45 ปีหลังเริ่มดำเนินการรถไฟความเร็วสูงเชิงพาณิชย์ โดยมีรายละเอียดเนื้องานดังต่อไปนี้
ลำดับที่ | เนื้องาน |
---|---|
ขอบเขตที่ 1.ก - ออกแบบและก่อสร้างงานโยธาที่เกี่ยวกับรถไฟ ก่อสร้างงานโยธาที่เกี่ยวข้องกับรถไฟร่วม และงานระบบเครื่องกล ไฟฟ้า และระบบรถไฟฟ้า | |
ก.1 | งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างและปรับปรุงโครงสร้างทางยกระดับทั้งโครงการ ระยะทาง 220 กม. (136.7 ไมล์) |
ก.2 | งานออกแบบควบคู่ก่อสร้างและปรับปรุงสถานีรถไฟฟ้า 15 สถานี แบ่งเป็น (ก) งานออกแบบควบคู่การปรับปรุงสถานีเดิม 8 แห่ง และงานออกแบบควบคู่การปรับปรุงพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการรถไฟความเร็วสูงที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (ข) งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างสถานีใหม่ 6 แห่ง ได้แก่ สถานีท่าอากาศยานดอนเมือง สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีท่าอากาศยานอู่ตะเภา ทั้งคู่ให้รวมงานปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบสถานี และก่อสร้างอาคารจอดแล้วจร (ถ้ามี) |
ก.3 | งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างเส้นทางรถไฟร่วม แบ่งเป็น (ก) งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างเส้นทางใต้ดิน ช่วงบางซื่อ - สวรรคโลก - กำแพงเพชร 5 ระยะทาง 4.8 กม. (2.98 ไมล์) ของทั้งรถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วง บางซื่อ - มักกะสัน - หัวหมาก และ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วง บางซื่อ - หัวลำโพง (ข) งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างทางยกระดับ ช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง ระยะทาง 21.8 กม. (13.55 ไมล์) ให้รองรับการการเดินรถในเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ (กรุงเทพ - พิษณุโลก - เชียงใหม่) และรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเฉียงเหนือ (กรุงเทพ - นครราชสีมา - หนองคาย) |
ก.4 | งานก่อสร้างและปรับปรุงศูนย์ซ่อมบำรุงโครงการ 2 แห่ง แบ่งเป็น (ก) งานปรับปรุงศูนย์ซ่อมบำรุงซอยศูนย์วิจัย (คลองตัน) เดิม ให้รองรับการซ่อมบำรุงรถไฟความเร็วสูง (ข) งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ฉะเชิงเทรา ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา |
ก.5 | งานก่อสร้างสถานีจ่ายไฟฟ้าย่อย 1 แห่ง |
ก.6 | งานจัดหาระบบอาณัติสัญญาณ ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ ระบบโทรคมนาคมและสื่อสาร ระบบไฟฟ้ากำลัง ระบบประตูกั้นชานชาลา และระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ช่วยให้การเดินรถมีประสิทธิภาพ |
ก.7 | งานจัดหาระบบรถไฟฟ้า แบ่งเป็น (ก) ระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่รองรับความเร็วในการเดินทางสูงสุดที่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ข) ระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสำหรับเดินรถช่วงในเมือง ความเร็วในการเดินทางสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ค) จัดหาขบวนรถให้เหมาะสมกับการดำเนินการทั้งโครงการ |
ก.8 | งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่ช่วยให้การเดินรถมีประสิทธิภาพ |
ขอบเขตที่ 1.ข - งานการให้บริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา | |
ข.1 | งานเดินรถไฟฟ้าเป็นระยะเวลา 45 ปี นับตั้งแต่วันที่ รฟท. กำหนดให้มีการเดินรถทั้งระบบอย่างเป็นทางการ โดยให้ยกเว้น (ก) การเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ช่วงพญาไท - สุวรรณภูมิ กำหนดให้เข้าเดินรถได้ทันทีหลังชำระค่าระบบอาณัติสัญญาณและล้อเลื่อน โดยให้รอหมายแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรจาก รฟท. หลัง รฟท. ดำเนินการบอกเลิกสัญญาการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์และการโฆษณาบนพื้นที่สถานีรถไฟฟ้า (ข) การเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง กำหนดให้เข้าเดินรถได้หลัง รฟท. กำหนดให้มีการเดินรถส่วนต่อขยายอย่างเป็นทางการ |
ข.2 | งานจัดการระบบเดินรถไฟฟ้าที่ศูนย์ควบคุมกลาง |
ข.3 | งานจัดการรถไฟ |
ข.4 | งานจัดการพื้นที่สถานี |
ข.5 | งานซ่อมบำรุงรถไฟ |
ข.6 | งานจัดเตรียมอะไหล่สำหรับซ่อมบำรุงรถไฟตามกำหนด |
ขอบเขตที่ 2 - งานพัฒนาพื้นที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการ | |
2.ก | งานพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนพื้นที่สถานีมักกะสันของ รฟท. จำนวน 150 ไร่ กำหนดให้มีพื้นที่ทุกอาคารรวมกันไม่น้อยกว่า 850,000 ตารางเมตร และมูลค่าการลงทุนไม่ต่ำกว่า 40,000 ล้านบาท |
2.ข | งานพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนพื้นที่สถานีศรีราชาของ รฟท. จำนวน 25 ไร่ กำหนดให้มีพื้นที่ทุกอาคารรวมกันไม่น้อยกว่า 20,000 ตารางเมตร และมูลค่าการลงทุนไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท |
ขอบเขตที่ 3 - งานดำเนินการเชิงพาณิชย์ | |
3.ก | งานดำเนินกิจการเชิงพาณิชย์ รวมถึงจัดเก็บค่าโดยสาร จัดเก็บรายได้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากพื้นที่สถานี ภายนอก และภายในขบวนรถไฟฟ้า ทางเชื่อมต่อกับอาคารอื่น ๆ และการดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับโครงการ |
ภายใต้สัญญาว่าด้วยความเข้าใจภายในกลุ่ม กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร แต่ละบริษัทจะมีขอบเขตและหน้าที่การดำเนินงานต่อไปนี้
- บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด : จะเป็นผู้นำการประมูล ผู้มีอำนาจตัดสินใจสูงสุดภายในโครงการ และจะเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตามสถานีรายทาง บริเวณที่ดินมักกะสันคอมเพล็กซ์แปลง A และบริเวณที่ดินสถานีศรีราชา
- บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) : จะเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาทั้งโครงการ รวมงานปรับปรุงโครงสร้างรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เดิม
- ไชน่า เรลเวยส์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชัน : จะเป็นผู้ออกแบบโครงสร้างทางวิศวกรรมโดยรวมให้กับโครงการ และเป็นผู้จัดหาและติดตั้งระบบรถไฟฟ้าให้กับโครงการ
- บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน) : จะเป็นผู้ร่วมลงทุนในโครงการ
ผู้รับเหมาก่อสร้างและที่ปรึกษา
[แก้]- ผู้รับเหมาก่อสร้าง
- บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
- บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
- บริษัท เจริญโภคภัณฑ์วิศวกรรม จำกัด
- Ferrovie dello Stato Italiane
- บริษัทที่ปรึกษาและควบคุมงานก่อสร้าง
- ที่ปรึกษาด้านวิศวกรรม
- บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด
- ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม
- บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด
- ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจและการเงิน
เงินสนับสนุนโครงการและงบประมาณ
[แก้]โครงการได้รับการอนุมัติงบประมาณในการดำเนินการทั้งหมดที่ 224,544.36 ล้านบาท โดยรัฐบาลมีงบประมาณสนับสนุนให้ไม่เกิน 119,425.75 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณสูงสุดที่คำนวณจากค่าโครงสร้างพื้นฐานของโครงการ โดยงบประมาณแบ่งออกเป็นสามรายการดังต่อไปนี้
รายการที่ | รายละเอียด | กรอบวงเงิน (ล้านบาท) |
หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1 | งบลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน | ||
1.1 | ค่าเวนคืนที่ดิน | 3,570.29 | |
1.2 | ค่าก่อสร้างงานโยธาและงานวางราง | 113,303.88 | |
1.3 | ค่าก่อสร้างงานโยธาสำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วง Missing Link เพื่อสร้างอุโมงค์ช่วงจิตรลดา และรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ |
7,210.67 | |
1.4 | ค่างานระบบรถไฟฟ้า | 24,712.00 | |
1.5 | ค่างานจัดหาตู้รถไฟฟ้า | 15,491.32 | |
1.6 | ค่าวิศวกรที่ปรึกษา (ควบคุมงานก่อสร้าง และตรวจสอบอิสระ, ICE) | 4,429.84 | |
รวมกรอบวงเงินลงทุน | 168,718 | ||
2 | งบลงทุนโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เฉพาะส่วนระบบอาณัติสัญญาณและล้อเลื่อน |
10,671.09 | ไม่รวมค่าโครงสร้างพื้นฐานของโครงการที่ 22,558.06 ล้านบาท ซึ่งรัฐฯ เป็นผู้รับภาระค่าโครงสร้างพื้นฐานเอง |
3 | งบพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนบริการรถไฟบนที่ดินสองแห่ง ได้แก่ที่ดินบริเวณสถานีมักกะสัน (มักกะสัน คอมเพล็กซ์ โซน A) 150 ไร่ และบริเวณสถานีศรีราชา 25 ไร่ |
||
3.1 | งานพัฒนาพื้นที่สถานีมักกะสัน | 40,193.26 | |
3.2 | งานพัฒนาพื้นที่สถานีศรีราชา | 3,513.01 | |
3.3 | เงินลงทุนระบบสาธารณูปโภค ทางเข้า-ออก และสะพานล้อเลื่อน | 1,449.00 | |
รวมกรอบวงเงินลงทุน | 45,155.27 |
ความคืบหน้า
[แก้]- 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 - นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม และรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยกับประชาชาติธุรกิจว่า จะเปิดให้ประมูลโครงการภายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 โดยเชิญชวนผู้เข้าร่วมประมูลทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงรอผลการแก้ไขสัญญาร่วมทุนให้ต่างด้าวสามารถถือโครงการได้เกิน 50% จาก คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. .... เพื่อเปิดทางให้บริษัททุนต่างชาติเข้าร่วมลงทุนโครงการได้โดยไม่ต้องผ่านการจัดตั้งบริษัทลูกในประเทศไทย[5]
- 27 มีนาคม พ.ศ. 2561 - ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติร่างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบิน ระยะทาง 220 ในส่วนเส้นทางพญาไท-บางซื่อ-ท่าอากาศยานดอนเมือง และส่วนเส้นทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ท่าอากาศยานอู่ตะเภา โดยมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินงานร่วมกับเอกชนในรูปแบบ PPP-Net Cost ระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี ภายใต้กรอบเงินลงทุนรวมร่วมกับเอกชนไม่เกิน 119,000 ล้านบาท รวมมูลค่าโครงการทั้งโครงการในระยะเวลาสัมปทานแรก 400,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะออก TOR เชิญชวนเอกชนเข้าร่วมการประมูลได้ภายในเดือนเมษายนนี้
- 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 - นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) เปิดเผยว่า กศน. ต้องการออก TOR โครงการรถไฟความเร็วสูง ให้มีความครอบคลุมในการดำเนินการกับนานาประเทศ ยกระดับโครงการจากเมกะโปรเจกต์เป็นเมกะเวิลด์ ด้วยการเปลี่ยนแผนการลงทุนโครงการเป็นการลงทุนแบบนานาชาติตามข้อกำหนดของธนาคารโลก ดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ก่อให้เกิดการแข่งขันจากนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ และเพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับโครงการระดับเมกะเวิลด์ที่ประเทศไทยจะเปิดประมูลในอนาคต จึงจำเป็นต้องใช้เวลาในการพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและใช้เวลาในการปรับปรุงร่าง TOR เนื่องจากเปิดรับฟังความคิดเห็นแล้วพบว่าร่าง TOR ยังไม่สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว คาดว่าจะออก TOR เชิญชวนได้ไม่เกินเดือนพฤษภาคมนี้[6]
- 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 - นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า รฟท. ได้จัดทำร่าง TOR แล้วเสร็จกว่า 90% แต่ยังไม่สามารถออกเอกสารได้เนื่องจากต้องรอประกาศจากทางคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งจะกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ของผู้เข้าร่วมลงทุนในโครงการก่อนเช่น สัดส่วนการถือหุ้นระหว่างไทยกับต่างชาติ เกณฑ์เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์การใช้ที่ดิน เป็นต้น จากนั้น รฟท. จะต้องนำร่าง TOR ที่จัดทำขึ้นไปเทียบเคียงกับประกาศว่าสอดคล้องกันหรือไม่ หากไม่สอดคล้องจะต้องทำการปรับเงื่อนไขใหม่ ทำให้ไม่สามารถออกร่างได้ทันในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 และต้องเลื่อนแผนการดำเนินการออกไปเป็นปี พ.ศ. 2562 คาดการณ์ว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ใน พ.ศ. 2567[7]
- 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 - นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินว่า รฟท. อยู่ในระหว่างการศึกษา พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 เพื่อเตรียมที่จะออกเงื่อนไขการประมูลและเอกสารเชิญชวนเข้าร่วมประมูล (TOR) ภายในเดือนพฤษภาคมนี้ คาดว่าจะลงนามในสัญญาได้ในต้นปี พ.ศ. 2562 [8]
- 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 - นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในงานสัมมนา “GAME CHANGER เกมใหม่ เปลี่ยนอนาคต” ว่า ในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 รัฐบาลโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย และสำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เตรียมขายซองเพื่อให้นักลงทุนที่สนใจในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา ซึ่งจะทำให้รู้กรอบของ TOR ชัดเจนขึ้น โดยสัดส่วนการถือหุ้นจะยึดตามกฎหมายไทย คือต่างด้าวถือหุ้นในโครงการได้ไม่เกิน 49% จากนั้นภายในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 จะขายเอกสารประกวดราคาและเปิดยื่นซองประมูลภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 คาดว่าจะได้ผู้ชนะอย่างเร็วในช่วงปลายปี หรืออย่างช้าต้นปี พ.ศ. 2562 เพราะการเจรจาอาจจะใช้เวลานาน เนื่องจากเป็นโครงการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชนที่เป็นโครงการขนาดใหญ่และใช้เงินลงทุนสูง[9]
- 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 - นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และนายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการร่างทีโออาร์ ได้แถลงถึงการดำเนินโครงการและกรอบเวลาในการเปิดประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินว่า ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 รัฐฯ จะประกาศเชิญชวนผู้สนใจลงทุนและให้ข้อมูลเงื่อนไขการประมูล ในเบื้องต้นรัฐฯ ได้ตั้งเป้าหมายว่าจะได้ตัวผู้ชนะการประมูลซึ่งคาดว่าเป็นกลุ่มกิจการร่วมค้าภายใน พ.ศ. 2561 หลังจากนั้นจะเป็นกระบวนการในการต่อรองราคาครั้งสุดท้ายเพื่อยื่นเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติผู้ชนะการประมูล และคาดว่าจะลงนามสัญญาได้ประมาณต้นปี พ.ศ. 2562 ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง 5 ปี ปรับเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณและเปลี่ยนถ่ายผู้ให้บริการ 2 ปี และเปิดดำเนินการเต็มรูปแบบภายใน พ.ศ. 2567 โดยรูปแบบการร่วมลงทุนจะเป็นแบบ PPP Net Cost อายุสัมปทาน 50 ปี ครบสัญญาทรัพย์สินจะตกเป็นของรัฐบาล[10]
- 18 มิถุนายน - 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 - เริ่มเปิดขายซองประมูลโครงการฯ โดยมีเอกชนแสดงความสนใจเข้าซื้อซองประมูลทั้งหมด 31 ราย [11]
- 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 - เปิดรับเอกสารข้อเสนอเข้าร่วมลงทุนในโครงการ และเอกสารเสนอราคา มีเอกชนยื่นข้อเสนอเป็นกิจการร่วมค้า 2 ราย จาก 8 บริษัท ดังนี้[12]
- กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (60% เป็นผู้นำการประมูล), บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชัน จำกัด (มหาชน) (20%) และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (20%))
- กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (70% เป็นผู้นำการประมูล), บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน), บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (รวมกัน 15%), China Railway Construction Corporation Limited (10%) และ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (5%))
- 14 ธันวาคม พ.ศ. 2561 - นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจบริหารทรัพย์สิน รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบินเปิดเผยว่าหลังจากเปิดรับเอกสารข้อเสนอเข้าร่วมลงทุนในโครงการ และเอกสารเสนอราคา ผลปรากฏว่า กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร เป็นผู้ยื่นข้อเสนอดีที่สุด อย่างไรก็ตาม รฟท. ไม่สามารถเปิดเผยตัวเลขได้ เนื่องมาจากตัวเลขที่กลุ่มฯ เสนอเข้ามานั้นต่ำเกินเกณฑ์ที่คาดการณ์ไว้ อาจจะส่อเค้าทำให้รัฐฯ และกิจการของรัฐฯ ได้รับความเสียหาย จึงต้องเจรจาในรายละเอียดและเงื่อนไขการลงทุนแบบละเอียด หากการเจรจาไม่ได้ข้อยุติ รฟท. จะเรียก กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ เข้ามาเจรจาร่วมลงทุนแทน
- 21 ธันวาคม พ.ศ. 2561 - นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจบริหารทรัพย์สิน รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบินเปิดเผยหลังจากการประชุมสรุปซองข้อเสนอด้านการเงินและผลตอบแทน ผลปรากฏว่าผู้ยื่นข้อเสนอด้านการเงินที่ดีที่สุด คือ กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ซึ่งเสนอราคาที่ 117,227 ล้านบาท ต่ำกว่ากรอบวงเงินที่รัฐบาลอนุมัติไว้ที่ 2,198 ล้านบาท ในขณะที่ กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ เสนอราคาที่ 169,934 ล้านบาท สูงกว่ากรอบวงเงินที่อนุมัติไว้ 50,509 ล้านบาท และสูงกว่ากลุ่มซีพีถึง 52,707 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม รฟท. ได้รับหนังสือชี้แจงรายละเอียดของกรอบวงเงินจากทั้งสองกลุ่มเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2561 โดยกลุ่มบีเอสอาร์ชี้แจงว่าในกรอบวงเงินที่เสนอมา มีการรวมค่าปรับปรุงโครงสร้างทั้งหมดของโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เข้ามาในงบที่เสนอด้วย รวมถึงงบที่เสนอเป็นงบที่คำนวณจากฐานค่าก่อสร้างโครงการระบบขนส่งมวลชนซึ่งใช้เกณฑ์เดียวในการอ้างอิงกับโครงการของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย แต่ทางกลุ่มซีพีไม่ได้มีการเปิดเผย เพียงระบุว่าตัวเลขที่เสนอมาเป็นตัวเลขที่เป็นไปได้ในหลาย ๆ กรณี ทั้งนี้ รฟท. จะเชิญชวนตัวแทนกลุ่มซีพีเข้ามาร่วมเปิดซองข้อเสนอพิเศษของโครงการในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และจะเริ่มดำเนินการเจรจาในรายละเอียดในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2562 อย่างไรก็ตามหากการเจรจาไม่ได้ข้อสรุปภายในระยะเวลาสองอาทิตย์ ก็จะเชิญกลุ่มบีเอสอาร์เข้ามาเปิดซองข้อเสนอพิเศษของโครงการและดำเนินการเจรจาต่อ เพื่อให้ได้ผู้ชนะและเสนอต่อคณะรัฐมนตรีได้ภายในเดือนมกราคม พ.ศ. 2562
- 4 เมษายน พ.ศ. 2562 - นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจบริหารทรัพย์สิน รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เปิดเผยหลังจากการประชุมและเจรจารายละเอียดโครงการฯ ผลปรากฏว่า กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ซึ่งเป็นผู้ยื่นข้อเสนอราคาต่ำสุดที่ 117,227 ล้านบาท ได้บรรลุการตกลงในเรื่องต่าง ๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากนี้ฝ่ายกฎหมายของทั้งสองหน่วยงาน และฝ่ายกฎหมายของ สำนักงานโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (สำนักงาน EEC) จะดำเนินการเจรจาและร่างสัญญาสัมปทานโครงการร่วมกัน คาดว่าจะนำเสนอต่อคณะกรรมการอีอีซี และคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติสัญญาสัมปทานได้ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2562 และลงนามสัญญาสัมปทานได้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562
- 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 - คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติร่างสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทยกับ กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ตามที่สำนักงานโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกได้ยื่นเข้ามาพิจารณา คาดว่าจะลงนามสัญญาสัมปทานได้ในช่วงกลางเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562
- 7 มิถุนายน พ.ศ. 2562 - คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และเข้าที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2562[13]
- 24 มิถุนายน พ.ศ. 2562 - ที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีมติเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยใช้เวลาพิจารณารายงานเพียง 10 นาที และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเรื่องแผนการจัดทำแผนฉุกเฉิน กู้ภัยและอุบัติเหตุ[14]
- 24 ตุลาคม พ.ศ. 2562 - การรถไฟแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สำนักงาน EEC) ได้จัดพิธีลงนามในสัญญาร่วมลงทุนและสัญญาสัมปทานกับ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร และสัญญาว่าด้วยความเข้าใจในเรื่องการสนับสนุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระหว่าง การรถไฟแห่งประเทศไทย สำนักงาน EEC และบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด ณ ตึกสันติไมตรี(หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล โดยบริษัทดังกล่าวจะเป็นผู้ถือสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และเป็นบริษัทที่จะดำเนินการในส่วนธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับโครงการทั้งหมด
- 31 มกราคม พ.ศ. 2565 - การรถไฟแห่งประเทศไทย เตรียมเสนอของบผูกพัน 2 ปี (2566-2567) เป็นจำนวนเงิน 100 ล้านบาท เพื่อใช้ในการจัดจ้างที่ปรึกษาออกแบบ รวมทั้งจัดทำรายงานแผนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน และรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายระยอง-จันทบุรี-ตราด คาดว่าจะเสนอให้บอร์ด รฟท. อนุมัติได้ใน พ.ศ. 2567 ขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2568 หลังจากนั้นจะเริ่มเจรจากับ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด หรือกลุ่มซีพี ตามเงื่อนไขในสัญญาสัมปทานของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่กลุ่มซีพีจะได้รับสิทธิ์การเจรจาเข้าลงทุนส่วนต่อขยายจากส่วนสัมปทานก่อน หากกลุ่มซีพีไม่สนใจเข้าลงทุนถึงจะมีการเปิดประมูลหาเอกชนร่วมลงทุนโครงการใน พ.ศ. 2569 โดยระยะแรกจะเร่งรัดให้มีการก่อสร้างช่วงอู่ตะเภา-ระยอง ระยะทาง 30 กิโลเมตร มูลค่า 14,000 ล้านบาทก่อนเป็นลำดับแรก
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ แอร์พอร์ต ลิงก์โชว์ยอดผู้โดยสารเพิ่ม สิงหาคมแตะ2.1ล้านคน
- ↑ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด - thaicorporates.com
- ↑ "โครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยา ในรูปแบบรถไฟฟ้า". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-28. สืบค้นเมื่อ 2020-11-17.
- ↑ ซี.พี.รีแบรนด์ไฮสปีด3 สนามบิน เปลี่ยนชื่อเป็น”บ.เอเชีย เอรา วัน” พลิกโฉมระบบรางแห่งเอเชีย
- ↑ เปิด TOR รถไฟไฮสปีดอีอีซี พ่วงที่ดินมักกะสัน-แอร์พอร์ตลิงก์
- ↑ ปลดล็อก พ.ร.บ.ฮั้วประมูล เปิดทางกลุ่มทุนจีนลุยไฮสปีดเทรนกรุงเทพฯ-อู่ตะเภา
- ↑ เลื่อนประมูลไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน ไม่ทัน 15 พ.ค. นี้ รถไฟแจงต้องรอประกาศอีอีซี
- ↑ รฟท.เปิดประมูลไฮสปีดเทรน คุยลั่นทุ่งนักลงทุนแห่แย่งชิงขุมทรัพย์เดือน พ.ค.นี้
- ↑ รัฐบาลเตรียมขายซองโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน24พ.ค.นี้
- ↑ เปิดหวูดประมูลรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน 2.2 แสนล้าน 30 พ.ค. ได้ตัว ธ.ค. 61
- ↑ ว้าว! เซ็นทรัลก็มาซื้อซองประมูลไฮสปีด 3 สนามบิน 2.2 แสนล้าน ปิดจ็อบวันสุดท้ายท่วมท้น 31 ราย
- ↑ ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์ (8 มิถุนายน 2562). "ผ่านแล้ว EIA รถไฟ 3 สนามบิน รอชุดใหญ่ 24 มิ.ย. คาดเซ็นสัญญา "ซี.พี." ไม่เกินต้น ก.ค." mgronline.com. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ประชาชาติธุรกิจ (24 มิถุนายน 2562). "ฉลุย! "บิ๊กป้อม" ไฟเขียว EIA ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินใน 10 นาที". www.prachachat.net. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน - สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)
- สรุปรายละเอียดโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน - Sasin
- สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เก็บถาวร 2016-11-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เก็บถาวร 2006-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน