ชานมฮ่องกง
![]() ชานมฮ่องกงแบบร้อน | |
มื้อ | เครื่องดื่ม |
---|---|
แหล่งกำเนิด | ฮ่องกง |
อุณหภูมิเสิร์ฟ | ร้อนหรือเย็น |
ส่วนผสมหลัก | ชาแดง นมระเหยหรือนมข้น และน้ำตาล |
Hong Kong-style milk tea | |||||||||||||
ภาษาจีน | 港式奶茶 | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เยลกวางตุ้ง | Góngsīk náaihchà | ||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | Hong Kong-style milk tea | ||||||||||||
| |||||||||||||
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ | |||||||||||||
ภาษาจีน | 香港奶茶 | ||||||||||||
เยลกวางตุ้ง | Hēunggóng náaihchà | ||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | Hong Kong milk tea | ||||||||||||
| |||||||||||||
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ (2) | |||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 大排檔奶茶 | ||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 大排档奶茶 | ||||||||||||
เยลกวางตุ้ง | Daaihpàaidong náaihchà | ||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | dai pai dong milk tea | ||||||||||||
|
ชานมฮ่องกง เป็นเครื่องดื่มที่ทำจากชาแดงเติมนมระเหยหรือนมข้น วิธีการชงชานมแบบฮ่องกงถูกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมแห่งชาติของฮ่องกง
ต้นกำเนิด
[แก้]ชานมฮ่องกงมีที่มาจากสมัยอาณานิคมบริเตน วัฒนธรรมการดื่มชาของชาวอังกฤษได้รับความนิยมในฮ่องกง ข้อแตกต่างระหว่างชานมฮ่องกงและชานมอังกฤษนั้นอยู่ที่ชนิดของนม โดยชาวฮ่องกงนิยมใช้นมข้นหรือนมระเหยมากกว่านมสดธรรมดา[1]
ร้านไต่ไผ่ตงชื่อหล่านฟ้องยหวิ่น (จีน: 蘭芳園; ยฺหวิดเพ็ง: laan4 fong1 jyun4)[2] อ้างว่าเจ้าของร้านเป็นผู้คิดค้นสูตรชานมฮ่องกงและยวิ้นเยิ้งหรือกาแฟผสมชาใน ค.ศ. 1952[3] แม้ว่าจะไม่มีการยืนยันว่าเจ้าของหล่านฟ้องยหวิ่นค้นสูตรกาแฟผสมชา แต่มีหลักฐานในบันทึกการประชุมสภานิติบัญญัติฮ่องกงอ้างถึงสูตรชานมฮ่องกงของหล่านฟ้องยหวิ่น[4]
ในฮ่องกงนิยมเรียกว่า ไหนฉ่า (จีน: 奶茶; ยฺหวิดเพ็ง: naai5caa4; เยลกวางตุ้ง: náaihchà) หรือชานมเพื่อแยกจาก "ชาจีน" หรือ ฉ่า (จีน: 茶; ยฺหวิดเพ็ง: caa4; เยลกวางตุ้ง: chà) ซึ่งไม่เติมนม นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอีกชื่อได้แก่ ซี้หมัดไหนฉ่า (จีน: 絲襪奶茶; เยลกวางตุ้ง: sī maht náaihchà) หรือ "ชานมถุงน่อง" เนื่องจากถุงที่ใช้ชงชามีลักษณะคล้ายถุงน่อง[5] ชื่อเรียกนี้นิยมใช้เฉพาะในฮ่องกงและไม่นิยมเรียกในจีนแผ่นดินใหญ่หรือในฉ่าช้านแท้งนอกฮ่องกง[6]
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมแห่งชาติ
[แก้]กระทรวงนันทนาการและวัฒนธรรมของประเทศฮ่องกง (แอลซีเอสดี) ได้ประกาศใน ค.ศ. 2017 ให้ "การชงชานมแบบฮ่องกง" เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมแห่งชาติในหมวด "การฝีมือแบบดั้งเดิม" โดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกันกับการพิจารณาโดยยูเนสโก[7][8]
การชงชา
[แก้]"Silk stocking" milk tea | |||||||||||
การชงชาโดยใช้ถุงชงชา | |||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 絲襪奶茶 | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เยลกวางตุ้ง | sī maht náaihchà | ||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | silk-stocking milk tea | ||||||||||
|
ชานมฮ่องกงทำจากชาแดงหลายชนิดผสมกัน และอาจจะมีชาผูเอ่อร์ผสมด้วย นอกจากนั้นยังมีนมระเหย (นมข้นจืด) และน้ำตาล เจ้าของร้านกาแฟแต่ละแห่งจะมีสูตรประจำของตนเอง[9] ชานมแบบ ฉ่าเจ๋า (จีน: 茶走; ยฺหวิดเพ็ง: caa4 zau2) จะใช้นมข้นหวานแทนนมระเหยและน้ำตาล ซึ่งทำให้รสชาติเข้มข้นกว่า ร้านกาแฟบางแห่งยังนิยมใช้นมที่เพิ่มไขมันซึ่งทำจากนมพร่องมันเนยผสมกับน้ำมันถั่วเหลือง
การชงชาจะต้มทั้งน้ำและใบชาให้เดือดไปพร้อมกันก่อนจะราไฟลงมาให้เดือดช้า ๆ ประมาณ 3–6 นาที ใบชามักจะใส่ลงไปในถุงชงก่อนเติมน้ำเพื่อให้แยกใบชากับน้ำออกจากกันได้ง่าย หรือถ้าไม่ใช้ถุงชงก็จะกรองด้วยที่กรองหลังต้มเสร็จ[10] บางคนนิยมยกหม้อออกหลังจากต้มเดือดแล้วประมาณ 3 นาที แล้วนำกลับไปต้มใหม่อีกเมื่อต้องการ ขั้นตอนดังกล่าวสามารถกระทำซ้ำได้เรื่อย ๆ ซึ่งทำให้รสชาติของชาเข้มข้นขึ้น[11]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ R. Wertz, Richard. "Hong Kong Style Milk Tea". CULTURAL HERITAGE OF CHINA. ibiblio. สืบค้นเมื่อ 21 March 2013.
- ↑ "Lan Fong Yuen (Central)". OpenRice Hong Kong (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ "Brand Story_LAN Fong Yuen milk tea". www.hklanfongyuen.com. สืบค้นเมื่อ 2021-03-31.
- ↑ "OFFICIAL RECORD OF PROCEEDINGS Wednesday, 19 December 2007" (PDF). สภานิติบัญญัติฮ่องกง (ภาษาอังกฤษ). สภานิติบัญญัติฮ่องกง. 2007-12-19. สืบค้นเมื่อ 2021-11-30.
- ↑ "Hong-kongers crave their iconic pantyhose tea". Reuters. สืบค้นเมื่อ 18 January 2021.
- ↑ CNN Go 40 Hong Kong foods we can't live without เก็บถาวร 5 พฤศจิกายน 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 13 July 2011. Retrieved 9 October 2011
- ↑ "First HKICH inventory" (PDF). ICSD.
- ↑ "Hong Kong-style Milk Tea Making Technique". Intangible Cultural Heritage Office. สืบค้นเมื่อ 18 January 2021.
- ↑ PeoplesProductionHK (9 November 2011). "《飲食男女—大廚秘技》第廿四回 奶茶 (Cantonese)". youtube.com. สืบค้นเมื่อ 29 October 2012.
- ↑ "Best milk teas in Hong Kong (Page 1)". CNN Go. 7 June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2012. สืบค้นเมื่อ 29 October 2012.
- ↑ Santina. "Interview with tea restaurant". Taste of tea.Scent of leaves. Taste of tea.Scent of leaves. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-02. สืบค้นเมื่อ 21 March 2013.