ฉ่าช้านแท้ง
ฉ่าช้านแท้ง | |||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 茶餐廳 | ||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 茶餐厅 | ||||||||||||||||
ยฺหวิดเพ็ง | caa4 caan1 teng1 | ||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | "ภัตตาคารชา" | ||||||||||||||||
|
ฉ่าช้านแท้ง (จีนตัวย่อ: 茶餐厅; จีนตัวเต็ม: 茶餐廳; พินอิน: chácāntīng; ยฺหวิดเพ็ง: caa4 caan1 teng1; "ภัตตาคารชา") หรือ คาเฟ่ฮ่องกง (อังกฤษ: Hong Kong-style cafe) หรือ ไดเนอร์ฮ่องกง (อังกฤษ: Hong Kong-style diner) เป็นภัตตาคารรูปแบบหนึ่งที่มีที่มาจากฮ่องกง[1][2][3] ฉ่าช้านแท้งสามารถพบได้ทั่วไปในฮ่องกง มาเก๊า และ มณฑลกวางตุ้ง เนื่องมาจากคลื่นผู้อพยพจากฮ่องกงในทศวรรษ 1980s ทำให้ยังมีฉ่าช้านแท้งเปิดอยู่ในชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศตะวันตก เช่น ออสเตรเลีย, แคนาดา, สหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา ร้านอาหารรูปแบบนี้ถูกนำไปเปรียบเปรยกับคาเฟ่กรีสซีสปูน หรือไดเนอร์แบบอเมริกัน[3][4] เนื่องด้วยมีรายการอาหารที่ดีและราคาย่อมเยาว์ โดยมีอาหารจากอาหารฮ่องกง และ อาหารตะวันตกแบบฮ่องกง[5]
ประวัติศาสตร์
[แก้]นับตั้งแต่ทศวรรษ 1850s อาหารตะวันตกในฮ่องกงมีให้บริการเพียงในภัตตาคารเต็มระดับ ซึ่งเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้เฉพาะเพียงชนชั้นสูงและผู้มีเงิน คนท้องถิ่นซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชั้นแรงงานไม่สามารถเข้าถึงอาหารเช่นนี้ได้ ในทศวรรษ 1920s มื้ออาหารในภัตตาคารแบบตะวันตกอาจมีราคาถึง 10 ดอลล่าร์ ในขณะที่คนพื้นถิ่นมีรายรับ 10-15 ดอลล่าร์ ต่อเดือน[6]
หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ฮ่องกงมีอิทธิพลจากวัฒนธรรมอังกฤษสูงมาก[3] ดังที่พบได้จากคนท้องถิ่นเริ่มใส่นมในชาและทานเค้ก ชาวฮ่องกงบางส่วนจึงเริ่มตั้ง ฉ่าช้านแท้ง ขึ้นเพื่อพุ่งเป้าไปที่กลุ่มลูกค้าที่เป็นคนท้องถิ่น[7] โดยให้บริการอาหารกวางตุ้ง-ตะวันตก และเครื่องดื่ม ซึ่งมีราคาถูกมากจนทำให้เป็นที่เรียกกันว่า "อาหารตะวันตกราคาถูก" หรือ "อาหารตะวันตกราดซีอิ๊ว" (豉油西餐)[3]
ในทศวรรษ 1950s - 60s ร้านอาหารประเภทนี้ได้เปิดตัวขึ้นมากมายควบคู่กับรายรับของชนชั้นแรงงานที่มากขึ้นตาม ซึ่งทำให้ "อาหารตะวันตก" แบบนี้มีราคาเข้าถึงได้ง่ายขึ้น[3][8] ร้านอาหารพวก "อาหารฝรั่งราดซีอิ๊ว" และ bing sutt ("ห้องน้ำแข็ง") ต้องแปรสภาพมาเป็น ฉ่าช้านแท้ง[9] เพื่อตอบรับกับความต้องการสูงสำหรับอาหารฮ่องกง-ตะวันตกที่ให้บริการรวดเร็วและราคาเข้าถึงได้[8][9]
ต่อมาการบริหารงานของร้านประเภทนี้ได้ปรับตัวให้เข้ากับสภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกงและสังคมฮ่องกง ในระหว่างวิกฤตการณ์การเงินเอเชีย ปี 1997 ร้านอาหารประเภทนี้ยิ่งได้รับความนิยมสูงขึ้นอีกเนื่องจากยังคงให้บริการอาฟารที่ราคาถูกที่สุดแก่สาธารณชน[10]
กระทั่งปี 2007 ได้มีการออกกฎหมายให้ในฮ่องกงห้ามสูบบุหรี่ในที่ปิดเช่นร้านอาหาร ก่อนหน้านี้ ตาม ฉ่าช้านแท้ง อนุญาตให้สามารถสูบบุหรี่ได้ และเด็กเสิร์ฟบางคนยังสูบบุหรี่ขณะทำงานด้วยซ้ำ ในปีเดียวกัน ได้มีนักการเมืองฮ่องกงเสนอให้ขึ้นทะเบียน ฉ่าช้านแท้ง ในรายชื่อมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโกเนื่องด้วยความสำคัญต่อสังคมฮ่องกง[11] และในสิ้นปีนั้นได้มีการเสนอข้อเสนอนี้เข้าในสภานิติบัญญัติฮ่องกง ไม่นานหลังมีการทำแบบสำรวจในฮ่องกงพบว่าเจ็ดในสิบคนเชื่อว่าร้านอาหารประเภทนี้ควรได้รับการขึ้นทะเบียนทางวัฒนธรรมของยูเนสโกใด ๆ ก็ตาม[12] กระนั้น ฉ่าช้านแท้ง ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนใด ๆ จากยูเนสโก[3]
ในปี 2014 อาหารยอดนิยมใน ฉ่าช้านแท้ง จำนวนหนึ่ง ได้แก่ ชานม, ยฺวิ้นเยิ้ง (ชานมผสมกาแฟ), ขนมปังสัปปะรด และ ทาร์ตไข่ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของฮ่องกงเป็นชุดแรก[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Hong Kong-style Diner | Hong Kong Tourism Board". www.discoverhongkong.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 December 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
- ↑ Liu, Karon (15 September 2022). "How the Queen's death left me reconciling complicated feelings about the history of my favourite foods". Toronto Star. สืบค้นเมื่อ 10 October 2022.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Jones, Gary (11 March 2022). "Hong Kong's 'greasy spoon' cafes". BBC. สืบค้นเมื่อ 10 October 2022.
- ↑ Wordie, Jason (22 April 2007). "Cafe society". South China Morning News Post. สืบค้นเมื่อ 10 October 2022.
- ↑ Beerman, Jason "Cha chaan teng cheat sheet: What to order at the most popular eateries in Hong Kong" เก็บถาวร 24 กุมภาพันธ์ 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน CNN Go. 20 February 2012. Retrieved 4 March 2012
- ↑ .(December 2018). Titbits Through Time. Chinese Culinary Institute & International Culinary Institute.PDF
- ↑ . (28 December 2007). Cha Chaan Teng is not UNESCO Intangible Culture Heritage. Wenwipo. Weblink[ลิงก์เสีย].htm
- ↑ 8.0 8.1 . (2006). 茶餐廳與香港人的身分認同. Hong Kong University Press.
- ↑ 9.0 9.1 . (6 March 2016). 飲食男女《人物專訪》中環老牌熱狗王 六旬夥計不捨離開:對呢個招牌有感情. Eat and Travel Weekly.
- ↑ .(30 January 2008). Eating in Hong Kong: the Ch Chaan Teng. The New York Times.
- ↑ . Changing Chinese Foodways in Asia. Hong Kong: Chinese University Press, 2001. GoogleBooks
- ↑ Chong, Vince (23 December 2007). "Keeping alive a tea café culture". The Straits Times. p. 28.
- ↑ . (2006). Intangible Cultural Heritage Inventory of Hong Kong. Leisure and Cultural Services Department.