ข้ามไปเนื้อหา

ยูเอสแอร์เวย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ยูเอสแอร์)
ยูเอสแอร์เวย์
IATA ICAO รหัสเรียก
  • AL (1979–1988)
  • US (1988–2015)
  • USA (1979–2008)
  • AWE (2008–2015)
  • US AIR (1979–2008)
  • CACTUS (2008–2015)
ก่อตั้งค.ศ. 1937 (87 ปี)
(ในชื่อ ออลอเมริกันเอวิเอชัน)
เริ่มดำเนินงาน
เลิกดำเนินงาน
AOC #AALA025A[1]
ท่าหลัก
สะสมไมล์ดิวิเดนท์ไมล์
พันธมิตรการบิน
บริษัทลูก
บริษัทแม่ยูเอสแอร์เวย์กรุ๊ป
สำนักงานใหญ่[2]
บุคลากรหลักดัก พาร์คเกอร์ (CEO)[3]
เว็บไซต์www.usairways.com (เก็บถาวร 2015-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)

ยูเอสแอร์เวย์ (อังกฤษ: US Airways) เป็นอดีตสายการบินหลักของสหรัฐที่ดำเนิการตั้งปี ค.ศ. 1937 จนกระทั่งการผนวกกิจการเข้ากับอเมริกันแอร์ไลน์ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2015 สายการบินก่อตั้งขึ้นในพิตส์เบิร์กเป็นสายการบินขนส่งไปรษณีย์ด้วยชื่อออลอเมริกันเอวิเอชัน ซึ่งต่อมาจะให้บริการขนส่งผู้โดยสาร ในปี 1953 สายการบินเปลี่ยนชื่อเป็นอัลเลเกนีแอร์ไลน์ และดำเนินการในชื่อดังกล่าวเป็นเวลา 25 ปี ก่อนที่จะมาใช้ชื่อ ยูเอสแอร์ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1979 จากการบังคับใช้พระราชบัญญัติการยกเลิกกฎระเบียบการบินในสหรัฐ ในทศวรรษต่อมาสายการบินได้เข้าควบคุมกิจการของเพียดมอนต์แอร์ไลน์และแปซิฟิกเซาท์เวสต์แอร์ไลน์ และเป็นหนึ่งในเจ็ดสายการบินดั้งเดิมของสหรัฐ และในปี 1997 สายการบินเปลี่ยนชื่อเป็น ยูเอสแอร์เวย์

ยูเอสแอร์เวย์ มีท่าอากาศยานหลักอยู่ที่ชาร์ล็อตต์, ฟิลาเดลเฟีย, ฟีนิกซ์ และลาสเวกัส และยังมีท่าอากาศยานรองอยู่ที่พิตส์เบิร์ก รวมถึงเมืองสำคัญอย่างนิวยอร์ก-ลากวาเดีย, วอชิงตัน-เรแกน และบอสตัน

ยูเอสแอร์เวย์ยังให้บริการในชื่อยูเอสแอร์เวย์ชัตเทิล และยูเอสแอร์เวย์เอ็กซ์เพรส และเมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2003 ยูเอสแอร์เวย์กรุ๊ปได้ควบรวมกิจการกับ อเมริกาเวสต์โฮลดิง เจ้าของสายการบินอเมริกาเวสต์แอร์ไลน์ และประกาศตัวเป็นสายการบินต้นทุนต่ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก

จุดหมายปลายทาง

[แก้]

ข้อตกลงการบินร่วม

[แก้]

ตลอดการดำเนินงาน ยูเอสแอร์เวย์ได้มีข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินต่างๆ ดังนี้:[4]


ฝูงบิน

[แก้]

ฝูงบินสุดท้าย

[แก้]

ก่อนการเลิกดำเนินงาน ยูเอสแอร์เวย์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[11]

ฝูงบินของยูเอสแอร์เวย์
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร หมายเหตุ
J F Y รวม
แอร์บัส เอ319-100 93 12 112 124 โอนย้ายไปยังอเมริกันแอร์ไลน์
แอร์บัส เอ320-200 60 12 138 150
แอร์บัส เอ321-200 90 31 16 171 187
แอร์บัส เอ330-200 11 4 20 238 258 โอนย้ายไปยังอเมริกันแอร์ไลน์และปลดประจำการในปี 2020
แอร์บัส เอ330-300 9 28 263 291 โอนย้ายไปยังอเมริกันแอร์ไลน์และปลดประจำการในปี 2020
แอร์บัส เอ350-900 22[12] ไม่ทราบ คำสั่งซื้อโอนย้ายไปยังอเมริกันแอร์ไลน์ แต่ถูกยกเลิกหลังอเมริกันสั่งซื้อโบอิง 787 ดรีมไลเนอร์เพิ่มเติม 47 ลำ
โบอิง 737-400 14 12 132 144 โอนย้ายไปยังอเมริกันแอร์ไลน์และปลดประจำการในปี 2014
ไม่เคยทำการบินภายใต้ชื่ออเมริกันแอร์ไลน์
โบอิง 757-200 9 14 176 190 โอนย้ายไปยังอเมริกันแอร์ไลน์และปลดประจำการในปี 2020
15 12 164 176
โบอิง 767-200อีอาร์ 10 18 186 204 โอนย้ายไปยังอเมริกันแอร์ไลน์และปลดประจำการในปี 2015
ไม่เคยทำการบินภายใต้ชื่ออเมริกันแอร์ไลน์
เอ็มบราเออร์ อี190 20 11 88 99 โอนย้ายไปยังอเมริกันแอร์ไลน์และปลดประจำการในปี 2020
รวม 331 57

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ

[แก้]

เหตุการณ์ต่อไปนี้ เป็นอุบัติเหตุที่เกิดกับยูเอสแอร์เวย์และยูเอสแอร์เท่านั้น ไม่ได้รวมถึงอุบัติเหตุของสายการบินดั้งเดิมของยูเอสแอร์เวย์ หรือสายการบินลูกใดๆ

  • 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 เครื่องบินแมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-9-31 เที่ยวบิน 499 ไถลออกนอกทางวิ่งที่มีหิมะปกคลุมอยู่ ที่อีรี่ เพนซิลเวเนีย มีผู้ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยเพียง 1 คน[13]
  • 20 กันยายน พ.ศ. 2532 เครื่องบินโบอิง 737-400 เที่ยวบิน 5050 หางเสือเครื่องบินขัดข้องขณะที่กำลังนำเครื่องขึ้นจากท่าอากาศยานลากวาเดีย นิวยอร์กซิตี จนนักบินต้องยกเลิกเที่ยวบิน แต่เนื่องจากระยะของทางวิ่งที่เหลือไม่เพียงพอที่จะหยุดเครื่องได้ จึงพุ่งลงไปในแม่น้ำอีส มีผู้โดยสาร 2 คนที่เสียชีวิต และอีก 3 คนที่บาดเจ็บสาหัส[14]
  • 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 เครื่องบินโบอิง 737-300 เที่ยวบิน 1493 เส้นทางจากท่าอากาศยานนานาชาติซีราคูส แฮนค็อก รัฐนิวยอร์ก ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ชนกับเครื่องบินแฟร์ไชล์ด เมโทร 3 ของสกายเวสต์ เที่ยวบิน 5569 ขณะนำเครื่องลงจอดที่ลอสแอนเจลิส จนเกิดการระเบิดลุกไหม้ ผู้โดยสารและลูกเรือทั้ง 12 คนของสกายเวสต์ รวมทั้งผู้โดยสาร 20 คน นักบิน 1 คน และลูกเรือ 1 คน ของยูเอสแอร์เสียชีวิต มีผู้รอดชีวิตเพียง 77 คน[15]
  • 22 มีนาคน พ.ศ. 2535 เครื่องบินฟอกเกอร์ 28-4000 เที่ยวบิน 405 เนื่องจากเกิดความล่าช้า เครื่องจึงจอกอยู่ที่หลุดมจอดเป็นเวลานาน ทำให้มีน้ำแข็งเกาะอยู่ตามปีกและลำตัวเครื่อง ขณะนำเครื่องขึ้นจากท่าอากาศยานลากวาเดีย เครื่องจึงพุ่งลงอ่าวฟรัชชิง มีผู้เสียชีวิต 37 คน[6]
  • 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 เครื่องบินแมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-9-32 เที่ยวบิน 1016 บินไปยังท่าอากาศยานนานาชาติชาร์ล็อตต์/ดักลาส รัฐนอร์ทแคโรไลนา ซึ่งเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง มีกระแสลมไหลลงพื้นดิน (en:wind shear windshear) ทำให้เครื่องลดระดับลงอย่างรวดเร็ว และชนกับรั้วสนามบิน เครื่องแตกออกเป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 37 คน บาดเจ็บสาหัสอีก 16 คน และบาดเจ็บเล็กน้อยอีก 4 คน[16]
  • 8 กันยายน พ.ศ. 2537 เครื่องบินโบอิง 737-300 เที่ยวบิน 427 จากท่าอากาศยานนานาชาติโอแฮร์ ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติพิตส์เบิร์ก เกิดเหตุหางเสือของเครื่องบินขัดข้อง ทำให้เครื่องพุ่งลงพื้นดิน ผู้โดยสารและลูกเรือทั้ง 132 คนเสียชีวิต[17]
  • 16 ตุลาคม พ.ศ. 2546 เครื่องบินแอร์บัส เอ319-100 ขณะขับเครื่องอยู่บนทางวิ่งที่แทมป้า รัฐฟลอริดา ระบบห้ามล้อทำงานขัดข้อง มีเพียงลูกเรือ 1 คนที่บาดเจ็บสาหัส และมีผู้โดยสาร 2 คนที่บาดเจ็บเล็กน้อย[7]
  • 15 มกราคม พ.ศ. 2552 เครื่องบินแอร์บัส เอ320-200 เที่ยวบินที่ 1549 ได้ร่อนลงสู่แม่น้ำฮัดสัน หลังจากการร่อนขึ้นจากพื้นดินได้เพียง 6 นาที ขณะที่ไต่สู่ระดับความสูงที่ 3,200 ฟุต (980 ม.) หลังจาก 2 นาทีหลังจากร่อนขึ้นจากพื้นดิน เครื่องบินได้ชนกับฝูงนก ก่อให้เกิดเครื่องยนต์ดับทั้ง 2 เครื่อง ลูกเรือและผู้โดยสารรอดทุกคน [18]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Airline Certificate Information – Detail View". av-info.faa.gov. Federal Aviation Administration. May 12, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 13, 2015. สืบค้นเมื่อ May 15, 2015. Certificate Number AALA025A
  2. "US Airways - Phone/email". usairways.com. สืบค้นเมื่อ April 3, 2015.
  3. "American Airlines and US Airways Announce Post-Merger Management Team". frequentbusinesstraveler.com. สืบค้นเมื่อ April 3, 2015.
  4. "US Airways Codeshare partners". US Airways. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 29, 2011. สืบค้นเมื่อ August 8, 2011.
  5. "US Airways / airberlin Plans Codeshare Service from May 2014". RoutesOnline.com. April 23, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 5, 2016. สืบค้นเมื่อ October 22, 2015.
  6. Thomaselli, Rich (January 13, 2014). "American Airlines and US Airways Begin Codeshare Agreement". TravelPulse.
  7. "US Airways joins transatlantic JV; adds British Airways codeshare". Air Transport World. May 7, 2014. สืบค้นเมื่อ May 7, 2014.
  8. "Continental Ends Ticket Alliance With America West". The New York Times. March 28, 2002.
  9. "Airline Routes". Air Transport World. August 1, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 1, 2014.
  10. "Customers To Have More Access To Spain And Portugal Through US Airways' Codeshare Agreement With Atlantic Joint Business Partner Iberia" (Press release). American Airlines. June 11, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 13, 2016. สืบค้นเมื่อ June 12, 2014.
  11. "US Airways Fleet Details and History". Planespotters.net. August 9, 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 25, 2009. สืบค้นเมื่อ August 9, 2021.
  12. "American converts remaining A350-800s to larger -900s". Flightglobal. December 27, 2013. สืบค้นเมื่อ December 27, 2013.
  13. [1]
  14. [2]
  15. [3]
  16. [4]
  17. [5]
  18. Passenger jet plunges into Hudson River16 มิ.ย. 2552(อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]