ยุทธการที่เดิงแกร์ก
ยุทธการที่เดิงแกร์ก | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ ยุทธการที่ฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
ทหารบริติชตั้งหลักก่อนล่าถอยที่หาดเดิงแกร์ก | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
บริเตนใหญ่ แคนาดา[1] สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 โปแลนด์ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์[2] | ไรช์เยอรมัน | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
ลอร์ดโกร์ท มักซีม แวก็อง ฌอร์ฌ บล็องชาร์ เรอเน พรียู ฌ็อง-มารี อาบรียาล[3] |
แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท เอวัลท์ ฟ็อน ไคลสท์ | ||||||
กำลัง | |||||||
ประมาณ 400,000 นาย ทหารที่อพยพ 338,226 นาย[4] | ประมาณ 800,000 นาย | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
|
20,000 คนบาดเจ็บและเสียชีวิต 100 รถถัง เครื่องบิน 132 ลำถูกยิงตก |
ยุทธการที่เดิงแกร์ก เป็นปฏิบัติการทางทหารซึ่งเกิดที่เดิงแกร์ก (ดันเคิร์ก) ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง การยุทธ์นี้ต่อสู้กันระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรกับนาซีเยอรมนี เป็นส่วนหนึ่งของยุทธการที่ฝรั่งเศสบนแนวรบด้านตะวันตก ยุทธการที่เดิงแกร์กเป็นการป้องกันและอพยพทหารบริติชและฝ่ายสัมพันธมิตรในทวีปยุโรประหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม ถึง 4 มิถุนายน 1940
หลังสงครามลวง ยุทธการที่ฝรั่งเศสเริ่มอย่างจริงจังเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 1940 ทางทิศตะวันตก กองทัพเยอรมันกลุ่มบีบุกครองประเทศเนเธอร์แลนด์และบุกไปทางทิศตะวันตก ผู้บัญชาการสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตร พลเอกฝรั่งเศสมอริส กาเมอแล็ง เริ่ม "แผนดีล" และเข้าประเทศเบลเยียมเพื่อประจัญบานกับฝ่ายเยอรมันในประเทศเนเธอร์แลนด์ แผนดังกล่าวต้องพึ่งพาป้อมทหารบนเส้นมาฌีโนตามชายแดนเยอรมัน–ฝรั่งเศสอย่างมาก แต่กองทัพเยอรมันข้ามแนวดังกล่าวมาแล้วผ่านประเทศเนเธอร์แลนด์ส่วนใหญ่ก่อนกองทัพฝรั่งเศสมาถึง เกมลินจึงส่งกำลังภายใต้บังคับบัญชาของเขา ได้แก่ กองทัพยานยนต์ (mechanized army) สามหน่วย คือ กองทัพที่ 1 ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และกำลังรบนอกประเทศบริเตน (British Expeditionary Force) ไปแม่น้ำดีล (Dyle) วันที่ 14 พฤษภาคม กองทัพเยอรมันกลุมเอทะลวงผ่านป่าอาร์เดนและบุกไปทางทิศตะวันตกอย่างรวดเร็วสู่เซอด็อง (Sedan) แล้วหันขึ้นเหนือสู่ช่องแคบอังกฤษ การนี้ จอมพลเอริช ฟ็อน มันชไตน์ เรียกว่า "เกี่ยวออก" (หรือเรียก "แผนเหลือง" หรือแผนมันชไตน์) ซึ่งเป็นการโอบทัพฝ่ายสัมพันธมิตร
การตีโต้ตอบหลายครั้งของฝ่ายสัมพันธมิตร รวมทั้งยุทธการที่อารัส (Arras) ไม่สามารถหยุดยั้งหัวหอกของเยอรมนีได้ ซึ่งไปถึงชายฝั่งเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม แยกกองทหารบริติชใกล้กับอาร์ม็องตีแยร์ (Armentières) กองทัพที่ 1 แห่งฝรั่งเศส และกองทัพเบลเยียมที่อยู่เหนือขึ้นไปจากกำลังฝรั่งเศสส่วนใหญ่ที่อยู่ทางใต้ของการบุกทะลวงของเยอรมนี เมื่อถึงช่องแคบแล้ว กำลังเยอรมันกวาดไปทางเหนือตามชายฝั่ง คุกคามที่จะยึดท่าและดักกองทัพบริติชและฝรั่งเศสก่อนที่จะสามารถอพยพไปบริเตน
ฝ่ายเยอรมันหยุดการบุกเข้าเดิงแกร์กซึ่งเป็นการตัดสินใจที่มีการถกเถียงกันมากที่สุดครั้งหนึ่งของสงคราม สิ่งที่เรียกว่า "คำสั่งหยุด" นั้นมิได้มาจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ซึ่งขัดต่อความเชื่อของมหาชน จอมพลแกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท และกึนเทอร์ ฟ็อน คลูเกอ เสนอว่ากองทัพเยอรมันรอบวงล้อมเดิงแกร์กควรหยุดการบุกเข้าท่าและสะสมกำลังเพื่อเลี่ยงการตีฝ่าของฝ่ายสัมพันธมิตร ฮิตเลอร์อนุมัติคำสั่งดังกล่าวในวันที่ 24 พฤษภาคมด้วยการสนับสนุนของกองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพหยุดเป็นเวลาสามวันซึ่งทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรมีเวลาเพียงพอสำหรับจัดระเบียบการอพยพเดิงแกร์กและตั้งแนวป้องกัน แม้ว่าฝ่ายสัมพันธมิตรจะประเมินสถานการณ์ดังกล่าวไว้อย่างเลวร้าย โดยบริเตนถึงขั้นอภิปรายกันเรื่องยอมจำนนแบบมีเงื่อนไขต่อเยอรมนี ในบั้นปลายทหารฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับการช่วยเหลือกว่า 330,000 นาย
ภูมิหลัง
[แก้]หลังจากสงครามลวง (Phony War) ยุทธการฝรั่งเศสก็เริ่มขึ้นวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 กองพลยานเกราะเยอรมันผ่านอาร์แดนและมุ่งหน้าไปทางเหนือซึ่งมีเส้นทางคดเคี้ยวคล้ายคลึงกับเคียว จึงทำให้ยุทธวิธีการเคลื่อนพลนี้ถูกเรียกว่า "การเคลื่อนพลแบบเคียวผ่า" ส่วนในทางฝั่งตะวันออกกองทัพเยอรมันได้เปิดฉากการบุกและทำการผนวกเนเธอร์แลนด์เข้าเป็นรัฐของตนเอง และมุ่งหน้าไปยังเบลเยียมอย่างรวดเร็ว
กองกำลังผสมของสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเบลเยียม ทำการตั้งรับโดยการคุ้มกันอาณาบริเวณรอบ ๆ หมู่บ้านอาร์ม็องตีแยร์ ส่วนกองทัพเยอรมันทางเหนือก็ยังมุ่งหน้าต่อไป โดยการยึดเมืองกาแล ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญที่สุดทางตอนเหนือของฝรั่งเศส ทำให้กองกำลังเยอรมันสามารถตรึงกำลังทหารสัมพันธมิตรจำนวนมาก ให้ถูกปิดล้อมจากชายฝั่งทะเลในพรมแดนฝรั่งเศส-เบลเยียม เมื่อฝ่ายกองกำลังผสมจนมุมก็เท่ากับแพ้ศึกครั้งนี้
คำสั่งหยุด
[แก้]วันที่ 24 พฤษภาคม ฮิตเลอร์เยี่ยมกองบัญชาการของพลเอกอาวุโส ฟ็อน รุนท์ชเต็ท ที่ชาร์เลอวีล (Charleville) คิดกันว่าภูมิประเทศรอบเดิงแกร์กไม่เหมาะสำหรับยานเกราะ พลเอกอาวุโสรุนท์ชเต็ทแนะเขาว่าทหารราบควรเข้าตีกองทัพบริติชที่อารัส ที่ซึ่งฝ่ายบริติชพิสูจน์ว่าสามารถปฏิบัติการสำคัญได้ ขณะที่ยานเกราะของไคลสท์ตรึงแนวทางทิศตะวันตกและใต้ของเดิงแกร์กเพื่อยกเข้าทหารฝ่ายสัมพันธมิตรที่กำลังล่าถอยก่อนกลุ่มทัพ B ฮิตเลอร์ซึ่งคุ้นเคยกับที่ลุ่มชื้นแฉะของแฟลนเดอส์มาแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งก็เห็นชอบด้วย คำสั่งนี้ทำให้ฝ่ายเยอรมันเสริมความมั่นคงของดินแดนที่ยึดได้และตระเตรียมบุกลงใต้ต่อกองทัพฝรั่งเศสที่เหลือ
ผู้บัญชาการลุฟท์วัฟเฟอ จอมพลแฮร์มันน์ เกอริงขอโอกาสทำลายกองทัพในเดิงแกร์ก ฉะนั้นการทำลายกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรทีแรกจึงถูกมอบหมายให้แก่ลุฟท์วัฟเฟอระหว่างที่ทหารราบเยอรมันจัดระเบียบในกลุ่มทัพ B นายพรุนท์ชเต็ทเรียกการนี้ในภายหลังว่า "จุดพลิกผันยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งของสงคราม"[5][6][7][8]
เหตุผลที่แท้จริงสำหรับการตัดสินใจหยุดยานเกราะเยอรมันเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ทฤษฎีหนึ่งว่าฟ็อน รุนท์ชเต็ทและฮิตเลอร์ตกลงรักษายานเกราะไว้สำหรับฟัลรอท (Fall Rot) ซึ่งเป็นปฏิบัติการสำหรับทางใต้ เป็นไปได้ว่าความสัมพันธ์ของกองทัพอากาศที่ใกล้ชิดกับพรรคนาซีมากกว่ากองทัพบกมีส่วนให้ฮิตเลอร์อนุมัติคำขอของเกอริง อีกทฤษฎีหนึ่งซึ่งนักประวัติศาสตร์ส่วนน้อยยอมรับ มีว่า ฮิตเลอร์กำลังพยายามสถาปนาสันติภาพทางทูตกับบริเตนก่อนปฏิบัติการบาร์บารอสซา (การบุกครองสหภาพโซเวียต) แม้ว่าหลังสงครามฟ็อน รุนท์ชเต็ทตั้งข้อสงสัยว่าฮิตเลอร์ต้องการ "ช่วยพวกบริติช" โดยยึดการยกย่องจักรวรรดิบริติชระหว่างการเยี่ยมสำนักงานใหญ่ของเขาตามอ้าง แต่มีหลักฐานเล็กน้อยว่าฮิตเลอร์ต้องการปล่อยให้ฝ่ายสัมพันธมิตรหนีได้นอกจากถ้อยแถลงยกเว้นความรับผิดต่อตนเองของฮิตเลอร์เองในปี 1945[6][8][9] นักประวัติศาสตร์ ไบรอัน บอนด์ เขียนว่า
ปัจจุบันมีนักประวัติศาสตร์เพียงน้อยนิดยอมรับความคิดที่ว่า การที่ฮิตเลอร์ต้องการปล่อยทหารบริติชไปนั้น เกิดจากความหวังเล็กน้อยว่าต่อไปพวกเขาจะยอมรับสันติอย่างรอมชอม จริงอยู่ว่า พินัยกรรมทางการเมืองลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 1945 ระบุว่าฮิตเลอร์เศร้าใจที่เชอร์ชิล "ไม่ค่อยจะมีสปิริตนักกีฬา" ทั้งที่ฮิตเลอร์อุตส่าห์ยกเว้นไม่ทำลายกองกำลังต่างแดนบริติชที่เดิงแกร์ก แต่คำกล่าวนี้ไม่สอดคล้องกับบันทึกร่วมสมัย คำสั่งหมายเลข 13 ซึ่งกองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์ออกในวันที่ 24 พฤษภาคม เรียกร้องเป็นพิเศษให้ทำลายล้างกำลังทหารฝรั่งเศส อังกฤษ และเบลเยียม ที่ตกอยู่ในวงล้อม ขณะที่ลุฟท์วัฟเฟอได้รับคำสั่งป้องกันไม่ให้กองทหารอังกฤษหนีข้ามช่องแคบไปได้[10]
ฮิตเลอร์ไม่ได้ยกเลิกคำสั่งหยุดจนกระทั่งถึงเย็นวันที่ 26 พฤษภาคม นับเป็นเวลาสามวันที่ราชนาวีอังกฤษได้หยุดพักหายใจ เพื่อที่จะจัดการอพยพทหารบริติชและฝ่ายสัมพันธมิตร ทหารราว 338,000 นายได้ถูกช่วยเหลือในเวลาประมาณ 11 วัน[11]
การอพยพ
[แก้]ในวันที่ 22 พฤษภาคม ปฏิบัติการเตรียมความพร้อมเพื่อการอพยพก็เริ่มขึ้น ภายใต้รหัส ปฏิบัติการไดนาโม ซึ่งถูกสั่งการมาจากเมืองโดเวอร์โดยพลเรือโท เบอร์แทรม แรมเซย์ ซึ่งมีจุดประสงค์แรกคือการระดมกองเรือให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยสั่งการให้เรือราชนาวีทุกลำที่สามารถบรรทุกทหารได้ลำละ 1,000 นายขึ้นไปภายในพิกัด มุ่งหน้าไปยังเมืองเดิงแกร์กเพื่อขนถ่ายกองกำลังผสมแห่งบริเตนใหญ่ 45,000 นายกลับมายังประเทศอังกฤษให้ได้ภายในสองวัน ห้าวันต่อมากองเรือสามารถขนถ่ายกำลังพลกลับมาได้ 120,000 นาย ในวันที่ 27 พฤษภาคม รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ทำการขอความร่วมมือพลเรือนที่ครอบครองเรือและอยู่ในพิกัด ให้ช่วยปฏิบัติการอพยพโดยการสนับสนุนเรือกระบังแคบทุกลำที่มีปริมาตรตั้งแต่ 9.14-30.48 เมตร (30-100 ฟุต) ให้แก่ทางราชการเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการครั้งนี้ ในคืนเดียวกันนั้นการดำเนินการอพยพอย่างเป็นทางการครั้งแรกก็เริ่มต้น เรือจำนวนมากรวมถึงเรือจับปลาและเรือเก่าที่ถูกซ่อมแซมใหม่ ร่วมด้วยเรือนาวิกพานิชย์และเรือรบราชนาวี เดินเรือไประดมพลกันที่เมืองเชียร์เนสแล้วทุกลำจึงมุ่งหน้าไปยังเดิงแกร์กและล้อมชายฝั่งใกล้ ๆ เพื่อขนถ่ายกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรกลับมา แต่เนื่องจากการระดมยิงด้วยปืนใหญ่อย่างหนักโดยฝ่ายเยอรมัน มีทหารเพียง 8,000 นายเท่านั้นที่รอดกลับมาได้
เรือพิฆาตอีกสิบลำได้ถูกเรียกระดมพลเพื่อปฏิบัติการอพยพครั้งที่สองในวันที่ 28 พฤษภาคมในช่วงเช้าตรู่ แต่ก็ไม่สามารถประชิดชายฝั่งได้มากพอเนื่องจากน้ำตื้นเกินไป อย่างไรก็ตามทหารหลายพันนายก็ได้รับการช่วยเหลือออกมาได้ และแสดงให้เห็นว่าเรือลำเล็กกว่ามีประโยชน์มากกว่าเรือลำใหญ่ในบางสถานการณ์ ทำให้อู่ต่อเรือก็เริ่มค้นหาเรือที่มีขนาดพอเหมาะ และให้พวกมันไปรวมกันที่เมืองเชียร์เนส แชทแฮม และโดเวอร์ ด้วยเรือที่มีขนาดเล็กลงทำให้จุดรวมพลสัมพันธมิตรอยู่ใกล้ขึ้น 30 ตารางกิโลเมตรภายในวันที่เดียวกัน ยุทธการหลังจากได้เรือลำเล็กแล้วประสบความสำเร็จดีเยี่ยม พร้อมกับทหารอีก 16,000 นายที่สามารถอพยพกลับมาได้ แต่ยุทธการทางอากาศของเยอรมนีก็เพิ่มขึ้นเช่นกันและเรือหลายต่อหลายลำอับปางลง และอีกหลายต่อหลายลำที่ได้รับความเสียหายอย่างหนัก รวมทั้งเรือพิฆาตเก้าลำ
ในวันที่ 29 พฤษภาคม กองยานเกราะเยอรมันหยุดการบุกเมืองเดิงแกร์กแล้วปล่อยให้ทหารราบและลุฟท์วัฟเฟอเป็นผู้บุก ยุทธวิธีที่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์นิยมนำมาใช้ กลับไร้ผลและขาดประสิทธิภาพเทียบจากการปฏิบัติการในศึกครั้งนี้กับศึกครั้งก่อน (การบุกครองโปแลนด์) แต่ถึงกระนั้นก็มีทหารเพียงแค่ 14,000 นายเท่านั้นที่อพยพกลับมาในวันนั้น และในตอนโพล้เพล้ของวันที่ 30 พฤษภาคม เรือลำเล็กจำนวนมากเข้าเทียบท่าพร้อมกับทหาร 30,000 นาย ในวันที่ 31 พฤษภาคม กองกำลังสัมพันธมิตรต้อนเข้ามาสู่เมืองเดอปันเนอและแบร-ดูน ซึ่งห่างจากเมืองเดิงแกร์กอีก 5 กิโลเมตร ในวันเดียวกันนั้นทหารถึง 68,000 นายถูกอพยพกลับมา และอีก 10,000 นาย ภายในคืนเดียวกัน การอพยพครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายคือในในวันที่ 1 มิถุนายน ทหารอีก 65,000 นายเดินทางกลับมายังอังกฤษ แต่ปฏิบัติการย่อย ๆ นั้นยังคงยังคงดำเนินต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 4 มิถุนายน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Castellow Ellen. "Evacuation of Dunkirk"
- ↑ "Dunkirk Evacuation". Encyclopædia Britannica World War II. สืบค้นเมื่อ 9 January 2016.
- ↑ The War in France and Flanders. Chapter XII
- ↑ Rickard J. "Operation Dynamo The Evacuation from Dunkirk 27 May-4 June 1940." historyofwar.org. Retrieved 14 May 2008.
- ↑ Taylor and Mayer 1974, p. 59.
- ↑ 6.0 6.1 Taylor and Mayer 1974, p. 60.
- ↑ Shirer 1959, p. 877.
- ↑ 8.0 8.1 Atkin 1990, p. 120.
- ↑ Kershaw 2008, p. 27.
- ↑ Bond 1990, pp. 104–05.
- ↑ Lord 1983, p. 148.