ข้ามไปเนื้อหา

ยุทธการที่ฟรีทลันท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ยุทธการที่ฟรีดลันท์)
ยุทธการที่ฟรีทลันท์
ส่วนหนึ่งของ สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่

นโปเลียนกำลังออกคำสั่งต่อนายพลนีกอลา อูดีโน
ในยุทธการที่ฟรีทลันท์
วันที่14 มิถุนายน ค.ศ. 1807
สถานที่54°27′N 21°01′E / 54.450°N 21.017°E / 54.450; 21.017
ผล

ฝรั่งเศสชนะ

คู่สงคราม
จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง
ราชอาณาจักรซัคเซิน ราชอาณาจักรซัคเซิน[1]
จักรวรรดิรัสเซีย จักรวรรดิรัสเซีย
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กำลัง
80,000 นาย (รบจริง 65,000 นาย[2])
ปืนใหญ่ 118 กระบอก[3][4][5][6][7][8][9]
46,000–60,000 นาย
ปืนใหญ่ 120 กระบอก[3][4][6][7][8]
ความสูญเสีย
8,000[10]–10,000 นาย[11] 20,000[10]–40,000 นาย[12] ตายเจ็บและถูกจับ

ยุทธการที่ฟรีทลันท์ (ฝรั่งเศส: bataille de Friedland) เป็นการปะทะครั้งสำคัญในสงครามนโปเลียน ระหว่างจักรวรรดิฝรั่งเศสนำโดยนโปเลียนที่ 1 กับจักรวรรดิรัสเซียนำโดยนายพลเคานต์แห่งเบ็นนิชเซิน ซึ่งในศึกครั้งนี้ นโปเลียนได้รับชัยชนะขาดลอยจนทำให้กองทัพรัสเซียร่นถอยอย่างอลหม่านข้ามแม่น้ำอัลเลอในช่วงท้ายยุทธการ สนามรบของศึกครั้งนี้ตั้งอยู่ที่ฟรีทลันท์ของปรัสเซีย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในแคว้นคาลินินกราดของรัสเซีย

ชัยชนะของฝรั่งเศสในศึกนี้ มีมากพอจะโน้มน้าวให้รัสเซียเห็นความจำเป็นในการทำสันติวิธี ยุทธการครั้งนี้เสมือนเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่ เมื่อจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย จำยอมเข้าสู่การเจรจาสันติภาพกับนโปเลียน จนเกิดเป็นสนธิสัญญาทิลซิท ว่าด้วยการที่จักรวรรดิรัสเซียจะเข้าร่วมการปิดล้อมภาคพื้นทวีปต่อสหราชอาณาจักร และว่าด้วยการที่ราชอาณาจักรปรัสเซียสูญเสียดินแดนมหาศาล ซึ่งดินแดนที่สูญเสียดังกล่าวถูกยกให้แก่ราชอาณาจักรเว็สท์ฟาเลินที่สถาปนาขึ้นใหม่และถูกปกครองโดยเฌโรม โบนาปาร์ต อนุชาของนโปเลียน นอกจากนี้ สนธิสัญญาทิลซิทยังทำให้ฝรั่งเศสเข้าควบคุมหมู่เกาะไอโอเนียน อันเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการเดินเรือเข้าออกทะเลเมดิเตอร์เรเนียน นักประวัติศาสตร์บางคนมองว่าช่วงนี้เป็นจุดสูงสุดของจักรวรรดิของนโปเลียน เนื่องจากยุโรปภาคพื้นทวีปไม่เหลืออำนาจใดที่จะต่อกรกับนโปเลียนได้อีกแล้ว[13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Everson, Robert E. (2014). Marshal Jean Lannes In The Battles Of Saalfeld, Pultusk, And Friedland, 1806 To 1807: The Application Of Combined Arms In The Opening Battle. Pickle Partners Publishing. ISBN 9781782899037. สืบค้นเมื่อ 5 July 2021. The Saxons also had a small division with two brigades, two cavalry regiments and two foot batteries in the French reserve Corps at Friedland.
  2. Clodfelter 2002.
  3. 3.0 3.1 Chandler, 1999: 161
  4. 4.0 4.1 Dowling T. C. Russia at War: From the Mongol Conquest to Afghanistan, Chechnya, and Beyond. ABC-CLIO. 2014. P. 279: "Napoleon, with 80,000 men and 118 cannon".
  5. Chandler, D. The Campaigns of Napoleon. Scribner, 1966, p. 576.
  6. 6.0 6.1 Tucker S. C. A Global Chronology of Conflict: From the Ancient World to the Modern Middle East. ABC-CLIO. 2009. P. 1055: "The Battle of Friedland of June 14, 1807, pits Napoleon with 80,000 men against Bennigsen with only 60,000".
  7. 7.0 7.1 Emsley C. Napoleonic Europe. Routledge. 2014. P. 236
  8. 8.0 8.1 Sandler S. Ground Warfare: An International Encyclopedia, Volume 1. ABC-CLIO. 2002. P. 304: "Friedland... A battle in East Prussia between French forces, ultimately numbering 80,000, commanded by Napoleon Bonaparte, and Russian forces, numbering about 46,000 under Levin, Count Bennigsen".
  9. Nicholls D. Napoleon: A Biographical Companion. ABC-CLIO. 1999. P. 105: "Some 50,000 Russians under Levin von Bennigsen faced 80,000 of the Grande Armée".
  10. 10.0 10.1 Chandler 1995 p. 582.
  11. Fisher, Todd & Fremont-Barnes, Gregory. The Napoleonic Wars: The Rise and Fall of an Empire. Osprey Publishing, 2004, p. 90
  12. Fisher, 2001: 78
  13. Chandler 1995, p. 585. Bourrienne, a French diplomat and formerly Napoleon's secretary, wrote, "The interview at Tilsit is one of the culminating points of modern history, and the waters of the Niemen reflected the image of Napoleon at the height of his glory."