ข้ามไปเนื้อหา

กรีซโบราณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ยุคกรีซโบราณ)
ประวัติศาสตร์กรีซ
Coat of Arms of Greece
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความที่เกี่ยวกับ
ประเทศกรีซ

กรีซยุคสำริด
อารยธรรมเฮลลาดิค
อารยธรรมซิคละดีส
อารยธรรมไมนอส
อารยธรรมไมซีนี
กรีซโบราณ
กรีซยุคมืด
กรีซยุคอาร์เคอิก
กรีซยุคคลาสสิก
กรีซยุคเฮลเลนิสติก
กรีซยุคโรมัน
กรีซยุคกลาง
กรีซยุคไบแซนไทน์
กรีซยุคฟรังโคคราเชีย
กรีซยุคออตโตมัน
กรีซยุคใหม่
สงครามประกาศเอกราชกรีซ
ราชอาณาจักรกรีซ
สาธารณรัฐเฮลเลนิกที่ 2
คณะการปกครอง 4 สิงหาคม
กรีซยุคยึดครองโดยอักษะ
สงครามกลางเมืองกรีซ
กรีซยุคปกครองโดยทหาร ค.ศ. 1967-1974
สาธารณรัฐเฮลเลนิกที่ 3
ประวัติศาสตร์แบ่งตามหัวข้อ

สถานีย่อยกรีซ
ซากปรักหักพังของวิหารที่ เดลฟี ตามที่ปรากฏใน ค.ศ. 1938

กรีซโบราณ (อังกฤษ: Ancient Greece) เป็นอารยธรรมที่ตั้งอยู่บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ดำรงอยู่ตั้งแต่ยุคมืดของกรีซในช่วงศตวรรษที่ 12-9 ก่อนคริสต์ศักราช จนถึงปลายยุคคลาสสิก (ประมาณ ค.ศ. 600) ประกอบด้วยกลุ่มนครรัฐและดินแดนอื่น ๆ ที่มีความสัมพันธ์กันทางวัฒนธรรมและภาษาศาสตร์ ภูมิภาคเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้รวมเป็นหนึ่งอย่างเป็นทางการเพียงครั้งเดียวเป็นเวลา 13 ปีภายใต้การปกครองของอเล็กซานเดอร์มหาราชตั้งแต่ 336 ถึง 323 ปีก่อนคริสตกาล (กล่าวคือ ไม่รวมนครรัฐกรีกจำนวนหนึ่งที่เป็นอิสระจากเขตอำนาจของอเล็กซานเดอร์ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตก รอบทะเลดำ ไซปรัส และไซเรไนกา) ทั้งนี้ ในประวัติศาสตร์ตะวันตก ยุคกรีซโบราณจะตามมาด้วยยุคกลางตอนต้นและยุคไบแซนไทน์

ประมาณ 300 ปีหลังการล่มสลายปลายยุคสัมฤทธิ์ของอารยธรรมกรีซแบบไมซีนี เมืองในลักษณะโพลิส (poleis) ของกรีกได้เริ่มก่อตัวขึ้นในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศักราช นำไปสู่ยุคอาร์เคอิกและการล่าอาณานิคมรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จากนั้นตามมาด้วยยุคคลาสสิก ตั้งแต่สงครามกรีก-เปอร์เซีย จนถึงศตวรรษที่ 5 ถึง 4 ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งรวมถึงยุคทองของเอเธนส์ด้วย การพิชิตของอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซีโดเนียได้แพร่กระจายอารยธรรมแบบเฮลเลนิสต์จากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตกไปจนถึงภูมิภาคเอเชียกลาง ก่อนที่จะสิ้นสุดลงด้วยการพิชิตภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกของสาธารณรัฐโรมัน และการผนวกมณฑลมาซิโดเนียและอาเคียในสมัยจักรวรรดิโรมัน

วัฒนธรรมกรีกคลาสสิก โดยเฉพาะปรัชญา มีอิทธิพลอย่างมากต่อโรมโบราณ ตลอดจนทั่วทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและส่วนใหญ่ของยุโรป ด้วยเหตุผลนี้ จึงถือเป็นแหล่งกำเนิดของอารยธรรมตะวันตกโดยทั่วไป และเป็นวัฒนธรรมต้นทางที่ชาวตะวันตกสมัยใหม่ได้รับต้นแบบและเป็นรากฐานในการเมือง ปรัชญา วิทยาศาสตร์ และศิลปะ[1][2][3]

กรีซโบราณ' เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต์


ประวัติศาสตร์

[แก้]
ความเสื่อมโทรมของสปาต้า

ในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริตศักราช ชาวกรีกมีความสามารถที่จะเรียนรู้การเขียนและอ่านหนังสือ พวกเขาเรียนตัวอักษรมาจาก อีกกลุ่มบุคคลหนึ่งคือพวกโปรนีเซียน ตอนแรกชาวกรีกยังไม่เป็นประเทศแต่เป็นเพียงแค่ นครรัฐ จำนวนชาวกรีกเพิ่มจำนวนขึ้นและจนวันหนึ่งอาหารทีมีไม่เพียงพอแก่ทุกคน เมื่อเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ทางรัฐจึงส่งคนออกไปหาเริ่มต้นเมืองแห่งใหม่ เนื่องด้วยพื้นที่ภูมิประเทศขรุขระและมีลมพายุ ด้วยเหตุผลนี้การสร้างเมืองใหม่จึงอยู่ตามแถบชายฝั่ง เมืองแรกที่ตั้งเริ่มในเขต อนาโตเลีย หลังจากนั้นก็แถวทะเลดำ ไซปรัส ทางตอนใต้ของอิตาลี และในซิซิลี ซึ่งในปัจจุบันคือ ลิเบีย และ แอลบาเนีย และเริ่มตั้งเมืองใน นูคราตีส ในแม่น้ำไนล์ ในอิยิปต์ ซึ่งในปัจจุบันคือเมือง เซราคิวส์, เนเปิ้ล, มาไซเลสและ อิสตันบูล ในศตวรรษที่ 6 บางเมืองมีความสำคัญมากเช่น คอริส, ธีบส์ (กรีซ), สปาร์ต้า, และ เอเธนส์ที่เรารู้จักกันดี

ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่ากรีกโบราณนั้นมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดอยู่ตำแหน่งใด โดยทั่วไปแล้วจะกล่าวถึงประวัติศาสตร์กรีกก่อนหน้าจักรวรรดิโรมัน แต่นักประวัติศาสตร์ต้องการความแม่นยำมากกว่า ผู้เขียนบางคนรวมยุคของอารยธรรมไมนวน และไมซีนีเข้าไปด้วย (ตั้งแต่ประมาณ 1600 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถึง 1100 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ในขณะที่บางคนแย้งว่าอารยธรรมเหล่านั้นมีความแตกต่างกับอารยธรรมกรีกในยุคต่อมามากจึงควรมีการแบ่งแยกออกจากกัน

โดยทั่วไปแล้วจะกล่าวถึงกรีกยุคโบราณตั้งแต่การล่มสลายของไมซีนีจนกระทั่งถึงการพิชิตของโรมัน ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่

  • ช่วงเรขาคณิต 1100 - 800 ปีก่อนคริสต์ศักราช
  • ช่วงอาร์ไคกา 800 - 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช
  • ช่วงคลาสสิก 500 - 323 ปีก่อนคริสต์ศักราช
  • ช่วงเฮเลนนิส 323 - 146 ปีก่อนคริสต์ศักราช

การปกครอง

[แก้]

ในยุคแรก ๆ แต่ละตระกูลจะส่งผู้เฒ่า เป็นตัวแทนเข้าไปหารือกัน เป็นรากฐานของประชาธิปไตย และต่อมามีการเลือกตั้งพระราชาเป็นผู้ปกครอง ต่อมาในยุคสปาร์ตาได้เริ่มมีการวางกฎระเบียบ โดย ลิเคอร์คุส ซึ่งถือเป็นกฎหมายมีสามส่วน คือ

  1. การอบรมเด็ก
  2. ฐานะพลเมือง
  3. ระเบียบการปกครอง

ในยุคสมัยของโซลอน ได้แบ่งอำนาจการปกครองเป็น 5 ส่วน[4] คือ

  1. อาร์คอนส์ (Archons)
  2. สภาเซเนต
  3. ที่ประชุมราษฏร
  4. ศาลสูง
  5. ศาลต่ำ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Maura Ellyn; Maura McGinnis (2004). Greece: A Primary Source Cultural Guide. The Rosen Publishing Group. p. 8. ISBN 978-0-8239-3999-2.
  2. John E. Findling; Kimberly D. Pelle (2004). Encyclopedia of the Modern Olympic Movement. Greenwood Publishing Group. p. 23. ISBN 978-0-313-32278-5.
  3. Wayne C. Thompson; Mark H. Mullin (1983). Western Europe, 1983. Stryker-Post Publications. p. 337. ISBN 9780943448114. for ancient Greece was the cradle of Western culture ...
  4. หลวงวิจิตรวาทการ,การปกครองสมัยโบราณ หนังสือพิมพ์แจกงานศพนายอินทร์ วัฒนปฤดา 5 มีนาคม 2475