ข้ามไปเนื้อหา

อารยธรรมเฮลเลนิสต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อารยธรรมเฮเลนนิสติค)
ดินแดนเฮลเลนิสต์ที่รวมทั้งอาณาจักรไดแอโดคาย (Diadochi):
  ราชอาณาจักรของทอเลมีที่ 1 โซเตอร์
  ราชอาณาจักรของคาสแซนเดอร์
  ราชอาณาจักรของลิซิมาคัส
  ราชอาณาจักรของเซลูคัสที่ 1 นิคาทอร์
ดินแดนอื่นบนแผนที่:
  คาร์เทจ (ไม่ใช่ของกรีก)
  โรมัน (ไม่ใช่ของกรีก)
บริเวณสีส้มเป็นบริเวณที่ขัดแย้งกันหลังจากปี 281 ก่อนคริสต์ศตวรรษ; ราชอาณาจักรเพอร์กามอนยึดครองบางส่วน; ไม่ได้แสอง: อินโด-กรีก

อารยธรรมเฮลเลนิสต์ (อังกฤษ: Hellenistic civilization) เป็นจุดสูงสุดของความมีอิทธิพลของอารยธรรมกรีกในโลกยุคโบราณตั้งแต่ราวปี 323 จนถึงราวปี 146 ก่อนคริสต์ศตวรรษ (หรืออาจจะดำเนินต่อมาถึงปี 30 ก่อนคริสต์ศตวรรษก็เป็นได้) เป็นสมัยที่ตามมาจากสมัยกรีกคลาสสิก (Classical Greece) และตามมาทันทีด้วยการปกครองของโรมในบริเวณที่เคยปกครองโดยหรือมีอิทธิพลจากกรีซ – แม้ว่าวัฒนธรรม ศิลปะ และวรรณคดีของกรีซจะยังคงมีอิทธิพลต่อสังคมของโรมัน ที่ชนชั้นสูงจะพูดและอ่านภาษากรีกได้ดีพอ ๆ กับภาษาละติน หลังจากชัยชนะต่อจักรวรรดิเปอร์เชียโดยอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิดอนกรีกแล้ว ราชอาณาจักรมาซิโดเนียต่าง ๆ ก็ได้รับการก่อตั้งขึ้นทั่วบริเวณเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ (ตะวันออกใกล้ และ ตะวันออกกลาง) และทางตะวันออกเฉียงเหนือของแอฟริกา (ส่วนใหญ่ในอียิปต์โบราณ) ซึ่งเป็นผลให้วัฒนธรรมและภาษากรีกเผยแพร่ไปยังดินแดนต่าง ๆ ที่ก่อตั้งขึ้น และในทางกลับกันอาณาจักรใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นต่างก็รับวัฒนธรรมท้องถิ่นเข้ามาใช้ตามแต่จะสะดวกและมีประโยชน์

ฉะนั้นอารยธรรมเฮลเลนิสต์จึงเป็นอารยธรรมที่ผสานระหว่างอารยธรรมกรีกกับอารธรรมของตะวันออกใกล้ ตะวันออกกลาง และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และแยกตัวจากทัศนคติเดิมของกรีกต่ออารธรรมอื่นที่เคยถือว่าอารยธรรมที่ไม่ใช่วัฒนธรรมกรีกเป็นอารธรรมของ "อนารยชน" แต่การผสานระหว่างอารยธรรมกรีกและอารยธรรมที่ไม่ใช่กรีกจะมากน้อยเท่าใดนั้นก็ยังเป็นเรื่องที่โต้แย้งกันอยู่ แต่แนวโน้มของความเห็นที่ตรงกันชี้ให้เห็นว่าเป็นการปรับรับวัฒนธรรมใหม่เป็นพฤติกรรมที่อยู่ในหมู่ชนชั้นสูงเท่านั้นส่วนประชากรโดยทั่วไปก็คงอาจจะดำรงชีวิตเช่นที่เคยทำกันมา[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Green, p. xvii.


บรรณานุกรม

[แก้]
  • Green, Peter. Alexander The Great and the Hellenistic Age. Orion Publishing Group, Limited, 2008, ISBN 0753824132.

ดูเพิ่ม

[แก้]