ข้ามไปเนื้อหา

ยามาดะ นางามาซะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช
(ยามาดะ นางามาซะ)
山田 長政
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช
กษัตริย์สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
ถัดไปโออิน
เจ้ากรมอาสาญี่ปุ่น
กษัตริย์สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม

สมเด็จพระเชษฐาธิราช

สมเด็จพระอาทิตยวงศ์
ก่อนหน้าคิวเอมอน ชิโรอิ
ถัดไปตาเอมอน อิโตยะ กับ คุนิซุเก ฮิรามัตซุ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2133
นูมาซุ จังหวัดชิซูโอกะ ญี่ปุ่น
เสียชีวิตพ.ศ. 2173 (40 ปี)
นครศรีธรรมราช อาณาจักรอยุธยา
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้
ยศออกญาเสนาภิมุข
ยามาดะ นางามาซะ
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ山田 長政
ฮิรางานะやまだ ながまさ
การถอดเสียง
โรมาจิYamada Nagamasa

ยามาดะ นางามาซะ หรือ ออกญาเสนาภิมุข (ญี่ปุ่น: 山田長政, Yamada Nagamasa; พ.ศ. 2133 — พ.ศ. 2173) เป็นซามูไรชาวญี่ปุ่น ที่เข้ามารับราชการ ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น ออกญาเสนาภิมุข

ประวัติ

[แก้]

ยามาดะ นางามาซะ เดินทางเข้ามากรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม โดยเดินทางกลับมาพร้อมกับคณะทูตจำนวน 60 คน ที่พระเจ้าทรงธรรมทรงส่งไปถึงเมืองเอโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน) เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2155[1]

นางามาซะซึ่งในขณะนั้นเป็นเพียงข้าราชการชั้นผู้น้อย ได้รับราชการในกรมอาสาญี่ปุ่น และเจริญก้าวหน้าในเวลาต่อมา เป็นเจ้ากรมอาสาญี่ปุ่น ในชื่อออกญาเสนาภิมุข (ตำแหน่งออกญา เทียบเท่าพระยา)

รับราชการ

[แก้]
กองทัพญี่ปุ่นภายใต้การบัญชาการของยามาดะ นากามาสะ กรุงศรีอยุธยา
เรือรบบัญชาการของ ยามาดะ นางามาซะ ภาพวาดสมัยศตวรรษที่ 17

ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ยามาดะ นางามาซะถูกล้อมจับ และถูกเนรเทศจากกรุงศรีอยุธยาไปเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช มีบุตรชายลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น กับภรรยาชาวไทยนามว่า โอนิน และได้ส่งบุตรชายและคณะไปเรียกส่วยภาษีจากเมืองปัตตานี แต่ได้รับการต่อต้านจากจากชาวต่างชาติในเมืองปัตตานีเช่น ฮอลันดา โปรตุเกส และอังกฤษ ที่ไม่พอใจที่ชาวญี่ปุ่นมีอิทธิพลในแถบนั้น ยามาดะ นางามาซะยกกองทัพไปทำศึกกับปัตตานี แต่ได้รับบาดเจ็บถูกฟันที่ขา จึงยกทัพกลับนครศรีธรรมราชขณะที่การรบยังไม่เสร็จสิ้น

ถึงแก่กรรม

[แก้]

ยามาดะ นางามาซะ ถึงแก่กรรมที่เมืองนครศรีธรรมราช หลังจากได้รับพิษจากยารักษาแผล ที่พระเจ้าปราสาททองทรงบัญชาให้ออกพระมะริด เจ้าเมืองไชยา นำยาพิษงูผสมยางไม้ มาให้รักษาโดยหลอกว่าเป็นยาหลวงจากราชสำนัก เมื่อ พ.ศ. 2173 สิริอายุ 40 ปี

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]