ข้ามไปเนื้อหา

ยักษิณี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยักษิณี
ทิทารคันช์ ยักษี
ราวศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตศักราช - ราวศตวรรษที่ 2 หรือ 1 [1][2]จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์ปัฏนา นครปัฏนา รัฐพิหาร
ชื่อในอักษรเทวนาครีयक्षिणी
ส่วนเกี่ยวข้องเทวี
พระเสื้อเมือง
เทพอารักษ์
คัมภีร์ศาสนาพุทธ
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาเชน
ประติมากรรมภูเตศวรยักษิณี ราวศตวรรษที่ 2 พิพิธภัณฑ์มถุรา

ยักษิณี (यक्षिणी สันสกฤต: yakṣiṇī ; บาลี: yakkhiṇī) เป็นอมนุษย์ผู้หญิงในศาสนาพราหมณ์ ฮินดู พุทธศาสนาและศาสนาเชน ในศาสนาฮินดูเป็นมีฤทธิ์ประเภทกับเทวดาและอสูร คนธรรพ์ นางอัปสร ยักษิณีและยักษ์(เพศบุรุษ) เป็นอมนุษย์นอกเหนือปรกติที่เกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์ในศาสนาแบบอินเดีย นอกจากนี้ยักษิณียังปรากฏในตำนานท้องถิ่นของชนเผ่าทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ตำนานโบราณของรัฐเกรละ และในนิทานพื้นบ้านของชาวแคชเมียร์มุสลิม รวมถึงศาสนาซิกข์ยังกล่าวถึงยักษิณีและยักษ์ในคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์อีกด้วย

ในด้านโบราณคดีนั้น ยักษิณี คือเทวีประจำต้นไม้ (รุกขเทวดา) มักทำท่าเหนี่ยวกิ่งไม้และใช้เท้ากระแทกต้นไม้ เพื่อให้ต้นไม้ออกดอกออกผล แต่เดิมชาวอินเดียโบราณนับถือยักษิณีเป็นเทวีพื้นเมือง ผู้ประทานความอุดมสมบูรณ์ ต่อมาเมื่อเกิดพุทธศาสนาขึ้นจึงนำยักษิณีมาประดับไว้รอบสถูป เพื่อบ่งบอกผู้ศรัทธาว่าแม้แต่เทวีเหล่านี้ยังเคารพต่อพระพุทธเจ้า ถือเป็นวิธีรวบรวมความเชื่อดั้งเดิมเข้ากับศาสนาใหม่ และยังเป็นการอำนวยความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ผู้ที่เดินทางมายังศาสนสถานด้วย[3]

นอกเหนือจากอนุทวีปอินเดีย

[แก้]

ในประเทศจีน ไต้หวัน และญี่ปุ่น ยักษิณีที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ นางหาริตี นางเป็นหนึ่งในเทพธรรมบาล 24 พระองค์ของศาสนาพุทธมหายานแบบจีน ในญี่ปุ่น วัดคิชิโมจินใน ย่านโซซิงามะ เมืองโทะชิมะ โตเกียวเป็นศาลเจ้าของนางที่มีชื่อเสียงอย่างมาก[4][5]

ในประเทศไทย ยักษิณีเป็นรู้จักและเป็นที่นิยมสักการะบูชาในฐานะเทพอารักษ์ หรือ มเหศักดิ์(มเหสักข์)จากศาสนาพุทธและศาสนาฮินดูโดยได้รับอิทธิพลอย่างมากจากศาสนาพื้นเมืองดั้งเดิมของไทยและความเชื่อท้องถิ่นของไทย มีศาลมากมายที่อุทิศแด่นางยักษิณีเหล่านี้ ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จัก เช่น นางผีเสื้อสมุทร ในฐานะอารักษ์ของป้อมผีเสื้อสมุทร อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ[6][7][8][9] และนางยังได้รับการนับถือเป็นอารักษ์ในเขตพื้นที่หาดแสงจันทร์ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง[10] หรือนางสุพรรณอัปสรจอมเทวี ซึ่งเป็นพระเสื้อวัดรักษาวัดนางตะเคียน อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม[11][12][13]หรือ นางพันธุรัตน์ จากวรรณคดีสังข์ทองที่เป็นอารักษ์รักษาวนอุทยานเขานางพันธุรัต ตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี[14][15]

ในประเทศพม่า นางยักษิณีได้รับการผสมกับคติศาสนาพื้นบ้านพม่า บรรดานางยักษ์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักเช่น โปะป้า เมดอว์ซึ่งเป็นนัตอารักษ์ของเขาโปะป้า[16]หรือนางยักษีผู้รักษาเจดีย์ชเวดากองเป็นต้น[17][18]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Huntington, John C. and Susan L. The Huntington Archive. Ohio State University, accessed 30 August 2011.
  2. A History of Ancient and Early Medieval India: From the Stone Age to the 12th Century by Upinder Singh, Pearson Education India, 2008 [1]
  3. "ยักษิณี สัญลักษณ์มงคลเพื่ออวยพรให้ศาสนิกชนได้รับมงคลกลับไป". สืบค้นเมื่อ 29 January 2023.
  4. https://www.fun-japan.jp/th/articles/11549
  5. https://en.japantravel.com/tokyo/kishimojin-temple/60277
  6. https://travel.trueid.net/detail/Edx00kOm2k1d
  7. https://www.ceediz.com/th/travel/samutprakarn/sp/a/%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%A3-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3.1747/
  8. https://pantip.com/topic/37110288
  9. https://www.naewna.com/entertain/677174
  10. https://www.thairath.co.th/lifestyle/travel/thaitravel/1710386
  11. https://www.thairath.co.th/lifestyle/culture/2404407
  12. https://travel.trueid.net/detail/rzB4yA5k1ym6
  13. https://supapitakpong.com/giantess/
  14. https://mgronline.com/travel/detail/9640000112910
  15. https://mgronline.com/travel/detail/9640000112910
  16. https://www.matichonweekly.com/column/article_238566
  17. https://www.wonderfulpackage.com/article/v/962/
  18. https://travelwithkun.com/th/asia/%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2/

เพิ่มเติม

[แก้]