มุฮัมมัด บากิร อัลฮะกีม
มุฮัมมัด บากิร อัลฮะกีม محمد باقر الحكيم | |
---|---|
เกิด | 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1939 นาจาฟ ราชอาณาจักรอิรัก |
เสียชีวิต | 29 สิงหาคม ค.ศ. 2003 (65 ปี) นาจาฟ ประเทศอิรัก |
พรรคการเมือง | Supreme Council for Islamic Revolution in Iraq |
บิดามารดา |
|
ครอบครัว | ตระกูลอัลฮะกีม |
อายะตุลลอฮ์ ซัยยิด มุฮัมมัด บากิร มุห์ซิน อัลฮะกีม อัฏเฏาะบาเฏาะบาอี (8 กรกฎาคม ค.ศ. 1939 – 29 สิงหาคม ค.ศ. 2003; อาหรับ: السيد محمد باقر محسن الحكيم الطباطبائي) เป็นนักวิชาการอิสลามนิกายชีอะฮ์ชาวอิรัก และหัวหน้า Supreme Council for Islamic Revolution in Iraq (SCIRI)[1][2] อัลฮะกีมลี้ภัยในประเทศอิหร่านมากกว่า 20 ปี และเดินทางกลับอิรักในวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 2003[3] อัลฮะกีมมีชีวิตร่วมกับอายะตุลลอฮ์ โคมัยนี และ เดอะการ์เดียน เปรียบเทียบทั้งสองในด้านช่วงเวลาที่ลี้ภัยและการสนับสนุนจากคนในประเทศ[3] หลังกลับสู่อิรัก ชีวิตขิงอัลฮะกีมจึงมีความเสี่ยงเนื่องจากผลงานของเขากระตุ้นให้กลุ่มชีอะฮ์ต่อต้านซัดดัม ฮุสเซน และสร้างศัตรูกับมุกตะดา อัศศ็อดร์ ผู้ถูกลอบสังหารที่นาจาฟใน ค.ศ. 1999[3] อัลฮะกีมถูกลอบสังหารจากการโจมตีด้วยระเบิดที่นาจาฟใน ค.ศ. 2003 ตอนอายุ 63 ปี[3]
ประวัติ
[แก้]ชีวิตช่วงต้น
[แก้]อัลฮะกีมเกิดใน ค.ศ. 1939 ที่นาจาฟ จากตระกูลฮะกีมที่มีนักวิชาการศาสนาของนิกายชีอะฮ์[1][2][3] เขาเป็นบุตรของมุห์ซิน อัลฮะกีม[4] กับ Fawzieh Hassan Bazzi อัลฮะกัมเป็นลุงของมุฮัมมัด ซะอีด อัลฮะกีม[5]
กิจกรรมทางการเมือง
[แก้]ในปี 1958 ท่านได้ร่วมก่อตั้งองค์กรอิสลามเพื่อปกป้องศาสนาและประชาชน กับอายะตุลลอหฺ มุฮัมมัด บากิร อัศศอดรุ, ซัยยิด มุฮัมมัด มะหฺดี อัลฮะกีม, และ ซัยยิด มุรตะฎอ อัลอัซกะรีย์ ซึ่งภายหลังมีชื่อว่า ฮิซบุ อัดดะอฺวะหฺ อัลอิสลามียะหฺ (พรรคเผยแผ่อิสลาม)
1972 ซัยยิดและพรรคพวกถูกรัฐบาลพรรคบะอัธจับไปทรมาน แต่ต่อมาก็มีคำสั่งปลดปล่อย แต่ท่านปฏิเสธที่จะออกจากคุก จนกว่ารัฐบาลบะอัธจะปลดปล่อย อายะตุลลอหฺ อัศศอดรุ ที่ถูกจับพร้อมกันนั้นด้วย และตัดสินจำคุกตลอดชีวิต
ในปี 1977-1978 ถูกรัฐบาลบะอัธจับกุมตัวอีกครั้งพร้อม ๆ กับอุละมาอฺคนอื่น ๆ ซัยยิดถูกตัดสินจับคุกตลอดชีวิต แต่ก็มีคำสั่งปลดปล่อยในปีต่อมา
เมื่อซัดดัมสั่งจับอายะตุลลอหฺ อัศศอดรุไปสังหารในปี 1980 ซัยยิดก็ได้ย้ายออกไปอิรักไปซีเรีย เมื่อซัดดัมเริ่มทำสงครามกับอิหร่าน ซัยยิดก็ได้เดินทางไปอิหร่าน เพื่อไปพำนักอยู่กับอายะตุลลอหฺ โคมัยนีย์ และตั้งฐานพรรคฝ่ายค้านอิรักในอิหร่าน
ในปี 1982 ซัยยิดได้ก่อตั้งสภาสูงสุดเพื่อการปฏิวัติอิสลามในอิรัก (Supreme Council for the Islamic Revolution in Iraq, SCIRI)เพื่อต่อต้านรัฐบาลเผด็จการและคอรัปชั่นของซัดดัม ฮุเซนและพรรคพวก
การลอบสังหาร
[แก้]อัลฮะกีมเสียชีวิตในวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2003 จากระเบิดติดรถระเบิดตอนที่เขาเดินออกจากมัสยิดอิหม่ามอะลีที่นาจาฟ[6] แรงระเบิดทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 84 คน บางรายงานระบุว่าอาจมีผู้เสียชีวิตจากระเบิดมากถึง 125 คน องครักษ์ของอัลฮะกีม 15 คนก็เสียชีวิตจากระเบิดด้วย[7]
พิธีศพ
[แก้]มีผู้เข้าร่วมพิธีศพของเขาที่นาจาฟแสนกว่าคน และแสดงความเกลียดชังต่อการยึดครองทางทหารของสหรัฐในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 2003[8] พวกเขาประท้วงต่อกองทัพสหรัฐและเรียกร้องให้ถอนทัพออกจากอิรัก[9]
สุสานของเขาถูกผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลวางน้ำมันระเบิดในช่วงการประท้วงในอิรัก ค.ศ. 2019[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Cleric slain months after returning to Iraq". Reading Eagle. Baghdad. AP. 30 August 2003. สืบค้นเมื่อ 27 January 2013.
- ↑ 2.0 2.1 Joffe, Lawrence (30 August 2003). "Obituary". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 27 January 2013.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Joffe, Lawrence (30 August 2003). "Ayatollah Mohammad Baqir al-Hakim". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 10 March 2019.
- ↑ "Muhammad Baqir al- Hakim". Oxford Reference. สืบค้นเมื่อ 27 January 2013.
- ↑ "Who is Muqtada al-Sadr?". CNN. 6 April 2004. สืบค้นเมื่อ 27 January 2013.
- ↑ Escobar, Pepe (2 September 2003). "Ayatollah's killing: Winners and losers". Asia Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2003. สืบค้นเมื่อ 27 January 2013.
{{cite news}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) - ↑ "U.S. Blamed For Mosque Attack". CBS News. 11 February 2009. สืบค้นเมื่อ 27 January 2013.
- ↑ "Mourners demand vengeance for cleric's death". The Guardian. AP. 2 September 2003. สืบค้นเมื่อ 27 January 2013.
- ↑ McCarthy, Rory (3 September 2003). "Shia mourners demand end to US occupation". The Guardian. Najaf. สืบค้นเมื่อ 27 January 2013.
- ↑ "Elites backed by Iran are clinging to power in Iraq". The Economist. 7 December 2019.