ข้ามไปเนื้อหา

ระเบิดติดรถ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผลของระเบิดติดรถในประเทศอิรัก ราวปี พ.ศ. 2546–2548

ระเบิดติดรถ[1] (อังกฤษ: car bomb), ระเบิดติดรถบรรทุก (truck bomb) หรือ ระเบิดแสวงเครื่องติดยานพาหนะ (vehicle-borne improvised explosive device, VBIED)[2] คือระเบิดแสวงเครื่องที่ถูกติดตั้งหรือจัดวางไว้ในรถยนต์หรือยานพาหนะอื่น และถูกจุดให้ปะทุ

ระเบิดติดรถมักถูกใช้เป็นอาวุธในการลอบสังหาร การก่อการร้าย หรือการสงครามกองโจร เพื่อสังหารผู้ที่อยู่ในยานพาหนะนั้นหรือผู้คนที่อยู่ใกล้จุดเกิดระเบิด หรือเพื่อสร้างความเสียหายแก่อาคารและทรัพย์สินต่าง ๆ ยานพาหนะที่ใช้ติดตั้งระเบิดสามารถเคลื่อนย้ายวัตถุระเบิดได้เป็นปริมาณมากโดยไม่เป็นที่สงสัย ทั้งนี้ เคยมีการบรรทุกวัตถุระเบิดน้ำหนักอย่างน้อย 3,200 กิโลกรัม (7,000 ปอนด์) ในยานพาหนะขนาดใหญ่มาแล้ว[2] เช่นในการลอบวางระเบิดที่เมืองโอคลาโฮมาซิตี สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2538

ระเบิดติดรถสามารถถูกจุดให้ปะทุได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการเปิดประตูยานพาหนะ การสตาร์ตเครื่องยนต์ การเหยียบคันเร่งหรือห้ามล้อ การใช้วิทยุบังคับ การจุดชนวน หรือการตั้งเวลา[3] น้ำมันในถังเชื้อเพลิงของยานพาหนะอาจทำให้การระเบิดมีอานุภาพรุนแรงมากขึ้นจากการกระจายและจุดเชื้อเพลิงให้ลุกไหม้

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชบัณฑิตยสถาน. ศัพท์ต่างประเทศที่ใช้คำไทยแทนได้ เล่ม ๑. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2557, หน้า 54.
  2. 2.0 2.1 "Vehicle Borne IEDs (VBIEDs)". Global Security. สืบค้นเมื่อ 3 August 2008.
  3. Wilkinson, Paul; Christop Harman (1993). Technology and terrorism. Routledge. ISBN 0-7146-4552-4.