มีห์ฮาอิล เกิลวาร์ต
มีห์ฮาอิล เกิลวาร์ต | |
---|---|
นายกเทศมนตรีทาลลินน์ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 11 เมษายน ค.ศ. 2019 | |
ก่อนหน้า | ตาวี อาส |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | เคอเซิลออร์ดา, สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค, สหภาพโซเวียต | 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1977
เชื้อชาติ | เอสโตเนีย |
พรรคการเมือง | Estonian Centre Party |
คู่สมรส | อะนัสตาซียา โควาเลนโค-เกิลวาร์ต |
วิชาชีพ | นักการเมือง |
มีห์ฮาอิล เกิลวาร์ต (เอสโตเนีย: Mihhail Kõlvart; เกิด 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1977) เป็นนักการเมืองชาวเอสโตเนีย ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีคนปัจจุบันของกรุงทาลลินน์ เมืองหลวงของประเทศเอสโตเนีย ตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 2019 หลังจากอดีตนายกเทศมนตรี ตาวี อาส ลาออกจากตำแหน่ง[1]
ประวัติ
[แก้]เกิลวาร์ตเกิดใน เคอเซิลออร์ดา, สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค โดยมีพ่อเป็นชาวเอสโตเนียชื่อ Ülo Kõlvart และแม่ซึ่งมีเชื้อสายจีนและเกาหลีชื่อ Liidia Kõlvart (née Shek) ทั้งสองพบกันในขณะที่ทั้งคู่เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยมอสโก[2][3] พ่อของเขาเป็นผู้ก่อตั้งสมาคมเทควันโดแห่งชาติเอสโตเนียในปี 1992 และเป็นประธานคนแรกตั้งแต่ปี 1992 ถึง 1996[4] ส่วนแม่ของเขาเป็นครู[5] เมื่อลูกของเขา Jaana Kalinistova อายุได้สามขวบ เขาได้ย้ายไปอยู่กับพ่อแม่ที่เอสโตเนีย[6]
เขาจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมทาลลินน์หมายเลข 15 ในปี ค.ศ. 1995 ในเวลาต่อมาเขาได้ศึกษานิติศาสตร์และกฎหมายธุรกิจที่วิทยาลัยสังคมศาสตร์ประยุกต์นานาชาติ LEX ในกรุงทาลลินน์[7]
อาชีพทางการกีฬา
[แก้]เกิลวาร์ตสร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองในฐานะนักกีฬาชั้นนำระดับประเทศและระดับนานาชาติในสาขามวยสากลคิกบ็อกซิ่งและเทควันโด ซึ่งเขาได้สายดำในดันที่ 5 ตั้งแต่ปี 1993 หลังจากนั้นก็เข้าทำงานเป็นโค้ชเทควันโดในทาลลินน์[4] ในปี 1996 เขาได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมเทควันโดแห่งชาติเอสโตเนียต่อจากพ่อของเขา[8] ในปี 2016 เขาได้เป็นสมาชิกของคณะกรรมการบริหารของคณะกรรมการโอลิมปิกเอสโตเนีย[9] ในปี 2017 ได้รับเลือกเป็นประธานสหพันธ์เทควันโดเอสโตเนีย และในปี 2022 ได้รับ 7 ดัน กิตติมศักดิ์จาก Kukkiwon
อาชีพทางการเมือง
[แก้]ตั้งแต่ปี 1999 ถึง 2002 เกิลวาร์ตเป็นสมาชิกสภาเขตของเขต Lasnamäe ในเมืองทาลลินน์ โดยในปี 2008 เขาได้เข้าร่วมพรรค Estonian Center ในปี 2009 เขาได้รับเลือกเข้าสู่สภาเมืองทาลลินน์ เขามีความมุ่งมั่นเป็นพิเศษต่อเยาวชนกีฬาและสิทธิของชนกลุ่มน้อยในทาลลินน์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เขาได้รับความนิยมจากชนกลุ่มน้อยในทาลลินน์ที่พูดภาษารัสเซียเป็นอย่างมาก[9][10] เขาได้รับเลือกเข้าสู่ รีกิโกกุ ในปี 2011 ซึ่งเขาเป็นสมาชิกจนถึงปี 2019 ในเดือนเมษายน 2011 เขาลาออกจากตำแหน่งรองนายกเทศมนตรีทาลลินน์เพื่อทำหน้าที่ใน รีกิโกกุ ต่อมาเขาดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาเมืองทาลลินน์ ตั้งแต่ปี 2017 ถึง 2019[11] เขาลาออกในเดือนเมษายน 2019 เนื่องจากได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีทาลลินน์ในวันที่ 11 เมษายน หลังจากการลาออกของอดีตนายกเทศมนตรี ตาวี อาส เพื่อดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีของ Jüri Ratas[1] เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2019 เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพลเมืองกิตติมศักดิ์ของกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ จาก พัก ว็อน-ซุน นายกเทศมนตรีโซล[3] และตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 2022 ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นแพทย์กิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยชินฮัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Gallery: Mihhail Kõlvart elected Tallinn Mayor". Eesti Rahvusringhääling. 11 April 2019. สืบค้นเมื่อ 13 December 2019.
- ↑ "Kas teadsid, kes on suurima häältesaagi saanud Mihhail Kõlvart juurtelt?". Elu24 (ภาษาเอสโตเนีย). 17 October 2017. สืบค้นเมื่อ 17 September 2021.
- ↑ 3.0 3.1 "Tallinn mayor becomes honorary Seoul citizen". Yonhap News Agency. 30 September 2019. สืบค้นเมื่อ 13 December 2019.
- ↑ 4.0 4.1 "ESBL - KÕLVART, MIHHAIL" (ภาษาเอสโตเนีย). ESBL. สืบค้นเมื่อ 13 December 2019.
- ↑ "Aukodanikud - Liidia Kõlvart" (ภาษาเอสโตเนีย). City of Tallinn. สืบค้นเมื่อ 13 December 2019.
- ↑ https://bublik.delfi.ee/statja/63957797/pozdravlyaem-mihail-kylvart-stal-otcom
- ↑ "Linnapea Mihhail Kõlvart CV" (ภาษาเอสโตเนีย). City of Tallinn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-15. สืบค้นเมื่อ 13 December 2019.
- ↑ "Ambassador met the Chair of the Estonia-Korea Parliamentary Group". Embassy of the Republic of Korea in Finland. 11 May 2015. สืบค้นเมื่อ 13 December 2019.
- ↑ 9.0 9.1 Raal, Kadi (11 April 2019). "FOTOD - Mihhail Kõlvart valiti Tallinna linnapeaks" (ภาษาเอสโตเนีย). delfi.ee. สืบค้นเมื่อ 13 December 2019.
- ↑ Ots, Mait (12 March 2019). "Kaljulaid ERR-ile: enne lõhenegu Keskerakond, kui EKRE võimule aidatakse". ERR. สืบค้นเมื่อ 13 December 2019.
- ↑ "Kõlvart on EKRE's views: We cannot govern with their approach". ERR. 12 March 2019. สืบค้นเมื่อ 13 December 2019.