ข้ามไปเนื้อหา

มายนาวี เซ็นได

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มายนาวี เซ็นได เลดีส์
(マイナビ仙台レディース)
ชื่อเต็มมายนาวี เซ็นได เลดีส์
ฉายามายเซ็นได
ก่อตั้งค.ศ. 2012
สนามสนามกีฬายูร์เทค เซ็นได
ความจุ19,694 ที่นั่ง
ประธานโยชิฮิซะ นิชิกาวะ[ต้องการอ้างอิง]
ผู้จัดการชิเงมิตสึ ซูโด
ลีกวีเมนเอมพาวเวอร์เมนต์ลีก
ฤดูกาล 2022–2023วีเมนเอมพาวเวอร์เมนต์ลีก (อันดับ 4 จาก 11 สโมสร)
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน

มายนาวี เซ็นได (マイナビ仙台レディース) เป็นสโมสรฟุตบอลหญิงที่แข่งในวีเมนเอมพาวเวอร์เมนต์ลีกซึ่งเป็นลีกฟุตบอลของประเทศญี่ปุ่น โดยมีถิ่นกำเนิดคือเมืองเซ็นได

สนามกีฬา

[แก้]
สนามกีฬายูร์เทค เซ็นได
สนามกีฬามิยางิ
ใน ค.ศ. 2023 มายนาวีได้รับการบันทึกจำนวนผู้เข้าร่วมสูงสุดในวีเมนเอมพาวเวอร์เมนต์ลีก

สนามกีฬาเหย้าของพวกเธอคือสนามกีฬายูร์เทค เซ็นได ในเขตอิซูมิ เซ็นได แม้ว่าจะมีเกมเหย้าบางเกมที่แข่งที่สนามกีฬามิยางิที่อยู่ใกล้เคียงก็ตาม

สนามกีฬาเซ็นไดติดอันดับหนึ่งในสนามกีฬาชั้นนำในญี่ปุ่นในด้านรูปลักษณ์, ความสะดวกสบาย และการเข้าถึงได้ รวมถึงครั้งหนึ่งเคยได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับสองในการประเมินโดยสื่อฟุตบอลที่มีชื่อเสียงของประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ ทีมอัซซูร์รียังใช้สนามกีฬาแห่งนี้เป็นที่ตั้งแคมป์ในช่วงฟุตบอลโลก 2002

ส่วนสนามกีฬามิยางิมีชื่อเสียงไม่เพียงแต่สำหรับทีมชาติญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังเป็นสถานที่จัดการแข่งของทีมชาติอาร์เจนตินาในฟุตบอลโลก 2002 เช่นกัน

และในฤดูกาล 2022–2023 มายนาวี เซ็นได มีจำนวนผู้ชมเป็นอันดับสามของการแข่งวีเมนเอมพาวเวอร์เมนต์ลีก

มาสคอต

[แก้]

มายวี

[แก้]
  • ปรากฏตัวครั้งแรกที่โตเกียวเกิลส์คอลเลกชันในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021[1]
  • เป็นเด็กผู้หญิงจากเดเนบและเติบโตที่เซ็นได โดยมีแอลตานะและเวกัตตะเป็นเพื่อน
  • ด้วยการรวมคำว่า "มาย" จากมายนาวี และคำว่า "วี" จากวิกทอรี ทางสโมสรจึงตั้งชื่อว่า "มายวี" ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกง่ายที่หลายคนคุ้นเคย รวมถึงผู้สนับสนุนเช่นกัน
  • มาสคอตนี้ไม่ใช่สัตว์โดยเฉพาะ ตัวละครดังกล่าวได้รับแรงบันดาลใจจากดาวเดเนบ ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวเส้นสามเหลี่ยมฤดูร้อน โดยมีลวดลายคือมายนาวีเวฟ รวมถึงหมวกพระจันทร์ที่เกี่ยวข้องกับดาวนี้และเมืองเซ็นได

ผู้เล่น

[แก้]

ทีมชุดใหญ่

[แก้]
ณ วันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2023[2]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ประเทศญี่ปุ่น อายากะ ไซโต
2 MF ประเทศญี่ปุ่น มิตสึบะ อิบารากิ
3 DF ประเทศไนจีเรีย ชิดินมา โอเกเก
4 DF ประเทศญี่ปุ่น มิยู ทากาฮิระ
5 DF ประเทศญี่ปุ่น ไอมิ คูนิตาเกะ
6 MF ประเทศญี่ปุ่น อิบูกิ ฮาระ
7 MF ประเทศญี่ปุ่น ริน ซูมิดะ
8 MF ประเทศสเปน เปาลา เกร์เรโร
10 MF ประเทศญี่ปุ่น เอมิ นากาจิมะ
11 FW ประเทศญี่ปุ่น มิจิ โกโต
13 FW ประเทศญี่ปุ่น นานาโกะ ทาเกดะ
15 DF ประเทศแคเมอรูน ออเรล อะโวนา
16 GK ประเทศญี่ปุ่น มามิโกะ มัตสึโมโตะ
17 DF ประเทศญี่ปุ่น ริโอะ ซาซากิ
18 FW ประเทศสเปน การ์ลา เบาติสตา
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
19 DF ประเทศญี่ปุ่น คาเอเดะ ซาโต
20 FW ประเทศญี่ปุ่น มาโฮะ ฮิโรซาวะ
21 GK ประเทศญี่ปุ่น มาโฮะ มัตสึระ สัญญาประเภท 2
23 FW ประเทศไทย จณิสตา จินันทุยา
24 MF ประเทศญี่ปุ่น ยูเมะ เอ็นโด สัญญาประเภท 2
25 MF ประเทศญี่ปุ่น โมเอะ โอตะ
26 MF ประเทศญี่ปุ่น อากาเนะ นิชิโนะ
27 DF ประเทศญี่ปุ่น ฮารูนะ ทาบาตะ
28 DF ประเทศญี่ปุ่น มีนะ มัตสึนางะ
29 MF ประเทศไทย ชัชวัลย์ รอดทอง
30 MF ประเทศญี่ปุ่น มิวะ ซาซากิ
31 FW ประเทศญี่ปุ่น อานง สึดะ สัญญาประเภท 2
32 DF ประเทศญี่ปุ่น โคโตมิ อิวากิ สัญญาประเภท 2
34 MF ประเทศญี่ปุ่น ฮานะ คิกูจิ สัญญาประเภท 2
36 MF ประเทศญี่ปุ่น ยูโกะ อิโนเซะ
38 DF ประเทศเกาหลีใต้ พัก เจอา

ผู้เล่นที่โดดเด่น

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Mascot Mybi of Mynavi Sendai Ladies who debuted at "Tokyo Girls Collection (TGC)"". Targma. สืบค้นเมื่อ 2023-01-25.
  2. "選手・スタッフ マイナビ仙台レディースオフィシャルWEBサイト" [Player and Staff MyNavi Sendai Ladies official website] (ภาษาญี่ปุ่น). MyNavi Sendai Ladies.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]