ข้ามไปเนื้อหา

มหาจุนทโพชฌังคสุตตปาฐะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มหาจุนทโพชฌังคสุตตปาฐะ เป็นบทสวดหนึ่งในบทสวดว่าด้วยโพชฌงค์ 7 หรือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่างคือ มีทั้งหมดรวม 3 บท ได้แก่ มหาจุนทโพชฌังคสุตตปาฐะ, มหากัสสปโพชฌังคสุตตปาฐะ และมหาโมคคัลลานโพชฌังคสุตตปาฐะ ทั้งหมดรวมอยู่ในภาณวารหรือหนังสือบทสวดมนต์หลวง

มหาจุนทโพชฌังคสุตตปาฐะนี้มีความแตกต่างจากปาฐะที่ว่าด้วยโพชฌงค์ 7 ทั้ง 2 บทก่อนหน้านี้ เนื่องจากทั้ง 2 บทก่อนหน้านี้คือ มหากัสสปโพชฌังคสุตตปาฐะ และมหาโมคคัลลานโพชฌังคสุตตปาฐะ เป็นการแสดงโพชฌงค์ 7 โดยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แก่พระพุทธสาวกคือ พระมหากัสสปะ และพระมหาโมคคัลลานะตามลำดับ แต่มหาจุนทโพชฌังคสุตตปาฐะ เป็นปาฐะที่พระมหาจุนทะ หรือพระจุนทเถระได้พรรณนา เป็นการกล่าวตอบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ที่มา

[แก้]

มหาจุนทโพชฌังคสุตตปาฐะ นำมาจากพระสูตรในพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ชื่อพระสูตรว่า คิลานสูตร (ที่ 3) ว่าด้วย "พระผู้มีพระภาคหายประชวรด้วยโพชฌงค์ 7"[1] บ้างก็เรียกว่า "ตติยคิลานสูตร" หรือ "ตติยคิลานสุตฺตํ" หมายถึง คิลานสูตรที่ 3 ใน สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค (เนื่องจากคิลานสูตรปรากฏอยู่หลายพระสูตรต่างที่มาและเหตุการณ์)[2]

พระสูตรหรือปาฐะนี้มีความแตกต่างจากพระสูตรอื่น ๆ ที่ว่าด้วยการเยียวยา หรือคิลานะ และโพชฌงค์ 7 ที่พระพุทธองค์จะตรัสแก่พระสาวก เพราะเพราะสูตรนี้เป็นพระสูตรที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารภให้พระสาวกสาธยายแก่พระองค์ เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงประชวร โดยขณะนั้นพระองค์ประทับอยู่ ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร อันเป็นกลันทกนิวาปสถาน (อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต) ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคทรงประชวร ซึ่งสารัตถปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกายระบุว่า "ความป่วยไข้ที่เกิดแต่ความเย็นอ่อน ๆ ซึ่งเกิดขึ้นด้วยการถูกต้องกับลมจากต้นไม้มีดอกเป็นพิษที่บ้านแล้ว ที่เชิงแห่งภูเขา"[3]

ครานั้น พระมหาจุนทะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับพระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระจุนทะ ให้ท่านแสดงโพชฌงค์แก่พระองค์ หลังจากที่ได้แสดงโพชฌงค์แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงทรงหายจากประชวรนั้น เช่นเดียวกับที่พระมหากัสสปะ และพระมหาโมคคัลลานะ ได้สดับโพชฌงค์ แล้วหายจากอาการอาพาธเช่นกัน

เนื้อหา

[แก้]

เอกํ สมยํ ภควา ราชคเห วิหรติ เวฬุวเน กลนฺทกนิวาเปฯ เตน โข ปน สมเยน ภควา อาพาธิโก โหติ ทุกฺขิโต พาฬฺหคิลาโนฯ อถ โข อายสฺมา มหาจุโนฺท เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ; อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา เอกมนฺตํ นิสีทิฯ เอกมนฺตํ นิสินฺนํ โข อายสฺมนฺตํ มหาจุนฺทํ ภควา เอตทโวจ – ‘‘ปฏิภนฺตุ ตํ, จุนฺท, โพชฺฌงฺคา’’ติฯ

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงประชวร ไม่สบาย เป็นไข้หนัก. ครั้งนั้น ท่านพระมหาจุนทะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระจุนทะว่าดูกรจุนทะ โพชฌงค์จงแจ่มแจ้งกะเธอ.

‘‘สตฺติเม, ภเนฺต, โพชฺฌงฺคา ภควตา สมฺมทกฺขาตา ภาวิตา พหุลีกตา อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตนฺติฯ กตเม สตฺต?

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพชฌงค์ 7 เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานโพชฌงค์ 7 เป็นไฉน?

สติสโมฺพชฺฌโงฺค โข, ภเนฺต, ภควตา สมฺมทกฺขาโต ภาวิโต พหุลีกโต อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ, ธมฺมวิจยะสโมฺพชฺฌโงฺค โข, ภเนฺต, ภควตา สมฺมทกฺขาโต ภาวิโต พหุลีกโต อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ, วิริยะสโมฺพชฺฌโงฺค โข, ภเนฺต, ภควตา สมฺมทกฺขาโต ภาวิโต พหุลีกโต อภิญฺญาย สมฺฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ, ปีติสโมฺพชฺฌโงฺค โข, ภเนฺต, ภควตา สมฺมทกฺขาโต ภาวิโต พหุลีกโต อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ, ปสฺสัทธิสโมฺพชฺฌโงฺค โข, ภเนฺต, ภควตา สมฺมทกฺขาโต ภาวิโต พหุลีกโต อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ, สมาธิสโมฺพชฺฌโงฺค โข, ภเนฺต, ภควตา สมฺมทกฺขาโต ภาวิโต พหุลีกโต อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ, อุเปกฺขาสโมฺพชฺฌโงฺค โข, กสฺสป, มยา สมฺมทกฺขาโต ภาวิโต พหุลีกโต อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สติสัมโพชฌงค์ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน, ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน, วิริยสัมโพชฌงค์ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน, ปีติสัมโพชฌงค์ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน, ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน, สมาธิสัมโพชฌงค์ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน, อุเบกขาสัมโพชฌงค์ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

อิเม โข, ภเนฺต, สตฺต โพชฺฌงฺคา ภควตา สมฺมทกฺขาตา ภาวิตา พหุลีกตา อภิญฺญาย สมฺโพธายย นิพฺพานาย สํวตฺตนฺตี’’ติฯ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพชฌงค์ 7 เหล่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

‘‘ตคฺฆ , จุนฺท, โพชฺฌงฺคา; ตคฺฆ, จุนฺท, โพชฺฌงฺคา’’ติฯ

ดูกรจุนทะ โพชฌงค์ดีนัก ดูกรจุนทะ โพชฌงค์ดีนัก

อิทมโวจายสฺมา จุโนฺทฯ สมนุโญฺญ สตฺถา อโหสิฯ วุฎฺฐหิ จ ภควา ตมฺหา อาพาธาฯ ตถาปหีโน จ ภควโต โส อาพาโธ อโหสีติฯ ฉฎฺฐํฯ

ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าวไวยากรณภาษิตนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย พระผู้มีพระภาคทรงหายจากประชวรนั้นและอาพาธนั้น อันพระผู้มีพระภาคทรงละแล้ว ด้วยประการฉะนี้แล[4][5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม 5 ภาค 1 หน้า 226 - 227
  2. พระไตรปิฎกฉบับฉัฏฐสังคายนา. สุตฺตปิฎก สํยุตฺตนิกาย มหาวคฺคปาฬิ โพชฺฌงฺคสํยุตฺตํ ทุติยคิลานสุตฺตํ
  3. สารัตถปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย ในพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค หน้า 224
  4. พระไตรปิฎกฉบับฉัฏฐสังคายนา. สุตฺตปิฎก สํยุตฺตนิกาย มหาวคฺคปาฬิ โพชฺฌงฺคสํยุตฺตํ ตติยคิลานสุตฺตํ
  5. พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ตติยคิลานสูตร เล่ม 5 ภาค 1 หน้า 226 - 227

บรรณานุกรม

[แก้]
  • พระไตรปิฎกฉบับฉัฏฐสังคายนา. สุตฺตปิฎก สํยุตฺตนิกาย มหาวคฺคปาฬิ โพชฺฌงฺคสํยุตฺตํ ตติยคิลานสุตฺตํ
  • พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ตติยคิลานสูตร เล่ม 5 ภาค 1
  • สารัตถปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย ในพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค