ข้ามไปเนื้อหา

มนัส ตั้งสุข

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มนัส ตั้งสุข
เกิด27 สิงหาคม พ.ศ. 2515
อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม ประเทศไทย
เสียชีวิต4 สิงหาคม พ.ศ. 2567 (51 ปี)
โรงพยาบาลราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
ชื่ออื่นอั๋น
ศิษย์เก่าคณะอุตสาหกรรมบริการ วิทยาลัยดุสิตธานี
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
อาชีพผู้ประกาศข่าว, พิธีกร, วิทยากร
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2544–2567
นายจ้างททบ.5 เอชดี (พ.ศ. 2544 - 2558, พ.ศ. 2564 - 2567)
เอ็นบีที 2 เอชดี (พ.ศ. 2558 - 2559, พ.ศ. 2561 - 2567)
พีพีทีวี (พ.ศ. 2559 - 2561)

มนัส ตั้งสุข (27 สิงหาคม พ.ศ. 2515 - 4 สิงหาคม พ.ศ. 2567) เป็นผู้ประกาศข่าว พิธีกร และวิทยากรชาวไทย เคยเป็นผู้ประกาศข่าวทางททบ.5 เอชดี, เอ็นบีที 2 เอชดี และ พีพีทีวี และเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยต่าง ๆ

ประวัติ

[แก้]

มนัสเกิดเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2515 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโรงแรม จากวิทยาลัยดุสิตธานี, ปริญญาโท ในหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต และปริญญาเอก ในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ จากวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ผู้ประกาศข่าว

[แก้]

มนัสต้องการเป็นผู้ประกาศข่าว เพราะทุกวันชอบดูข่าวในพระราชสำนัก ที่นำเสนอโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หลากหลายโครงการ และข่าวการเมืองที่มองว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวและเป็นอนาคตของชาติ จึงสมัครเป็นผู้ประกาศข่าวที่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ.5) ในปี พ.ศ. 2544 และได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 7 ผู้ประกาศข่าวในรุ่นดังกล่าว

ต่อมาในยุคเริ่มต้นโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลในประเทศไทย มนัสได้ย้ายไปเป็นผู้ประกาศข่าวที่พีพีทีวี ก่อนจะย้ายมาที่เอ็นบีที 2 เอชดี ตามลำดับ และยังเป็นพิธีกรอิสระในรายการต่าง ๆ เช่น เมืองไทย 18 น.[1], Talk Together ออกอากาศทาง ททบ.5 นอกจากนี้ยังเป็นอาจารย์สอนในสถาบันการประชาสัมพันธ์ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และวิทยากรประจำสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)[2]

เสียชีวิต

[แก้]

ก่อนหน้านี้ มนัสเคยมีอาการป่วยอย่างหนัก จนทำให้ไม่ปรากฏตัวทางหน้าจอโทรทัศน์ไปช่วงหนึ่ง[1] ต่อมาเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม มนัสมีอาการความดันโลหิตสูง จึงหมดสติจนล้มลง จนศีรษะกระทบพื้นและหัวแตก ทำให้ต้องถูกนำตัวส่งเข้ารักษาในหน่วยอภิบาลของโรงพยาบาลราชวิถี แแพทย์ตรวจพบว่ามีเลือดคั่งในสมอง สมองบวม เนื่องจากก้านสมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่างหนักขณะศีรษะกระทบพื้น[3] และเสียชีวิตเมื่อเวลา 00:02 น. ของเช้าวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2567 สิริอายุ 51 ปี[4] มีกำหนดตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร มีพิธีรดน้ำศพในวันที่ 5 สิงหาคม สวดพระอภิธรรมตั้งแต่วันที่ 5–7 สิงหาคม และฌาปนกิจในวันที่ 8 สิงหาคม[5]

ผลงาน

[แก้]

รางวัล

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "ประวัติ "มนัส ตั้งสุข" ผู้ประกาศข่าวและพิธีกรมากฝีมือ". พีพีทีวี. 4 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "รำลึก "ดร.อั๋น มนัส ตั้งสุข" จบการโรงแรมสู่คนหน้าจอ อยากเป็นผู้ประกาศข่าวเพราะชอบ". ผู้จัดการออนไลน์. 4 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2024.
  3. "ผู้ประกาศข่าวดัง "มนัส ตั้งสุข" วูบ-ล้มหัวฟาดพื้น เส้นเลือดในสมองแตก นำตัวส่ง ICU". สนุก.คอม. 3 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2024.
  4. "ผู้ประกาศข่าว ดร.มนัส ตั้งสุข เสียชีวิต หลังเกิดอุบัติเหตุล้มหัวฟาดพื้น". ไทยรัฐ. 4 สิงหาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2024.
  5. PANITCHART, NAPAPORN (4 สิงหาคม 2024). "ครอบครัวชวนร่วมส่ง 'มนัส ตั้งสุข' ครั้งสุดท้าย ณ ศาลา 18 วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขน". The Bangkok Insight. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)