มกุฎราชกุมารโซฮย็อน
มกุฎราชกุมารแห่งโชซอน 소현세자 | |
---|---|
มกุฎราชกุมารแห่งโชซอน | |
ดำรงพระยศ | 27 มกราคม ค.ศ. 1625 - 26 เมษายน ค.ศ. 1645 |
ก่อนหน้า | มกุฎราชกุมาร Yi Ji |
ถัดไป | มกุฎราชกุมาร Yi Ho |
ประสูติ | 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1612 ฮันซ็อง ราชอาณาจักรโชซ็อน |
สวรรคต | 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1645 หอ Hwangyeong, พระราชวังชังกย็องกุง ฮันซ็อง ราชอาณาจักรโชซ็อน | (33 ปี)
ฝังพระศพ | Seogyeongwon, Seosamneung, Wondang-dong, Deokyang-gu, Goyang-si, Gyeonggi-do |
พระมเหสี | พระชายามินฮเวบิน จากตระกูลคัง |
พระราชบุตร | พระโอรส 3 องค์ และพระธิดา 5 องค์ |
ราชวงศ์ | โชซ็อน |
ราชสกุล | สกุลอี |
พระราชบิดา | พระเจ้าอินโจ |
พระราชมารดา | พระมเหสีอินรยอล จากตระกูลฮัน |
มกุฎราชกุมารโซฮย็อน | |
ฮันกึล | 소현세자 |
---|---|
ฮันจา | 昭顯世子 |
อาร์อาร์ | Sohyeon Seja |
เอ็มอาร์ | Sohyŏn Seja |
ชื่อเกิด | |
ฮันกึล | 이왕 |
ฮันจา | 李汪 |
อาร์อาร์ | I Wang |
เอ็มอาร์ | Yi Wang |
เจ้าชายรัชทายาทโซฮย็อน (소현세자, 昭顯世子, 1612-1645) เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในพระเจ้าอินโจกับพระมเหสีอินรยอล ตระกูลฮัน[1] องค์ชายโซฮยอนถูกส่งไปเป็นองค์ประกันของราชวงศ์ชิงที่เสิ่นหยางตามข้อตกลงหลังสิ้นสุดสงครามในปีค.ศ.1636 และเมื่อราชวงศ์ชิงยึดเมืองหลวงของราชวงศ์หมิงได้แล้วจึงย้ายไปอยู่ที่ปักกิ่งในค.ศ.1644 และมีการติดต่อกับ จอห์น อดัม อยู่เสมอ และทรงสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ.1645 หลังจากนิวัติกลับโชซอนได้ไม่นาน[2]
พระประวัติ
[แก้]เจ้าชายโซฮย็อนได้รับการสถาปนาเป็นมกุฎราชกุมารในค.ศ.1625 เมื่อพระราชบิดาได้เสด็จขึ้นครองราชย์ในค.ศ.1623 ทรงเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับลูกสาวของคังซ๊อกกี ในช่วงที่แมนจูรุกรานโชซอนครั้งที่สองในค.ศ.1636 องค์ชายโซฮยอนทรงลี้ภัยไปอยู้ที่ป้อมนัมฮันพร้อมกับพระเจ้าอินโจแต่เมื่อเกาะคังฮวาถูกแมนจูยึดครองสำเร็จ พระเจ้าอินโจจึงต้องยอมจำนนต่อจักรพรรดิหวงไท่จี๋ เจ้าชายโซฮยอนจึงเอาพระองค์เองไปเป็นองค์ประกันที่เสิ่นหยางพร้อมกับพระชายาและขุนนางอีกหลายคน
ช่วงที่เป็นองค์ประกันทรงวางพระองค์เป็นกลางระหว่างโชซ็อนและต้าชิง ทรงพยายามอย่างมากให้ต้าชิงเชื่อมั่นในพระองค์และโชซอนว่าจะไม่หักหลังต้าชิงเด็ดขาด ทรงปกป้องคิมซังฮอนที่ถูกกล่าวหาจากต้าชิงว่าเป็นผู้ริเริ่มคิดต่อต้านต้าชิง องค์ชายโซฮยอนได้รับการเรียนรู้ในด้านภาษามองโกลและยังช่วยต้าชิงพิชิตชายแดนทางด้านตะวันตกอีกด้วย
ค.ศ.1644 เจ้าชายโซฮย็อนประทับในปักกิ่งได้ 70 วันก็ต้องออกไปรบกับพวกต้าหมิงที่ยังคงสู้รบกับต้าชิง ทรงได้พบกับมิชชันนารีชาวเยอรมันชื่อ จอห์น อดัม และอดัมก็ได้พาพระองค์เข้าสู่ศาสนาคริสต์
พระเจ้าอินโจไม่พอพระทัยอย่างมากที่เจ้าชายโซฮย็อนไปยุ่งกับพวกอื่น และเมื่อกลับมาโชซ็อนในค.ศ.1645 พระเจ้าอินโจก็ต่อต้านและไม่เห็นด้วยที่องค์ชายโซฮยอนคิดที่จะปฏิรูปประเทศโดยใช้นิกายโรมันคาทอลิกและวิทยาการทางตะวันตก เจ้าชายโซฮย็อนสวรรคตอย่างกะทันหันหลังกลับโชซอนได้ไม่นาน นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าถูกวางยาพิษเพราะพระศพหลังสวรรคตนั้นมีจุดดำทั่วพระวรกายและพระวรกายก็เน่าเปื่อยอย่างรวดเร็ว
หลังการสวรรคตของเจ้าชายโซฮย็อนพระเจ้าอินโจจัดการเรื่องพระศพของพระราชโอรสอย่างรวดเร็วและไม่สมพระเกียรติ พระเจ้าอินโจไม่เคยไปเยี่ยมพระสุสานของเจ้าชายโซฮย็อนแม้แต่ครั้งเดียวจนพระองค์สวรรคต และพระเจ้าอินโจยังสั่งประหารพระชายาของเจ้าชายโซฮย็อนในข้อหากบฏ พระสุสานของเจ้าชายโซฮย็อนอยู่ที่เมืองโกยาง จังหวัดคยองกี
พระญาติวงศ์
[แก้]- พระราชบิดา: พระเจ้าอินโจ
- พระราชมารดา: พระนางอินย็อล ตระกูลฮัน แห่งชองจู (인렬왕후 한씨)
- พระชายา: พระชายามินฮเวบิน ตระกูลคัง (민회빈 강씨 ,愍懷嬪 姜氏, 1611 - 1646)
- พระโอรส
- เจ้าชายคยองซอน ลีซ๊อกชอน (경선군 석철 ,慶善君 石鐵, 1636 - 1648)
- เจ้าชายคยองวาน ลีซ๊อกริน (경완군 석린 ,慶完君 石磷, 1640 - 1648)
- เจ้าชายคยองอัน ลีซ๊อกคยอน (경안군 석견 ,慶安君 石堅, 1644 - 1665)
- พระธิดา
- เจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (1629 - 1631)
- เจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (1631 - 1640)
- เจ้าหญิงคยองซุก (경숙군주 ,慶淑郡主, 1637 - 1655)
- เจ้าหญิงคยองนยอง (경녕군주 ,慶寧郡主, 1642 - 1682)
- เจ้าหญิงคยองซุน ลีจองอน (경순군주 정온 ,慶順郡主 正溫, 1643 - 1654)
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของมกุฎราชกุมารโซฮย็อน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Yoo, Chai-Shin (2012). The New History Of Korean Civilization. iUniverse. p. 178. ISBN 978-1-4620-5559-3.
- ↑ Annals of the Joseon Dynasty. King Injo, 23rd year.