ภูมิศาสตร์กายภาพ
หน้าตา
ภูมิศาสตร์กายภาพ เป็นหนึ่งในสองสาขาหลักของภูมิศาสตร์[1][2][3] และเป็นสาขาย่อยของสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษาถึงกระบวนการและแบบรูปของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น บรรยากาศ อุทกภาค ชีวมณฑล และธรณีภาค ตรงข้ามกับภูมิศาสตร์มนุษย์ที่เน้นทางวัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างมากกว่า
สาขาย่อย
[แก้]ภูมิศาสตร์กายภาพสามารถแบ่งออกเป็นหลายสาขาย่อยดังต่อไปนี้
- ธรณีสัณฐานวิทยา เป็นสาขาเกี่ยวกับลักษณะพื้นผิวและกระบวนการเกิดรูปร่างของโลกทั้งในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน
- อุทกวิทยา เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับปริมาณละคุณภาพของน้ำที่เคลื่อนไหวและสะสมอยู่ในดินและหินรวมถึงเหนือผิวดินด้วยซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับวัฏจักรของน้ำ
- วิทยาธารน้ำแข็ง เป็นการศึกษาเกี่ยวกับธารน้ำแข็งและพืดน้ำแข็ง รวมทั้งในเรื่องของหิมะภาคและปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำแข็ง
- ชีวภูมิศาสตร์ เป็นศาสตร์ซึ่งเกี่ยวข้องกับลักษณะแบบรูปทางภูมิศาสตร์จากการกระจายของสปีชีส์ต่างๆ รวมถึงกระบวนการที่มีผลต่อแบบรูปด้วย
- ภูมิอากาศวิทยา เป็นการศึกษาว่าด้วยลักษณะภูมิอากาศ ซึ่งถูกกำหนดโดยสภาพอากาศจากผลเฉลี่ยของระยะเวลาที่เกิดขึ้น
- อุตุนิยมวิทยา เป็นการศึกษาเชิงสหวิทยาการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับบรรยากาศ ว่ามีกระบวนการทางสภาพอากาศและการคาดการณ์ในช่วงเวลาสั้น ๆ (ตรงข้ามกับภูมิอากาศวิทยา)
- ปฐพีวิทยา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับดินในสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
- ภูมิศาสตร์บรรพกาล เป็นการศึกษาแบบสหสาขาวิชาว่าด้วยการตรวจสอบวัสดุในชั้นหินเพื่อแสดงการกระจายของภาคพื้นทวีปผ่านธรณีกาล
- ภูมิศาสตร์ชายฝั่ง เป็นการศึกษาพลวัตระหว่างมหาสมุทรกับแผ่นดินที่มีผลต่อชายฝั่ง โดยผสานองค์ความรู้ของภูมิศาสตร์กายภาพ (เช่น ธรณีสัณฐานวิทยาชายฝั่ง ธรณีวิทยา และสมุทรศาสตร์) และภูมิศาสตร์มนุษย์ที่มีต่อชายฝั่ง
- สมุทรศาสตร์ เป็นสาขาของภูมิศาสตร์กายภาพว่าด้วยการศึกษาทะเลและมหาสมุทรของโลก
- ควอเทอร์นารีไซน์ เป็นสาขาที่เป็นสหวิทยาการว่าด้วยการศึกษาถึงยุคควอเทอร์นารี
- นิเวศวิทยาภูมิทัศน์ เป็นสาขาย่อยของนิเวศวิทยาและภูมิศาสตร์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ของภูมิทัศน์ว่าส่งผลต่อกระบวนการทางนิเวศวิทยา เช่น การกระจายและการไหลของพลังงาน วัสดุ และปัจเจคบุคคลในสิ่งแวดล้อม
- จีโอเมติก เป็นสาขาว่าด้วยการรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และการนำส่งข้อมูลทางภูมิศาสตร์หรือข้อมูลอ้างอิงตำแหน่ง
- ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม เป็นสาขาของภูมิศาสตร์ว่าด้วยการวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์เชิงพื้นที่ระหว่ามนุษย์กับธรรมชาติของโลก
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Fundamentals of Physical Geography, 2nd Edition, by M. Pidwirny, 2006
- ↑ Pidwirny, Michael; Jones, Scott (1999–2015)."Physical Geography"
- ↑ Marsh, William M.; Kaufman, Martin M. (2013). Physical Geography: Great Systems and Global Environments. Cambridege University Press.
ดูเพิ่ม
[แก้]- Holden, Joseph. (2004). Introduction to Physical Geography and the Environment. Prentice-Hall, London.
- Inkpen, Robert. (2004). Science, Philosophy and Physical Geography. Routledge, London.
- Pidwirny, Michael. (2014). Glossary of Terms for Physical Geography. Planet Earth Publishing, Kelowna, Canada. ISBN 9780987702906. จัดจำหน่ายบน กูเกิลเพลย์.
- Pidwirny, Michael. (2014). Understanding Physical Geography. Planet Earth Publishing, Kelowna, Canada. ISBN 9780987702944. จัดจำหน่ายบน กูเกิลเพลย์.
- Reynolds, Stephen J. et al. (2015). Exploring Physical Geography. [A Visual Textbook, Featuring more than 2500 Photographies & Illustrations]. McGraw-Hill Education, New York. ISBN 978-0-07-809516-0
- Smithson, Peter; และคณะ (2002). Fundamentals of the Physical Environment. Routledge, London.
- Strahler, Alan; Strahler Arthur. (2006). Introducing Physical Geography. Wiley,New York.
- Summerfield, M. (1991). Global Geomorphology. Longman, London.
- Wainwright, John; Mulligan, M. (2003). Environmental Modelling: Finding Simplicity in Complexity. John Wiley and Sons Ltd, London.