ภาพยนตร์ศึกษา
ภาพยนตร์ศึกษา (อังกฤษ: Film studies) เป็นสาขาวิชาทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีภาพยนตร์ ประวัติศาสตร์ของภาพยนตร์ และวิธีวิพากษ์ภาพยนตร์ บางครั้งก็เป็นส่วนหนึ่งในสื่อมวลชนศึกษา (Media studies) และมักถูกเปรียบเทียบได้กับสาขาโทรทัศน์ศึกษา ภาพยนตร์ศึกษาจะไม่เกี่ยวข้องกับความเชี่ยวชาญทางด้านการผลิตภาพยนตร์มากนัก แต่เน้นทางด้านการสำรวจการเล่าเรื่อง (narrative) เชิงศิลปะ วัฒนธรรม ทางด้านเศรษฐกิจ และผลกระทบทางการเมืองต่อวงการภาพยนตร์ [1] ในมุมมองของแสวงหาค่านิยมทางสังคมและอุดมการณ์ ภาพยนตร์ศึกษาจะใช้วิธีเชิงวิพากษ์สำหรับการวืเคราะห์การผลิต กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี บริบทและการสร้างภาพยนตร์ [2] ในแง่นี้ภาพยนตร์ศึกษามีอยู่ในสาขาที่ผู้สอนมักไม่เป็นนักการศึกษาหรืออาจารย์หลักเสมอไป แต่จะเป็นผลงานภาพยนตร์ที่สำคัญของบุคคลจะทำหน้าที่ดังกล่าว นอกจากนี้ในการศึกษาภาพยนตร์ สายอาชีพที่เป็นไปได้ ได้แก่ นักวิจารณ์หรือทางด้านการผลิตภาพยนตร์ ทฤษฎีภาพยนตร์มักจะรวมถึงการศึกษาความขัดแย้งระหว่างสุนทรียศาสตร์ของงานฮอลลีวูดเชิงภาพและการวิเคราะห์เนื้อหาบทภาพยนตร์ โดยรวมการศึกษาในด้านภาพยนตร์กำลังเติบโตเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ วารสารวิชาการที่เผยแพร่ผลงานภาพยนตร์ศึกษา ได้แก่วารสาร Sight & Sound (สถาบันภาพยนตร์อังกฤษ), Screen (มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด), Cinema Journal (มหาวิทยาลัยเท็กซัส), Film Quarterly (มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย) และ Journal of Film and Video (มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์)
ประวัติและความเป็นมา
[แก้]ภาพยนตร์ศึกษาเป็นสาขาทางวิชาการที่ก่อกำเนิดขึ้นในศตวรรษที่ 20 หลังจากการประดิษฐ์ภาพเคลื่อนไหว (ในปลายศตวรรษที่ 19) ภาพยนตร์ศึกษามุงคิดค้นเฉพาะทาง คือ การสร้างทฤษฎีภาพยนตร์ ซึ่งเป็นวิธีการและแนวทางของภาพยนตร์ในมุมมองทางศิลปะ และการเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของภาพยนตร์ (film historiography) เนื่องจากภาพยนตร์สมัยใหม่เพิ่งกลายเป็นสิ่งประดิษฐ์และอุตสาหกรรมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เท่านั้น ผู้ผลิตภาพยนตร์และผู้กำกับภาพยนตร์รุ้นก่อนหน้านี้มีความสำคัญอย่างมากต่อการวิเคราะห์ทางวิชาการซึ่งเกิดขึ้นในรุ่นต่อ ๆ ไป
ในยุคแรก ๆ โรงเรียนภาพยนตร์มุ่งเน้นที่การผลิตและการวิจารณ์เชิงจิตวิสัยกับภาพยนตร์มากกว่าวิธีการเชิงวิพากษ์ ประวัติศาสตร์ และทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษาเชิงวิชาการ ตั้งแต่ที่มีการสร้างภาพยนตร์ขึ้นมา แนวคิดของภาพยนตร์ศึกษาได้ขยายตัวไปในการวิเคราะห์แง่มุมที่เป็นทางการของภาพยนตร์ขณะที่มีการสร้างภาพยนตร์ไปด้วย สถาบันภาพยนตร์แห่งเกราสิมอฟ (Gerasimov Institute of Cinematography) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในมอสโกเมื่อปี พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) เป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกในโลกที่ให้เน้นเรื่องภาพยนตร์ ในสหรัฐอเมริกาก็มีวิทยาลัยศิลปะภาพยนตร์ (School of Cinematic Arts, SCA) มหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ. ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) เป็นสถานศึกษาทางด้านภาพยนตร์แห่งแรก ซึ่งสร้างขึ้นตามข้อตกลงกับสถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์ (Academy of Motion Picture Arts and Sciences) ทั้งยังเป็นสถาบันแรกที่เปิดหลักสูตรสาขาวิชาทางภาพยนตร์ในปี พ. ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) แต่ก็ยังไม่มีความแตกต่างเฉพาะที่จะถือได้ว่าเป็นภาพยนตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เริ่มคิดค้นและพัฒนาหลักสูตรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่มีหลักสูตรที่แบ่งแยกระหว่างวิธีการนามธรรมและหลักปฏิบัติในยุคแรกนี้
สถาบันภาพยนตร์ Babelsberg ในประเทศเยอรมัน (เยอรมัน: Deutsche Filmakademie Babelsberg) ได้ก่อตั้งขึ้นในยุคไรช์ที่สามในปี พ. ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) อาจารย์ที่ให้การศึกษาในยุคนั้น ได้แก่ ผู้สร้างภาพยนตร์ชาวออสเตรีย Willi Forst และนักแสดงชาวเยอรมัน Heinrich George ในการสำเร็จการศึกษาที่สถาบันนี้นักศึกษต้องสร้างภาพยนตร์ของตัวเอง
การเคลื่อนไหวออกจากการผลิตภาพยนตร์ที่ฮอลลีวูดในยุคทศวรรษที่ 50 เป็นการนำวงการภาพยนตร์ไปสู่ความเป็นอิสระทางศิลปะมากขึ้น เป็นการสร้างทฤษฎีผู้แต่ง (Auteur theory) ซึ่งยืนยันว่าภาพยนตร์นั้นเป็นวิสัยทัศน์และศิลปะของผู้กำกับภาพยนตร์ ทำให้เกิดการกระตุ้นให้มีภาพยนตร์ศึกษาและกลายเป็นเรื่องที่สนใจกันอย่างมากในทางวิชาการทั่วโลกในทศวรรษที่ 60 ในปี พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) นักวิจารณ์ภาพยนตร์ โรบิน วูด มีงานเขียนเกี่ยวกับอัลเฟร็ด ฮิตช์ค็อก กล่าวว่า ภาพยนตร์ของฮิตช์ค็อกมีเนื้อหาของความซับซ้อนเหมือนกับบทละครของเช็คสเปียร์ [3] ในทำนองเดียวกัน ฌอง-ลุค โกดาร์ด (Jean Luc Godard) นักเขียนบทความในนิตยสาร Cahiers du Cinema ในฝรั่งเศส เขียนไว้ว่า "เจอร์รี ลูวิส [นักแสดงตลก นักแสดง นักร้อง นักมนุษยธรรม ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน] ... เป็นคนเดียวในฮอลลีวูดที่ทำอะไรๆ ที่แตกต่าง คนเดียวที่ไม่ได้ตกอยู่ในประเภทใดที่ตั้งกันไว้ อยู่ในบรรทัดฐานใดๆ หลักการใดๆ ... ลูอิสเป็นคนเดียวในวันนี้ที่ทำภาพยนตร์อย่างกล้าหาญ [4] เมื่อมีงบประมาณที่เหมาะสม มีจำนวนนักศึกษาลงทะเบียนที่แน่นอน และความสนใจในสาขามนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหลายแห่งก็ได้สร้างบุคลากรที่มีความสามารถและเปิดโครงการหลักสูตรภาพยนตร์ศึกษาที่แตกต่างกันไป
ในความเป็นจริงไม่มีบุคคลใดคนหนึ่งที่สร้างหลักเกณฑ์สำหรับภาพยนตร์ศึกษา ชุมชนที่กำลังเติบโตในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และนักวิชาการได้เริ่มวิพากษ์ จัดทำเอกสารและวิเคราะห์ภาพยนตร์ต่างๆ จนในที่สุดก็ได้แนวทางที่สอดคล้องกับแนวคิดของภาพยนตร์ศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในสายศิลปศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษา ด้วยความสำเร็จในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 บุคคลสำคัญในวงการภาพยนตร์กลายเป็นแหล่งทุนสำหรับคณะหรือสถาบันที่มุ่งเน้นทางด้านภาพยนตร์ เพื่อสร้างสถานที่เฉพาะสำหรับภาพยนตร์ศึกษาและพัฒนาโปรแกรมวิชาจนเป็นรูปเป็นร่าง ตัวอย่างเช่น จอร์จ ลูคัสได้บริจาคเงินจำนวน 175 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับวิทยาลัยศิลปะภาพยนตร์ (School of Cinematic Arts) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ในปี พ.ศ. 2549 [5]
ภาพยนตร์ศึกษายุคใหม่
[แก้]ในปัจจุบัน ภาพยนตร์ศึกษามีอยู่ทั่วโลกเป็นสาขาวิชาหนึ่งในสถาบันการศึกษาที่ทุ่มเทให้กับสาขาเฉพาะทาง ภาพยนตร์ศึกษาได้เติบโตขึ้นในหลายด้านเพื่อครอบคลุมวิธีการจำนวนมากของการสอนประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสังคม วิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทางศิลปศาสตร์หลายแห่งมีหลักสูตรที่มุ่งเน้นเฉพาะการวิเคราะห์ภาพยนตร์ .[6] นอกจากนี้ ยังมีความหลากหลายของภาพยนตร์ศึกษามากขึ้น โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาทั่วสหรัฐอเมริกายังมีการสอนทฤษฎีภาพยนตร์ด้วย โปรแกรมการศึกษาหลายแห่งยังเชื่อมโยงภาพยนตร์ศึกษากับสาขาวิชาสื่อและโทรทัศน์ซึ่งนำความรู้ทุกส่วนจากการผลิตภาพเป้นแนวทาง เนื่องจากเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าและเติบโตมากขึ้น เช่น ภาพยนตร์ 3 มิติ และ YouTube ภาพยนตร์จึงถูกนำมาใช้อย่างเป็นรูปธรรมในการสอนในฐานะสื่อหลักเพื่อสะท้อนทางวัฒนธรรมและศิลปะทั่วโลก เนื่องจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของการศึกษาค้นคว้าในสาขาภาพยนตร์ศึกษา จึงได้มีการจัดหลักสูตรใหม่ ๆ หลากหลายสำหรับการวิเคราะห์ของวิธีวิพากษ์วิธีต่าง ๆ ที่ใช้กันในภาพยนตร์ [7] แม้ว่าแต่ละสถาบันจะมีอำนาจในการสร้างเนื้อหาการศึกษา แต่ผู้เรียนมักจะคาดหวังว่าจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเชิงแนวคิดในภาพยนตร์ ความรู้ทางวรรณกรรมเกี่ยวกับการวิเคราะห์รูปแบบและวัจนลีลาของภาพยนตร์ การรับรู้ทางความรู้สึกในมิติเชิงอุดมการณ์ของภาพยนตร์ และความตระหนักในเรื่องความหมายของการสื่อสาร และทิศทางที่เป็นไปได้ของภาพยนตร์ในอนาคต [8]
หลักสูตรโดยทั่วไป
[แก้]โดยทั่วไป หลักสูตรของโปรแกรมภาพยนตร์ศึกษาในระดับอุดมศึกษามักมีเนื้อหาวิชาเรียน ดังนี้ (แต่ไม่จำกัดเพียงเท่านี้)
- แนะนำภาพยนตร์ศึกษา
- วิธีการของภาพยนตร์ศึกษา
- การวิเคราะห์ภาพยนตร์
- ประวัติภาพยนตร์และสื่อ
- การวิเคราะห์โดยเน้นที่
- ความสนใจกับช่วงเวลา
- ความสนใจกับการสร้างระดับภูมิภาค
- ความสนใจกับประเภทของภาพยนตร์
- ความสนใจกับผู้สร้าง
- วิธีและแบบแผนของการผลิตภาพยนตร์
หลักสูตรสาขาภาพยนตร์ศึกษามีวิชาเรียนให้เลือกหลากหลาย ทั้งยังมีวิชาเอกและวิชารองในสถาบันต่างๆ .[9][10][11]
ภาพยนตร์ศึกษาในสหรัฐอเมริกา
[แก้]ในสหรัฐอเมริกามหาวิทยาลัยมีการเปิดสอนหลักสูตรเฉพาะทาง เน้นที่ภาพยนตร์ศึกษา มีวิทยาลัยที่มุ่งมั่นกับโปรแกรมวิชาเอกหรือวิชารอง ปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาจำนวน 144 แห่งทั่วประเทศี่มีหลักสูตรภาพยนตร์ศึกษาเป็นวิชาเอก คาดว่าจะมีการเติบโตมากขึ้นในแต่ละปีและมีความสนใจใหม่ๆ ในภาพยนตร์ศึกษา สถาบันที่เสนอปริญญาภาพยนตร์ศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรศิลปะหรือการสื่อสารจะแตกต่างจากสถาบันที่มีโปรแกรมสาขาวิชาภาพยนตร์ศึกษาโดยเฉพาะ หลักสูตรนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะกับภาพยนตร์ที่ผลิตขึ้นในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น สามารถวิเคราะห์ภาพยนตร์ได้หลากหลายประเภท ในสหรัฐอเมริกาในการสำเร็จการศึกษาเพื่อปริญญาภาพยนตร์ศึกษา ผู้เรียนมักมีเป้าหมายเพื่อการประกอบอาชีพในการผลิตภาพยนตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำกับและผลิตภาพยนตร์ [12] โดยทั่วไปการเรียนการสอนจะผสมผสานรูปแบบใหม่ๆ ชองสื่อด้วย เช่น โทรทัศน์และสื่อใหม่ [13] ผู้ที่ศึกษาภาพยนตร์ต้องการความสามารถทางด้านการวิเคราะห์ภาพยนตร์เป็นจำนวนมากที่เผยแพร่ในสหรัฐอเมริกาทุก ๆ ปี ในแง่มุมทางวิชาการมากขึ้น หรือเพื่อทำความเข้าใจประวัติความเป็นมาของวงการภาพยนตร์ในทางศิลปะ ภาพยนตร์สามารถสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของยุคได้ไม่เพียงแต่ในประเทศเท่านั้น แต่ทั่วโลก
ภาพยนตร์ศึกษาในประเทศต่างๆ
[แก้]ภาพยนตร์ศึกษาทั่วโลกมีอยู่มากกว่า 20 ประเทศ เนื่องจากต้นทุนสูงของการผลิตภาพยนตร์ ประเทศในโลกที่สามจึงถูกทิ้งห่างจากการภาพยนตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการศึกษา แม้ว่าประเทศที่เจริญรุ่งเรืองกว่านี้จะมีความสามารถในการศึกษาภาพยนตร์ในทุกด้านของภาพยนตศึกษาร์ก็ตาม การบรรยายเกี่ยวกับภาพยนตร์สามารถพบได้ในสถาบันการศึกษาทั่วโลก และมักเป็นความสนใจระดับนานาชาติกับสุนทรียภาพของภาพยนตร์ที่เทศกาลภาพยนตร์ต่างๆ ตัวอย่างเข่น เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์เป็นงานที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก [14] แม้ว่ากิจกรรมพวกนี้จะเป็นเรื่องของการประชาสัมพันธ์และอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และไม่ได้มีอยู่ภายในสถาบันการศึกษาก็ตาม การวิเคราะห์และวิธีวิพากษ์ภาพยนตร์ก็ถูกนำไปใช้ในเวทีนานาชาติ
ภาพยนตร์ศึกษาในประเทศไทย
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บุคคลสำคัญในภาพยนตร์ศึกษา
[แก้]บุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาทางด้านภาพยนตร์เป็นอาจารย์และผู้ผลิตภาพยนตร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 หมวดใหญ่ ได้แก่ บุคคลในการผลิตภาพยนตร์ และบุคคลในด้านการวิจารณ์ภาพยนตร์
การสร้างภาพยนตร์
[แก้]- Darren Aronofsky (สหรัฐอเมริกา)
- อิงมาร์ เบิร์กแมน (สวีเดน)
- Andrei Tarkovsky (รัสเซีย)
- เซียร์เกย์ ไอเซนสไตน์ (รัสเซีย)
- อัลเฟรด ฮิตช์ค็อก (อังกฤษ)
- Miloš Forman (เชโกสโลวาเกีย)
- มาร์ติน สกอร์เซซี (สหรัฐอเมริกา)
- William Kennedy Dickson (สก๊อตแลนด์)
- Robert J. Flaherty (สหรัฐอเมริกา)
- สแตนลีย์ คูบริก (สหรัฐอเมริกา)
- David Lynch (สหรัฐอเมริกา)
- อะกิระ คุโรซาวะ (ญี่ปุ่น)
- สัตยชิต ราย (อินเดีย)
- ฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา (สหรัฐอเมริกา)
- Jean-Luc Godard (ฝรั่งเศส-สวิส)
- ออร์สัน เวลส์ (สหรัฐอเมริกา)
- จอห์น ฟอร์ด (สหรัฐอเมริกา)
- Joel David & Ethan Jesse Coen (สหรัฐอเมริกา)
- คริสโตเฟอร์ โนแลน (อังกฤษ)
- สตีเวน สปีลเบิร์ก (สหรัฐอเมริกา)
- เควนติน แทแรนติโน (สหรัฐอเมริกา)
- จอร์จ ลูคัส (สหรัฐอเมริกา)
- สไปค์ ลี (สหรัฐอเมริกา)
- Ava DuVernay (สหรัฐอเมริกา)
การวิจารณ์ภาพยนตร์
[แก้]- André Bazin (ฝรั่งเศส)
- Éric Rohmer (ฝรั่งเศส)
- ฟร็องซัว ทรูว์โฟ (ฝรั่งเศส)
- Andrew Sarris (สหรัฐอเมริกา)
- David Bordwell (สหรัฐอเมริกา)
- Christian Metz (ฝรั่งเศส)
- Gene Shalit (สหรัฐอเมริกา)
- James Agee (สหรัฐอเมริกา)
- Jean-Luc Godard (ฝรั่งเศส-สวิส)
- Leonard Maltin (สหรัฐอเมริกา)
- Pauline Kael (สหรัฐอเมริกา)
- Robin Wood (อังกฤษ)
- Roger Ebert (สหรัฐอเมริกา)
- Scott Buchanan (สหรัฐอเมริกา)
- Walter Benjamin (เยอรมัน)
- Jonathan Rosenbaum (สหรัฐอเมริกา)
- Siegfried Kracauer (เยอรมัน)
- Linda Williams (สหรัฐอเมริกา)
- Richard Dyer (อังกฤษ)
- Laura Mulvey (อังกฤษ)
- Jeanine Basinger (สหรัฐอเมริกา)
- Kristin Thompson (สหรัฐอเมริกา)
ดูเพิ่ม
[แก้]- อภิธานศัพท์ภาพยนตร์และโทรทัศน์
- ภาพยนตร์เพื่อการทดลอง
- ภาพยนตร์แนวนวนิยาย
- ประวัติศาสตร์ของภาพยนตร์
- ทฤษฎีภาพยนตร์
- การผลิตภาพยนตร์
- แนวภาพยนตร์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Dyer, Richard. "Introduction." Film Studies: Critical Approaches. Oxford: Oxford UP, 2000. 1-8. Print.
- ↑ Sikov, Ed. "Introduction." Introduction pg.1-4. Film Studies: an Introduction. New York: Columbia UP, 2010. Print. Google Books
- ↑ Grant, Barry Keith. Film Study in the Undergraduate Curriculum. New York: Modern Language Association of America, 1983.15. Print.
- ↑ Jim Hillier, ed. (1987). Cahiers du Cinema 1960–1968 New Wave, New Cinema, Re-evalutating Hollywood (Godard in interview with Jacques Bontemps, Jean-Louis Comolli, Michel Delahaye, and Jean Narboni). Harvard University Press. p. 295. ISBN 9780674090651.
{{cite book}}
:|author=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ Abramowitz, Rachel (2010). "LA's Screen Gems". Los Angeles Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2010. สืบค้นเมื่อ 18 October 2010.
- ↑ "Major:Film Studies". Collegeboard.com. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-19. สืบค้นเมื่อ 18 October 2010.
- ↑ Grieveson, Lee. "Cinema Studies." Inventing Film Studies. Durham: Duke UP, 2008. 67. Print.
- ↑ Dix, Andrew. Beginning Film Studies. Manchester UP. 2-14. Print.Google Books
- ↑ "Film Studies Program". Yale University. 2010. สืบค้นเมื่อ 25 October 2010.
- ↑ "Film and Media Studies". Georgetown University. 2010. สืบค้นเมื่อ 25 October 2010.
- ↑ "USC School of Cinematic Arts". University of Southern California. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 June 2010. สืบค้นเมื่อ 25 October 2010.
- ↑ Polan, Dana, and Haidee Wasson. "Young Art, Old Colleges." Inventing Film Studies. Durham: Duke UP, 2008. Print.
- ↑ "History of Film Studies in the United States and at Berkeley." Film Studies. Web. 11 Nov. 2010. <"Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 August 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-11-11.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)>. - ↑ Dargis, Manohla. "Cannes International Film Festival". New York Times.