ภาคย์ โลหารชุน
ภาคย์ โลหารชุน | |
---|---|
นายแพทย์ใหญ่ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2562 | |
ผู้บังคับกองพันเสนารักษ์ที่ 3 | |
ดำรงตำแหน่ง 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 – พ.ศ. 2562 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | กรุงเทพมหานคร[1][2] |
คู่สมรส | พญ.จักรีภรณ์ เลิศจรัสศิวิไล |
ศิษย์เก่า | วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า[1] |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ยศ | พันเอก |
พันเอก นายแพทย์ ภาคย์ โลหารชุน ชื่อเล่น พุฒ[1][2] เป็นแพทย์ทหาร สังกัด หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ จังหวัดลพบุรี[3] รองโฆษกหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ อดีตผู้บังคับกองพันเสนารักษ์ที่ 3 ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ จังหวัดนครราชสีมา[2] ซึ่งได้รับฉายา "หมอที่แกร่งที่สุดในปฐพี" จากการสำเร็จหลักสูตรการทหารในหลายหลักสูตร[4][5]
และในปี พ.ศ. 2561 จากการทำหน้าที่ช่วยเหลือปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง ส่งผลให้เขาเป็นที่รู้จักในระดับมหาชน[6][7] รวมถึงได้มีมติจากคณะกรรมการแพทยสภายกให้เขาเป็น"แพทย์ต้นแบบ"[8]
ประวัติ
[แก้]ชีวิตส่วนตัว
[แก้]พ.อ. นพ.ภาคย์ โลหารชุน มีบิดามารดาประกอบอาชีพแพทย์ และมีพี่ชาย 1 คนเป็นแพทย์ทหาร[1] ปัจจุบัน เขามีภรรยาคือ พญ.จักรีภรณ์ เลิศจรัสศิวิไล และบุตรชาย 1 คน คือน้องพาวเวอร์[4][9][10]
ในวัยเด็ก เขามีตัวละครที่ชื่นชอบคือเค็นชิโร่ จากซีรีส์หมัดเทพเจ้าดาวเหนือ และซูเปอร์ไซย่า จากซีรีส์ดราก้อนบอล[1] นอกจากนี้ ภาคย์ โลหารชุน เป็นแพทย์ที่มีความสามารถในการดำน้ำ[11][12]
การศึกษา
[แก้]พ.อ. นพ.ภาคย์ โลหารชุน สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า รุ่นที่ 23 จากนั้น เขาสำเร็จหลักสูตรทหารถึง 6 หลักสูตร ดังนี้ :[1]
- 1.หลักสูตรส่งทางอากาศ รุ่นที่ 229 โรงเรียนสงครามพิเศษ กองทัพบก
- 2.หลักสูตรจู่โจมหรือเสือคาบดาบ (รุ่นทั่วไป) รุ่นที่ 86 โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ กองทัพบก
- 3.หลักสูตรนักทำลายใต้น้ำจู่โจม รุ่นที่ 34 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองทัพเรือ
- 4.หลักสูตรรีคอน รุ่นที่ 38 โรงเรียนนาวิกโยธินกองทัพเรือ
- 5.หลักสูตรการปฏิบัติการพิเศษ รุ่นที่ 6 (คอมมานโด รุ่นที่ 17 + PJ รุ่นที่ 9) กองทัพอากาศ
- 6.เสนาธิการทหารบก ชุดที่ 91 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก กองทัพบก
- 7.หลักสูตรทหารเสือ รุ่นที่ 21 กรมทหารราบที่21 รักษาพระองค์ กองทัพบก
- 8.หลักสูตรแทรกซึมทางอากาศเบื้องสูงทางยุทธวิธี HAHO รุ่นที่ 19 โรงเรียนสงครามพิเศษ กองทัพบก
- 9.วิทยาลัยการทัพบก ชุดที่ 69 วิทยาลัยการทัพบก กองทัพบก
การทำงาน
[แก้]ในปี พ.ศ. 2547 เขาได้เป็นนายแพทย์กองกำลังไทย-อิรัก 976 ผลัดที่ 2 ส่วนในปี พ.ศ. 2549 ทำหน้าที่เป็นนายแพทย์กองกำลังสันติสุขใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้[1][2]
พ.ศ. 2561 เขาได้มีส่วนร่วมในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย[13] โดยสามารถส่งทุกคนออกมาได้อย่างปลอดภัย[14] เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ ภาคย์ โลหารชุน เป็นผู้ดำน้ำออกมาเป็นคนสุดท้าย[15]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[16]
- พ.ศ. 2559 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[17]
- พ.ศ. 2558 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[18]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 เปิดตัวหมอแกร่งที่สุดในปฐพี ผู้พิชิต 6 นักรบเหนือมนุษย์ - ไทยรัฐ
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 ผู้พันยังโดนซ่อม!!! "หมอภาคย์ " ผู้พิชิตหลักสูตร 6 นักรบและเป็นหมอคนเดียวในโลกที่หน้าอกไม่พอให้ติดเข็ม!?!
- ↑ 'หมอภาคย์' ลาแล้วโคราช! รับตำแหน่งใหม่ - กรุงเทพธุรกิจ
- ↑ 4.0 4.1 ทำไมต้องเป็น "หมอภาคย์" ?!! เปิดวาร์ป "นพ.ภาคย์ โลหารชุน" ทหารเสือราชินี หมอที่แกร่งที่สุดในปฐพี จนได้รับเลือกให้ร่วมช่วยเหลือ "ทีมหมูป่า"
- ↑ มาแล้ว ! มนุษย์ที่แกร่งที่สุดในปฐพี 'หมอภาคย์' ร่วมดำน้ำกับหน่วยซีลช่วยทีมหมูป่า
- ↑ 'หมอภาคย์' กดไลค์ ถ่ายรูปร่วมกับแพทย์สนาม ก่อนถูกส่งไปรพ.เชียงรายฯ
- ↑ "อยากกินมาม่ามากเลยครับ"มื้อแรกของ"หมอภาคย์"หลังออกจากถ้ำ - โพสต์ทูเดย์
- ↑ แพทยสภา ยก “หมอภาคย์” เป็น “แพทย์ต้นแบบ” หลังภารกิจพาทีมหมูป่ากลับบ้าน - Manager Online
- ↑ รู้จัก “หมอภาคย์” ยอดนักรบ สมทบหน่วยซีลช่วย 13 ชีวิตถ้ำหลวง
- ↑ "เปิดหลังบ้าน ภรรยาหมอภาคย์ วีรบุรุษถ้ำหลวง - Bright TV 20". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-11. สืบค้นเมื่อ 2019-04-11.
- ↑ อีก 500 เมตร หน่วยซีลถึงหาดพัทยา แพทย์ซ้อมหน้าถ้ำพรึ่บ หมอภาคย์พร้อม
- ↑ เปิดตัว 'หมอภาคย์' นายแพทย์นักรบเตรียมมุดน้ำเข้าถ้ำหลวงพร้อมหน่วยซีลช่วย 13 หมูป่า
- ↑ หมอภาคย์ สแตนบายดำน้ำเข้าไปช่วยทีมหมูป่า - ไทยโพสต์
- ↑ “หมอภาคย์” หมอทหารฯ สุดแกร่ง ร่วมภารกิจ ช่วย 13 ชีวิต - Workpoint News[ลิงก์เสีย]
- ↑ เผยมื้อแรก ของฮีโร่ หลัง หมอภาคย์ ดำน้ำปิดท้าย ออกจากถ้ำหลวง!
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/B/BE003_2/56.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๙๒ เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๑๔ ข, ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญราชการชายแดน หน้า ๒๓ เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๒๓ ข, ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘
แหล่งข้อมูลอี่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ภาคย์ โลหารชุน
- Thailand cave rescue sparks celebration of 'mission impossible' - The Guardian (อังกฤษ)
- Cave rescue: The divers who got the Thai boys out - BBC News (อังกฤษ)
- บุคคลที่ยังไม่ทราบปีที่เกิด
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ทหารบกชาวไทย
- แพทย์ชาวไทย
- นักดำน้ำในถ้ำ
- กำลังพลหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ
- กำลังพลกองพันลาดตระเวน กองพลนาวิกโยธิน
- บุคคลจากวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- บุคคลจากโรงเรียนโพธิสารพิทยากร
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ทหารในสงครามอิรัก