ฟอลลิงวอเทอร์
ฟอลลิงวอเทอร์ | |
---|---|
Guggenheim Museum Bilbao | |
มุมมองหลักที่มีชื่อเสียงที่สุดของฟอลลิงวอเทอร์ | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ประเภท | คฤหาสน์ |
สถาปัตยกรรม | สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ สถาปัตยกรรมออร์แกนิก |
เมือง | มิลรัน, รัฐเพนซิลเวเนีย |
ประเทศ | ประเทศสหรัฐอเมริกา |
เริ่มสร้าง | 1936-1939 |
การออกแบบและการก่อสร้าง | |
สถาปนิก | แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ |
รางวัล | อันดับที่ 29 จากหัวข้อ "สถาปัตยกรรมอเมริกันที่ชื่นชอบ" จากเอไอเอ 1 ใน 28 สถานที่บนลิสต์ของสมิธโซเนียน "ต้องสัมผัสก่อนที่คุณจะตาย" |
ฟอลลิงวอเทอร์ (อังกฤษ: Fallingwater) หรือ บ้านคอฟแมน (Kaufmann Residence) เป็นคฤหาสน์ตั้งอยู่ในแถวชนบทของแถบตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐเพนซิลเวเนีย ห่างออกไป 50 ไมล์ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองพิตส์เบิร์ก[1] อาคารได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกชาวอเมริกันแฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ ในปี 1935 เป็นบ้านพักอาศัยของตระกูลนักธุรกิจนาม เอดการ์ เจ. คอฟแมน ซีเนียร์ (Edgar J. Kaufmann Sr.) นักธุรกิจเชื้อสายยิวเจ้าของห้างสรรพสินค้าคอฟแมน ฟอลลิงวอเทอร์มีจุดเด่นคือตัวบ้านได้สร้างคร่อมน้ำตกที่มาจากลำธารแบร์รัน ฟอลลิงวอเทอร์นับเป็นหนึ่งในงานที่แสดงคำจัดความของ ลัทธิสถาปัตยกรรมออร์แกนิก (Organic Architecture) ได้อย่างชัดเจนที่สุดงานหนึ่ง ในบรรดางานทั้งหลายของลอยด์ ไรต์
นิตยสารไทม์ได้ชื่นชมงานออกแบบของลอยด์ ไรต์ชิ้นนี้ไว้ว่า "เป็นงานที่สวยที่สุด"[2] ฟอลลิงวอเทอร์ยังได้ติด 1 ใน 28 สถานที่ "ที่คุณต้องไปก่อนคุณจะตาย" ของสมิธโซเนียน[3] ได้รับการยกย่องให้เป็นสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติแห่งสหรัฐอเมริกา ในปี 1966[4] และในปี 1991 สมาชิกสถาบันสถาปัตยกรรมแห่งสหรัฐอเมริกัน (เอไอเอ) ได้โหวตฟอลลิงวอเทอร์ให้เป็น "งานออกแบบทางสถาปัตยกรรมของสหรัฐอเมริกาที่ดี่ที่สุดตลอดกาล" จนกระทั่งลดลงมาจนอยู่ในอันดับ 29 ในปี 2007
เดิมฟอลลิงเฮาส์เป็นบ้านของตระกูลคอฟแมนตั้งแต่ปี 1937-1963 จนกระทั่งเขาได้บริจาคบ้านหลังนี้เพื่อเป็นพิพิธภัณฑ์ในปี 1964 โดยปัจจุบันบ้านแห่งนี้มีสถิติผู้มาเยี่ยมชมมากกว่า 125,000 คนต่อปี ฟอลลิงวอเทอร์ใช้งบประมาณการสร้างประเมิณไว้ประมาณ 35,000 ดอลลาร์ เมื่อสร้างเสร็จได้ถูกจำหน่ายในราคา 155,000 ดอลลาร์[5][6][7] โดยแบ่งเป็นราคาบ้าน 75,000 ดอลลาร์ ตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ภายใน 22,000 ดอลลาร์ เกสต์เฮาส์ โรงจอดรถและส่วนคนงาน 50,000 ดอลลาร์ และค่าจ้างสถาปนิก 8,000 ดอลลาร์ เมื่อคำนวณบวกค่าเงินเฟ้อในปี 2015 ราคาบ้านหลังนี้จะขึ้นไปสูงกว่า 2.6 ล้านดอลลาร์ และเมื่อปี 2001 ค่าบำรุงรักษาบ้านหลังนี้ตกอยู่ราวๆที่ 11.5 ล้านดอลลาร์[8]
ฟอลลิงวอเทอร์และอาคารอีกเจ็ดแห่งที่ออกแบบโดยแฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก "สถาปัตยกรรมศตวรรษที่ 20 ของแฟรงก์ ลอยด์ ไรต์" เมื่อเดือนกรกฎาคม 2019[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-14. สืบค้นเมื่อ 2016-03-15.
- ↑ "Usonian Architech". TIME magazine Jan. 17, 1938. 1938-01-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-28. สืบค้นเมื่อ 2008-01-27.
- ↑ "Smithsonian Magazine — Travel — The Smithsonian Life List". Smithsonian magazine January 2008. สืบค้นเมื่อ 2010-08-19.
- ↑ "Fallingwater". National Historic Landmark summary listing. National Park Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-24. สืบค้นเมื่อ 2008-07-02.
- ↑ McCarter, page 59.
- ↑ Plushnick-Masti, Ramit (2007-09-27). "New Wright house in western Pa. completes trinity of work". Associated Press. สืบค้นเมื่อ 2007-10-09.
- ↑ http://articles.latimes.com/1986-03-09/news/mn-17944_1_edgar-j-kaufmann
- ↑ Lowry, Patricia (2001-12-08). "Restoration of drooping Fallingwater uncovers flaws amid genius". Pittsburgh Post-Gazette (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-08. สืบค้นเมื่อ 2015-06-17.
- ↑ "The 20th-Century Architecture of Frank Lloyd Wright". UNESCO World Heritage Centre. สืบค้นเมื่อ July 7, 2019.