ข้ามไปเนื้อหา

น้ำตก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
น้ำตกวชิรธาร อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
น้ำตกห้วยแม่ขมิ้น อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี
น้ำตกเอนเจล ประเทศเวเนซุเอลา น้ำตกที่สูงที่สุดในโลก

น้ำตก หรือ โตน ในภาษาใต้ เป็นลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เกิดจากลำน้ำไหลผ่านภูมิประเทศที่มีความลาดชัน มีการเปลี่ยนระดับหรือเกิดความแตกต่างของระดับธารน้ำ ทำให้ลักษณะการไหลของลำน้ำเปลี่ยนแปลงไป น้ำตกอาจไหลตกลงมาจากที่สูงหรือไหลลดหลั่นเป็นชั้น ๆ ซึ่งได้นิยามเป็นน้ำตกและน้ำแก่ง[1] ดังนี้

  • น้ำตก (fall) ต้นน้ำและปลายน้ำตกมีระดับต่างกันมาก น้ำที่ไหลโจนลงมาอาจมีความชันมากหรือเป็นแนวดิ่ง
  • น้ำแก่ง (rapid) ต้นน้ำและปลายน้ำตกมีระดับต่างกันไม่มาก น้ำจะไหลลดหลั่นลงมาตามแก่งหิน

ลักษณะทั่วไป

[แก้]

การก่อตัว

[แก้]

การแบ่งชนิด

[แก้]
ชนิดของน้ำตกแบ่งตามรูปร่างและพฤติกรรมของน้ำตก[2][3]
  • น้ำตกหิ้ง (ledge) น้ำตกลงมาเป็นแนวตั้งบนชั้นหิน (bedrock) แนวตั้ง สัมผัสชั้นหินบางส่วน แบ่งได้ 3 ชนิดย่อย
    1. "บล็อก/แผ่น" (block/sheet) ธารน้ำหรือแม่น้ำเหนือน้ำตกกว้างกว่าความสูงของน้ำตก
    2. "คลาสสิก" (classical) น้ำตกมีความสูงเท่ากับหรือใกล้เคียงความกว้างของธารน้ำ มองเห็นเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสแนวตั้ง
    3. "ม่าน" (curtain) น้ำตกมีความสูงมากกว่าความกว้างของธารน้ำ
  • น้ำตกพลันจ์ (plunge - โจน/ถลา) ธารน้ำเหนือน้ำตกแคบและไหลเชี่ยว ทำให้น้ำตกลงเป็นแนวตั้งโดยไม่สัมผัสกับชั้นหินเลยจากแรงผลักดันมวลน้ำแนวนอนก่อนที่จะตก แบ่งได้ 1 ชนิดย่อย
    1. "น้ำตกรูปชามพันช์" (punchbowl) น้ำตกที่ส่วนบนตีบแคบแต่ส่วนล่างกระจายออกลงสู่สระกว้างอย่างชามพันช์
  • น้ำตกหางม้า (horsetail) น้ำตกลงเป็นแนวตั้งโดยสัมผัสชั้นหินตลอดทางหรือเกือบตลอดทาง แบ่งได้ 4 ชนิดย่อย
    1. "สไลด์" (slide) น้ำตกลงโดยสัมผัสชั้นหินตลอดทาง
    2. "ริบบิ้น" (ribbon) สายน้ำตกตีบแคบและยาว
    3. "รางลาด" (chute) น้ำปริมาณมากไหลลงตามช่องแคบแนวตั้ง
    4. "พัด" (fan) น้ำตกที่สายน้ำตกค่อย ๆ แผ่ออกอย่างพัด
  • คาสเคด (cascade) น้ำตกไหลลงตามหินเป็นชั้น ๆ
  • น้ำตกชั้น/น้ำตกบันได (tiered/staircase/multi-step) เป็นชุดน้ำตกลดหลั่นลงมาโดยที่น้ำตกย่อยแต่ละอันมีขนาดใกล้เคียงกันและมีสระเป็นของตัวเอง
  • คาเทอแรคท์ (cataract) ใช้กับน้ำตกใหญ่และมีพลังมาก
  • เซกเมนต์ (segmented - เป็นส่วน/ปล้อง) น้ำตกที่แตกออกเป็นน้ำตกย่อยหลายสายอย่างชัดเจน
  • น้ำตกน้ำแข็ง (frozen) ใช้เรียกน้ำตกที่มีส่วนประกอบเป็นน้ำแข็งหรือหิมะ
  • น้ำตกมูลัง (moulin) ใช้เรียกน้ำตกที่เกิดขึ้นในมูลัง หรือช่องลึกในธารน้ำแข็ง
  • น้ำตกชั่วคราว (ephemeral) เป็นน้ำตกที่ไม่ได้ไหลตลอดเวลา เกิดขึ้นเฉพาะหลังฝนตกหรือหิมะละลาย
ชนิดของน้ำตกแบ่งตามประเภทชั้นหิน[1]
  • น้ำตกในพื้นที่หินแกรนิตหรือหินแปรจากหินแกรนิต จะมีขนาดใหญ่ ตกลงมาจากที่สูงและมองเห็นได้ไกล
  • น้ำตกในพื้นที่หินทราย ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเหมือนลำห้วย มีลานหินกว้าง ในประเทศไทยน้ำตกมีน้ำเฉพาะในช่วงฤดูฝน
  • น้ำตกในพื้นที่หินปูน จะไหลลดหลั่นกันเป็นชั้นเตี้ย ๆ หลายชั้น มักมีความสวยงาม ผาชันมีรูปร่างแปลกตาจากปฏิกิริยาระหว่างหินปูนกับน้ำ
  • น้ำตกในพื้นที่หินดินดาน

น้ำตกที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 คู่มือมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประเภทน้ำตก (PDF), สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, สิงหาคม 2558, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-05-08, สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2561 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "Waterfall". howstuffworks.com. 16 มิถุนายน 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-21. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2018.
  3. "Waterfalls 101: What Types Of Waterfalls Are There?". Worldwaterfalls.com.